DSpace Repository

ปัจจัยคัดสรรที่สัมพันธ์กับการนำเด็กเข้ารับการกระตุ้นพัฒนาการของผู้เลี้ยงดู

Show simple item record

dc.contributor.advisor พรรณระพี สุทธิวรรณ
dc.contributor.advisor สมโภชน์ เอี่ยมสุภาษิต
dc.contributor.author จิรัชยา จิรธรรมกุล
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะจิตวิทยา
dc.date.accessioned 2021-03-15T06:53:33Z
dc.date.available 2021-03-15T06:53:33Z
dc.date.issued 2544
dc.identifier.isbn 9741700806
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/72836
dc.description วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544 en_US
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยคัดสรรที่สัมพันธ์กับการนำเด็กเข้ารับการกระตุ้นพัฒนาการของผู้เลี้ยงดู กลุ่มตัวอย่างมีจำนวนทั้งสิ้น 143 คน โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มผู้เลี้ยงดูที่นำเด็กเข้ารับบริการ จำนวน 73 คน และกลุ่มผู้เลี้ยงดูที่เลิกนำเด็กเข้ารับบริการจำนวน 70 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามระดับความพึงพอใจที่มีต่อการให้บริการของหน่วยงานกระตุ้นพัฒนาการ และแบบสอบถามความเข้าใจและความเชื่อเรื่องการกระตุ้นพัฒนาการของผู้เลี้ยงดู นำข้อมูลมาวิเคราะห์โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์การจำแนกกลุ่ม (Discriminant Analysis) ด้วยวิธีการวิเคราะห์แบบขั้นตอน (Stepwise) โดยใช้สถิติวิลค์ส แลมดา (Wilks 's Lambda) เป็นเกณฑ์ในการคัดเลือกตัวแปรเข้าวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า จากตัวแปรทั้งหมด 7 ตัวแปรที่นำเข้าวิเคราะห์มี 4 ตัวแปรที่มีนัยสำคัญทางสถิติ (P< .01) และความสามารถจำแนกความแตกต่างระหว่างกลุ่มตัวอย่างได้ถึงร้อยละ 68.6 จึงสรุปได้ว่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการนำเด็กเข้ารับการกระตุ้นพัฒนาการของผู้เลี้ยงดูคือ บริการด้านการเสริมสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างเด็กและผู้เลี้ยงดู บริการด้านการกระตุ้น พัฒนาการ บริการด้านการจัดการ และบริการด้านการให้ความรู้ คำปรึกษา และข้อมูล (เรียงตามลำดับความสำคัญ จากค่าสัมประสิทธิ์ของตัวแปร) และกลุ่มตัวแปรทั้ง 4 นี้ มีความแม่นยำในการคาดคะเนการนำเด็กเข้ารับบริการของผู้เลี้ยงดูได้ถูกต้องถึงร้อยละ 93.7 en_US
dc.description.abstractalternative This research attempted to identify the selected factors that related to caregiver involvement in bringing their child to an Early Intervention Center. The sample included 143 subjects divided into two groups: (1) 73 caregivers who brought their child to an Early Intervention Center and (2) 70 caregivers who didn't bring their child to an Early Intervention Center. The research instruments were level of satisfaction in services providing by Early Intervention Center Questionnaire and Caregivers' understanding and faith in Early Intervention Questionnaire. The data were analyzed by the discriminant analysis technique with stepwise methods. Wilks's Lambda was used as the entry criterion. Stepwise discriminant function analyses identified four variables accounting for 68.6 percent of the total variance between the two groups. Listed in order of relative importance, these variables were: (1) Interaction between child and caregiver service (2) Early Intervention service (3) Management service and (4) Giving knowledge, counseling and information service. The percentage of correct classification for predicted group membership of caregivers continue bringing the child to the Early Intervention Center was 93.7. en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.relation.uri http://doi.org/10.14457/CU.the.2001.255
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject เด็ก -- การดูแล en_US
dc.subject ผู้ดูแลเด็ก en_US
dc.subject พัฒนาการของเด็ก en_US
dc.title ปัจจัยคัดสรรที่สัมพันธ์กับการนำเด็กเข้ารับการกระตุ้นพัฒนาการของผู้เลี้ยงดู en_US
dc.title.alternative Selected factors related to caregiver's bringing the child into the early intervention center en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.discipline จิตวิทยาพัฒนาการ en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.email.advisor Panrapee.S@Chula.ac.th
dc.email.advisor ไม่มีข้อมูล
dc.identifier.DOI 10.14457/CU.the.2001.255


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record