Abstract:
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยคัดสรรที่สัมพันธ์กับการนำเด็กเข้ารับการกระตุ้นพัฒนาการของผู้เลี้ยงดู กลุ่มตัวอย่างมีจำนวนทั้งสิ้น 143 คน โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มผู้เลี้ยงดูที่นำเด็กเข้ารับบริการ จำนวน 73 คน และกลุ่มผู้เลี้ยงดูที่เลิกนำเด็กเข้ารับบริการจำนวน 70 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามระดับความพึงพอใจที่มีต่อการให้บริการของหน่วยงานกระตุ้นพัฒนาการ และแบบสอบถามความเข้าใจและความเชื่อเรื่องการกระตุ้นพัฒนาการของผู้เลี้ยงดู นำข้อมูลมาวิเคราะห์โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์การจำแนกกลุ่ม (Discriminant Analysis) ด้วยวิธีการวิเคราะห์แบบขั้นตอน (Stepwise) โดยใช้สถิติวิลค์ส แลมดา (Wilks 's Lambda) เป็นเกณฑ์ในการคัดเลือกตัวแปรเข้าวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า จากตัวแปรทั้งหมด 7 ตัวแปรที่นำเข้าวิเคราะห์มี 4 ตัวแปรที่มีนัยสำคัญทางสถิติ (P< .01) และความสามารถจำแนกความแตกต่างระหว่างกลุ่มตัวอย่างได้ถึงร้อยละ 68.6 จึงสรุปได้ว่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการนำเด็กเข้ารับการกระตุ้นพัฒนาการของผู้เลี้ยงดูคือ บริการด้านการเสริมสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างเด็กและผู้เลี้ยงดู บริการด้านการกระตุ้น พัฒนาการ บริการด้านการจัดการ และบริการด้านการให้ความรู้ คำปรึกษา และข้อมูล (เรียงตามลำดับความสำคัญ จากค่าสัมประสิทธิ์ของตัวแปร) และกลุ่มตัวแปรทั้ง 4 นี้ มีความแม่นยำในการคาดคะเนการนำเด็กเข้ารับบริการของผู้เลี้ยงดูได้ถูกต้องถึงร้อยละ 93.7