DSpace Repository

ความเป็นภาษาพูดในโฆษณาทางสื่อสิ่งพิมพ์ไทย ใน พ.ศ. 2479 และ พ.ศ.2539

Show simple item record

dc.contributor.advisor สุดาพร ลักษณียนาวิน
dc.contributor.author อัจฉริยา อาจวงษ์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์
dc.date.accessioned 2021-03-09T03:57:57Z
dc.date.available 2021-03-09T03:57:57Z
dc.date.issued 2543
dc.identifier.isbn 9741705182
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/72710
dc.description วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544 en_US
dc.description.abstract วิทยานิพนธ์เล่มนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะความเป็นภาษาพูดในโฆษณาทางสื่อสิ่งพิมพ์ไทยใน พ.ศ.2479 และ พ.ศ.2539 การวิจัยใช้ตัวอย่างข้อความโฆษณาด้วยการล่มอย่างมี ระบบเป็นจำนวน 480 ข้อความโดยเป็นจำนวนตัวอย่างข้อความโฆษณายุคละ 240 ข้อความ ผลการศึกษาพบว่าใน พ.ศ.2479 และใน พ.ศ.2539 มีการใช้ลักษณะความเป็นภาษาพูด 6 ลักษณะได้แก่ ความไม่ชัดเจน ความไม่สมบูรณ์ อัตราการเบนเบี่ยงสูง การแสดงอารมณ์และความรู้สึก การซํ้า และการเร้าปฏิสัมพันธ์ทั้งนี้เมื่อเปรียบเทียบลักษณะความเป็นภาษาพูดทั้ง 6 ลักษณะพบว่ามีความแตกต่างกันทางด้านสัดส่วนในการใช้และรายละเอียดรูปภาษาที่แสดงลักษณะดังกล่าว ลักษณะความเป็นภาษาพูดเรื่องการซ้ำ และความไม่สมบูรณ์ เป็นลักษณะที่ปรากฏโดดเด่นทั้ง 2 ยุค อย่างไรก็ตามลักษณะการซํ้าปรากฏเป็นจำนวนที่สูงที่สุด (34.9%) ใน พ.ศ. 2479 ในขณะที่ลักษณะความไม่สมบูรณ์ปรากฏเป็นจำนวนที่สูงที่สุด (47.4%) ใน พ.ศ. 2539 นอกจากนี้ลักษณะการเร้าปฏิสัมพันธ์เป็นอีกลักษณะหนึ่งที่ปรากฏเป็นจำนวนสูง (20.7%) ใน พ.ศ. 2479 โดยลักษณะนี้แสดงด้วยรูปประโยคคำถามและการสั่งในแบบต่าง ๆ เช่น ประโยคคำสั่ง ประโยคขอร้อง ประโยคแนะนำ เป็นต้น ลักษณะดังกล่าวนี้ปรากฏน้อย (9%)ในตัวอย่างข้อความโฆษณา พ.ศ.2539 รายละเอียดของรูปภาษาที่แสดงลักษณะความเป็นภาษาพูดในข้อความโฆษณา พ.ศ.2539 ปรากฏเป็นจำนวนที่หลากหลาย รูปภาษาที่ไม่ปรากฏในตัวอย่างข้อความโฆษณาใน พ.ศ.2479 ได้แก่ การซํ้าคำแบบเน้นยํ้าซึ่งเป็นรูปหนึ่งของลักษณะการซ้ำ การใช้คำแสลงและคำเลียนเสียงธรรมชาติซึ่งเป็นรูปหนึ่งของลักษณะการแสดงอารมณ์และความรู้สึก การใช้ความเบนเบี่ยงทางด้านการสะกดคำในทุกแบบซึ่งเป็นรูปแสดงของลักษณะความเบนเบี่ยงสูง และการใช้คำย่อซึ่งเป็นรูปแสดงของลักษณะความไม่ชัดเจน รูปภาษาที่ไม่ได้ปรากฏตัวอย่างในข้อความโฆษณา พ.ศ.2539 พบเพียงรูปภาษาเดียว ได้แก่ ประโยคขอร้องซึ่งแสดงลักษณะการเร้าปฏิสัมพันธ์ en_US
dc.description.abstractalternative This thesis aims is to study the characteristics of orality in Thai print advertising between 1936 and 1996. The research is based on advertisement samples which are systemically sampled by stratified random sampling method. There are 480 samples, 280 from each period. Six characteristics of orality are studied in both periods. They are inexplicitness, incompleteness, high deviation, expressiveness, repetition and interaction. In comparison of these characteristics เท the 2 periods, we found that they are quite different in term s of their proportions and their linguistic realization. Repetition and incompleteness are found outstanding in both periods. Repetition is found in highest proportion (34.9%) in 1936 advertisement, whereas imcompleteness is found in highest proportion (47.4%) in 1996 advertisement. Interactiveness is also found in high proportion (20.7%) in the 1936 period, it is realized in terms of interogatives and different kinds of “mand", i.e., commanding, requesting, suggesting. This characteristic is found less (9.0%) in the 1996 period. There are more varieties of linguistic realization of each characteristic in the 1996 print advertisement. The linguistic realization that is not found เท 1936 is intensification which is the realization of repetition, slang word and onomatopoeia which is the realization of expressiveness, orthoghraphic deviation which is the realization of high deviation, and abbreviation which is the realization of inexplicitness. The only linguistic realization of orality characteristics which is found in 1936 but is not found in 1996 print advertisem ent is requesting which represents interactiveness. en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject ข้อความโฆษณา en_US
dc.subject โฆษณาทางหนังสือพิมพ์ en_US
dc.subject ภาษาไทย -- การใช้ภาษา en_US
dc.subject ภาษาไทย -- ภาษาพูด en_US
dc.title ความเป็นภาษาพูดในโฆษณาทางสื่อสิ่งพิมพ์ไทย ใน พ.ศ. 2479 และ พ.ศ.2539 en_US
dc.title.alternative Orality in Thai print advertising in 1936 and in 1996 en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name อักษรศาสตรมหาบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.discipline ภาษาศาสตร์ en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.email.advisor Sudaporn.L@chula.ac.th


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record