dc.contributor.advisor | วิลาสินี พิพิธกุล | |
dc.contributor.author | มีโชค ราษฎรานุวัต | |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2021-03-12T03:52:57Z | |
dc.date.available | 2021-03-12T03:52:57Z | |
dc.date.issued | 2544 | |
dc.identifier.isbn | 9741702175 | |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/72807 | |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544 | en_US |
dc.description.abstract | การวิจัยนี้ใช้วิธีวิจัยแบบวิเคราะห์เนื้อหา และสัมภาษณ์แบบเจาะลึก เพื่อศึกษาการนำเสนอเพศสภาพในนิตยสารผู้หญิงและผู้ชาย และองค์ประกอบขององค์กรนิตยสารที่ส่งผลต่อเนื้อหาทางเพศสภาพ โดยศึกษาจากนิตยสารผู้หญิง คือ แพรวและผู้หญิง นิตยสารผู้ชาย คือ GM ที่ออกวางจำหน่ายใน พ.ศ.2544 รวม ทั้งสิ้น 36 ฉบับ รวมทั้งสัมภาษณ์กองบรรณาธิการนิตยสารแต่ละชื่อฉบับ ผลการวิจัยพบว่า 1. นิตยสารผู้หญิง มีทิศทางยอมรับความเป็นผู้หญิงเพียงลักษณะเดียว คือ ลักษณะใส่ใจในรูปลักษณ์ในขณะที่มีทิศทางปฏิเสธความเป็นผู้หญิงเพียงลักษณะเดียว คือ ลักษณะไม่ประสบความสำเร็จ เป็นผู้ตามส่วนความเป็นผู้หญิงลักษณะอื่น นิตยสารผู้หญิงนำเสนอในทิศทางที่แตกต่างกันออกไป โดยลักษณะเอาใจใส่ผู้อื่น ทำงานบ้าน ดูแลครอบครัว แพรวมีทิศทางยอมรับ ส่วนผู้หญิงมีทิศทางต่อรอง ลักษณะอ่อนหวาน อ่อนแอ แพรวมีทิศทางปฏิเสธ ลักษณะเป็นวัตถุทางเพศ อยู่ใต้ผู้ชายในเรื่องเพศ แพรวมีทิศทางต่อรอง ส่วนผู้หญิงมีทิศทางยอมรับ ในส่วนความเป็นผู้ชาย นิตยสารผู้หญิงยอมรับความเป็นผู้ชายลักษณะประสบความสำเร็จ เป็นผู้นำ และลักษณะเป็นที่สนใจทางเพศ อยู่เหนือผู้หญิงในเรื่องเพศ โดยไม่มีทิศทางปฏิเสธความเป็นผู้ชาย 2. นิตยสารผู้ชาย บังคงยอมรับความเป็นผู้หญิงและผู้ชายในลักษณะเดิมเกือบทั้งสิ้น โดยยอมรับความเป็นผู้หญิงลักษณะเป็นวัตถุทางเพศ อยู่ใต้ผู้ชายในเรื่องเพศ และลักษณะไม่ประสบความสำเร็จ เป็นผู้ตาม และยอมรับความเป็นผู้ชายในลักษณะแข็งแรง สนใจกีฬา ลักษณะประสบความสำเร็จ เป็นผู้นำ ลักษณะ ก้าวร้าว หยาบคาย ลักษณะเป็นที่สนใจทางเพศ อยู่เหนือผู้หญิงในเรื่องเพศ และลักษณะสนใจและมีความรู้ทางด้านเทคโนโลยี เครื่องกล รถยนต์ โดยมีทิศทางต่อรองความเป็นผู้หญิงลักษณะอ่อนหวาน อ่อนแอ และต่อรองความเป็นผู้ชายลักษณะไม่ทำงานบ้าน หรือดูแลครอบครัว มีพื้นที่นอกบ้าน หรือที่ทำงาน 3. บุคลากร ระบบการบริหารจัดการ เจ้าของทุน ผู้ให้โฆษณา สภาพสังคมและเศรษฐกิจ คู่แข่งขัน และผู้อ่าน ส่งผลต่อการนำเสนอเนื้อหาทางเพศสภาพในนิตยสารผู้หญิง ในขณะที่บุคลากร ผู้ให้โฆษณา และผู้อ่าน ส่งผลต่อการนำเสนอเนื้อหาทางเพศสภาพในนิตยสารผู้ชาย 4. นิตยสารผู้หญิงบังคงยอมรับอุดมการณ์หลัก คือ ความเป็นผู้หญิงและผู้ชายในลักษณะเดิมบางส่วนแต่ในขณะเดียวกันก็นำเสนออุดมการณ์ใหม่ขึ้นมา โดยเปลี่ยนแปลงความเป็นผู้หญิงบางลักษณะไป จึงสรุปว่านิตยสารผู้หญิงเริ่มมีทิศทางต่อรองทางเพศสภาพบ้าง ในขณะที่นิตยสารผู้ชายยังคงยอมรับอุดมการณ์หลักอยู่เช่นเดิม คือ ตอกยํ้าความเป็นผู้หญิงและผู้ชายในลักษณะเดิมแทบจะทั้งสิ้น จึงสรุปได้ว่า นิตยสารผู้ชายมีทิศทางยอมรับเพศสภาพดังที่เป็นอยู่ในสังคม | en_US |
dc.description.abstractalternative | The study employed content analysis and in-depth interview to study gender in women's and men’s magazines include factors of magazine organization that affected gender in magazine content. Data were collected from contents of women’s magazines named Preaw and Phooying and men’s magazines named GM, published เท 2001 1 36 issues totally and in-depth interview magazines’ editors. Results of the research are as follow : 1. Women’s magazines accepted femininity in terms of ‘be appearance’ and rejected femininity presented as ‘don’t be successful’. Other femininity characteristics such as ’be housekeeper and presented at home’ 1 were accepted by Preaw while negotiated by Phooying. ’Be weak’, was rejected by Preaw. ’Be sex object’ was accepted by Preaw but rejected by Phooying. For masculinity, women's magazines accepted the characteristic of 'be successful' and ‘be sexual attractive'. No rejection was found. 2. Men's magazines accepted almost of femininity and masculinity. There were 'be sex object' and 'don’t be successful' เท femininity terms, and 'be strong and interested in sport’, 'be successful’, 'be aggressive’, 'be sexual’ and ‘interested in technology and car’ in masculinity terms. However, 'be weak' for femininity as well as 'don't be housekeeper and presented เท office or outdoor' for masculinity were negotiated. 3. Media professional, management system, ownership, advertisers, social and economic contexts, competitors and audience affected gender content in women’s magazines. While media professional, advertisers and audience affected gender content in men's magazines. 4. Women’s magazines accepted some dominant ideologies of gender, they presented some new ideologies showing their negotiated trends. While men's magazines reproduced dominant ideologies of gender, showing their acceptance of dominant gender concept. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2001.236 | |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | บทบาทตามเพศ | en_US |
dc.subject | วารสารสำหรับสตรี | en_US |
dc.title | การต่อรองทางเพศสภาพในนิตยสารผู้หญิงและผู้ชาย | en_US |
dc.title.alternative | Gender negotiation in women's and men's magazines | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | วารสารสนเทศ | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2001.236 |