Abstract:
วิทยานิพนธ์นี้ เป็นส่วนหนึ่งของการวิจัยร่วมในโครงการโรงเรียนต้นแบบไม่ปรับอากาศภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จาก สภาพแวดล้อมที่รุนแรงโดยเฉพาะอุณหภูมิที่สูงขึ้นมากในฤดูร้อนและอุณหภูมิตํ่ามากในฤดูหนาวในภาคตะวันออก เฉียงเหนือ โดยเฉพาะทางตอนล่างของภาค ทำให้เกิดคุณภาพชีวิตที่ตํ่ากว่ามาตรฐานในการดำรงชีวิต การปรับสภาพแวดล้อมภายนอก อาคารเป็นแนวทางหนึ่งเพี่อลดอิทธิพลความรุนแรงดังกล่าว การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการคือ (1) ศึกษาภาวะน่าสบายที่เกิดขึ้นจากการปรับสภาพแวดล้อม (2) คาดการณ์สภาวะน่าสบายจากการปรับสภาพแวดล้อมใน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอน ล่างจากข้อมูลภูมิอากาศ (3) เสนอแนวทางการปรับสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมกับห้องเรียนธรรมชาติ โดยมีขั้นตอนในการวิจัย คือ 1. กำหนดเกณฑ์จากสภาวะความสบายทางด้านสภาพแวดล้อม 2. เก็บข้อมูลอุณหภูมิอากาศ ความชื้นสัมพัทธ์ปริมาณแสง สว่างและความเร็วลม จากการจำลองสภาพแวดล้อมจริง 3. นำมาวิเคราะห์ประเมินผล ผลการวิจัยโดยใช้แนวคิดในการปรับสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมกับห้องเรียนธรรมชาติ พบว่า 1. ในฤดูหนาวเมื่ออุณหภูมิ อากาศภายนอกตํ่ากว่า Comfort zone ผู้ใช้ห้องเรียนธรรมชาติจะรู้สึกเสมือนว่าอุณหภูมิสูงขืน 1-5.9 ℃ เนื่องจาก (1) อิทธิพล ของการแผ่รังสีโดยตรงจากดวงอาทิตย์จากการใช้ต้นไม้ 2 ระดับ (2) อิทธิพลจากอุณหภูมิ เฉลี่ยพื้นผิวโดยรอบจากการแผ่รังสีความร้อนจากดวงอาทิตย์ต่อวัสดุผิวพื้น (3) การควบคุมทิศทางลมโดยใช้เนินดินทางด้านทิศเหนือที่สามารถปรับได้ตามภาวะความสบาย 2. ในฤดูร้อน เมืออุณหภูมิอากาศสูงกว่า Comfort zone ผู้ใช้ห้องเรียนธรรมชาติจะรู้สึกเสมือนว่าอุณหภูมิตํ่าลง 1-2.9 ℃เนื่องจาก (1) การลดอิทธิพลการแผ่รังสีความร้อนจากดวงอาทิตย์ โดยใช้ ต้นไม้ 2 ระดับ (2) อิทธิพลจากอุณหภูมิเฉลี่ยพื้นผิวโดยรอบจากการใช้วัสดุผิวพื้นภายนอกผ่านกระบวนการระเหยของนํ้า (3) อิทธิพลจากความเร็วลมพัดผ่านผิวกายเฉลี่ย 0.70 m/sจากการคาดการณ์ภาวะน่าสบายของห้องเรียนธรรมชาติในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างพบว่า ในช่วงเวลาใช้งาน 8.00-16.00 น. ภายในห้องเรียนธรรมชาติอยู่ในภาวะน่าสบายในฤดูหนาว 77% ฤดูร้อน 100% และในฤดูฝน 97% แนวทางการปรับสภาพแวดล้อมภายนอกอาคารในการวิจัยนี้ ช่วยเพิ่มคุณภาพการศึกษาและคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น รวมทั้งใช้เป็นแนวทางในการออกแบบและก่อสร้างห้องเรียนธรรมชาติในภาคที่มีสภาพภูมิอากาศคล้ายคลึงกัน หรือใช้เป็นกรณีศึกษาในการออกแบบและก่อสร้างห้องเรียนธรรมชาติในภูมิภาคอื่นที่มีสภาพภูมิอากาศที่แตกต่างกันออกไป วิธีการเหล่านี้จึงเป็นผลให้การปรับสภาพแวดล้อมเข้าสู่สภาวะน่าสบายมากขึ้น