DSpace Repository

การปรับสภาพแวดล้อมเพื่อเอื้อประโยชน์ต่อห้องเรียนธรรมชาติในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง

Show simple item record

dc.contributor.advisor สุนทร บุญญาธิการ
dc.contributor.author มนต์ชัย อัชชพันธ์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
dc.date.accessioned 2021-03-12T04:14:26Z
dc.date.available 2021-03-12T04:14:26Z
dc.date.issued 2544
dc.identifier.isbn 9741706618
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/72811
dc.description วิทยานิพนธ์ (สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544 en_US
dc.description.abstract วิทยานิพนธ์นี้ เป็นส่วนหนึ่งของการวิจัยร่วมในโครงการโรงเรียนต้นแบบไม่ปรับอากาศภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จาก สภาพแวดล้อมที่รุนแรงโดยเฉพาะอุณหภูมิที่สูงขึ้นมากในฤดูร้อนและอุณหภูมิตํ่ามากในฤดูหนาวในภาคตะวันออก เฉียงเหนือ โดยเฉพาะทางตอนล่างของภาค ทำให้เกิดคุณภาพชีวิตที่ตํ่ากว่ามาตรฐานในการดำรงชีวิต การปรับสภาพแวดล้อมภายนอก อาคารเป็นแนวทางหนึ่งเพี่อลดอิทธิพลความรุนแรงดังกล่าว การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการคือ (1) ศึกษาภาวะน่าสบายที่เกิดขึ้นจากการปรับสภาพแวดล้อม (2) คาดการณ์สภาวะน่าสบายจากการปรับสภาพแวดล้อมใน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอน ล่างจากข้อมูลภูมิอากาศ (3) เสนอแนวทางการปรับสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมกับห้องเรียนธรรมชาติ โดยมีขั้นตอนในการวิจัย คือ 1. กำหนดเกณฑ์จากสภาวะความสบายทางด้านสภาพแวดล้อม 2. เก็บข้อมูลอุณหภูมิอากาศ ความชื้นสัมพัทธ์ปริมาณแสง สว่างและความเร็วลม จากการจำลองสภาพแวดล้อมจริง 3. นำมาวิเคราะห์ประเมินผล ผลการวิจัยโดยใช้แนวคิดในการปรับสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมกับห้องเรียนธรรมชาติ พบว่า 1. ในฤดูหนาวเมื่ออุณหภูมิ อากาศภายนอกตํ่ากว่า Comfort zone ผู้ใช้ห้องเรียนธรรมชาติจะรู้สึกเสมือนว่าอุณหภูมิสูงขืน 1-5.9 ℃ เนื่องจาก (1) อิทธิพล ของการแผ่รังสีโดยตรงจากดวงอาทิตย์จากการใช้ต้นไม้ 2 ระดับ (2) อิทธิพลจากอุณหภูมิ เฉลี่ยพื้นผิวโดยรอบจากการแผ่รังสีความร้อนจากดวงอาทิตย์ต่อวัสดุผิวพื้น (3) การควบคุมทิศทางลมโดยใช้เนินดินทางด้านทิศเหนือที่สามารถปรับได้ตามภาวะความสบาย 2. ในฤดูร้อน เมืออุณหภูมิอากาศสูงกว่า Comfort zone ผู้ใช้ห้องเรียนธรรมชาติจะรู้สึกเสมือนว่าอุณหภูมิตํ่าลง 1-2.9 ℃เนื่องจาก (1) การลดอิทธิพลการแผ่รังสีความร้อนจากดวงอาทิตย์ โดยใช้ ต้นไม้ 2 ระดับ (2) อิทธิพลจากอุณหภูมิเฉลี่ยพื้นผิวโดยรอบจากการใช้วัสดุผิวพื้นภายนอกผ่านกระบวนการระเหยของนํ้า (3) อิทธิพลจากความเร็วลมพัดผ่านผิวกายเฉลี่ย 0.70 m/sจากการคาดการณ์ภาวะน่าสบายของห้องเรียนธรรมชาติในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างพบว่า ในช่วงเวลาใช้งาน 8.00-16.00 น. ภายในห้องเรียนธรรมชาติอยู่ในภาวะน่าสบายในฤดูหนาว 77% ฤดูร้อน 100% และในฤดูฝน 97% แนวทางการปรับสภาพแวดล้อมภายนอกอาคารในการวิจัยนี้ ช่วยเพิ่มคุณภาพการศึกษาและคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น รวมทั้งใช้เป็นแนวทางในการออกแบบและก่อสร้างห้องเรียนธรรมชาติในภาคที่มีสภาพภูมิอากาศคล้ายคลึงกัน หรือใช้เป็นกรณีศึกษาในการออกแบบและก่อสร้างห้องเรียนธรรมชาติในภูมิภาคอื่นที่มีสภาพภูมิอากาศที่แตกต่างกันออกไป วิธีการเหล่านี้จึงเป็นผลให้การปรับสภาพแวดล้อมเข้าสู่สภาวะน่าสบายมากขึ้น en_US
dc.description.abstractalternative This thesis is a part of group research of "Non-air conditioned elementary school design in Northeastern Thailand” as a main theme. According to the severe environment depletion especially the increasing of high air temperature in summer and the reducing of low air temperature in winter in The Northeast, especially the lower part. The adjustment of site environment to modify outside thermal comfort is a guideline to reduce this severe case. The research objectives are, (1) to study thermal comfort from the use of site environment to modify thermal comfort. (2) to predict thermal comfort in Lower Northeastern region from weather data. (3) to represent the use of site environment guidelines to modify thermal comfort in natural classroom. The research methodology are, (1) constructed environmental model under the design guideline. (2) collected air temperature, relative humidity, solar illumination, and wind speed. (3) collected for thermal comfort evaluation and prediction. The research by using the site environment concept to modify thermal comfort in natural classroom is, in winter, when outside air temperature is lower than comfort zone the user sensible temperature is 1-5.9 ℃ resultewd from,(1) the effect of solar rediation. (2) the effect of MRT from the effected of solar radiatation.(3) wind control by using north landform. in summer, when outside air temperature is higher than comfort zone the user sensible temperature is 1-2.9℃ resultewd from,(1) the protection of solar radiatation by using the two level tree. (2) the effect of MRT by using exterior surface reduce temperature through evaporation process. (3) the effect of wind speed average at 0.70 m/s. A prediction of Lower Northeastern region from weather data, during 8.00 a.m.-16.00 p.m., natural classroom temperature reach thermal comfort in winter 77 %, 100 % in summer and 97 % in rainy season. The guideline to modify outside thermal comfort in this research develops the quality of education and life better, use as a guideline in natural classroom designing and construction in the Northeastern region or use as a case study in natural classroom designing and construction in other differences weather region. This guideline makes the environment adjustment into thermal comfort easier. en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject สิ่งแวดล้อมในโรงเรียน en_US
dc.subject การออกแบบสถาปัตยกรรม en_US
dc.subject ภูมิสถาปัตยกรรม -- ไทย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) en_US
dc.subject ไทย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) en_US
dc.title การปรับสภาพแวดล้อมเพื่อเอื้อประโยชน์ต่อห้องเรียนธรรมชาติในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง en_US
dc.title.alternative The use of site environment to modify thermal comfort condition for natural classroom in lower Northeastern region en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.discipline สถาปัตยกรรม en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.email.advisor ไม่มีข้อมูล


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record