DSpace Repository

ปัญหาครอบครองโดยบุคคลหลายฝ่ายในทรัพย์รายเดียวในบริบทของสัญญาเช่าทรัพย์

Show simple item record

dc.contributor.advisor ปิติ เอี่ยมจำรูญลาภ
dc.contributor.author โรจน์ศักดิ์ สุทธิสน
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
dc.date.accessioned 2021-03-29T09:14:51Z
dc.date.available 2021-03-29T09:14:51Z
dc.date.issued 2561
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/72987
dc.description วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561 en_US
dc.description.abstract คำอธิบายทางตำรากฎหมายลักษณะหนี้เห็นว่าสัญญาเช่าก่อเพียงบุคคลสิทธิอาจเรียกร้องเอาจากตัวผู้ให้เช่าที่เป็นคู่สัญญาได้เท่านั้น ในขณะที่มุมมองในเชิงกฎหมายลักษณะทรัพย์มองว่าการที่ผู้เช่าได้ใช้หรือได้รับประโยชน์เหนือทรัพย์สินที่เช่าถือว่าผู้เช่ามีเจตนายึดถือทรัพย์ที่เช่าเพื่อตนจึงมีสิทธิครอบครองซึ่งตามกฎหมายไทยแล้วถือเป็นทรัพย์สิทธิอย่างหนึ่ง และในขณะเดียวกันผู้เช่าถือเป็นผู้ยึดถือแทนผู้ให้เช่าด้วย อย่างไรก็ตาม บางตำรากฎหมายทรัพย์สินก็อธิบายไว้ว่าผู้ยึดถือแทนไม่อาจมีเจตนาในการยึดถือเพื่อตนได้ นอกจากนี้ ยังปรากฏว่าแนวทางคำวินิจฉัยของศาลยังไม่สอดคล้องกันในเรื่องสิทธิของผู้เช่า ตามหลักกฎหมายโรมัน บุคคลจะต้องยึดถือทรัพย์อย่างเอาเป็นเด็ดขาดแก่ตนเองโดยไม่เคารพสิทธิของบุคคลอื่นจึงจะมีการครอบครอง ผู้เช่าจึงไม่มีการครอบครอง หากผู้เช่าได้รับความเดือดร้อนจากบุคคลภายนอก ผู้เช่าอาจเรียกร้องจากผู้ให้เช่าสัญญา ในขณะที่กฎหมายเยอรมัน บุคคลที่มีการควบคุมที่แท้จริงเหนือทรัพย์ก็มีการครอบครองแล้ว ผู้เช่าจึงเป็นผู้ครอบครอง ผู้เช่ามีสิทธิเรียกร้องได้ทั้งต่อผู้ให้เช่าและบุคคลภายนอก นอกจากนี้ ในหลักการ Direct-indirect Possession กฎหมายเยอรมันยังรองรับให้ผู้ให้เช่ามีการครอบครองด้วยโดยเป็นการครอบครองโดยอ้อม ในขณะที่ในกฎหมายไทยไม่ได้มีหลักการดังกล่าว จะเห็นได้ว่า การปรับใช้กฎหมายของนักกฎหมายไทยต่อกรณีการครอบครองโดยบุคคลหลายฝ่ายในทรัพย์รายเดียวในบริบทของสัญญาเช่าทรัพย์ยังไม่เป็นระบบ ผู้เขียนจึงเห็นว่าควรนำแนวคิดและทฤษฎีที่ปรากฎอยู่ในกฎหมายโรมันในฐานะที่เป็นต้นแบบของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ของไทยมาอธิบายการครอบครองตามกฎหมายไทยเพื่อความสอดคล้องกับแนวคิดและทฤษฎีกฎหมายและทำให้การปรับใช้กฎหมายมีความเป็นระบบนั่นเอง en_US
dc.description.abstractalternative The explanation on law of obligation deems that the lease contract constitutes only the obligatory rights against the lessor. While the legal aspect of the law of property considered that use of the leased property is deemed that the lessee intends to hold the property for itself, he therefore has the possessory right which is one of real right. At the same time, the lessee is considered that it holds the leased property on behalf of the lessor. However, representative holder cannot have intention to hold of itself. Moreover, it appears that the court's decisions have not been consistent. In Roman laws, to obtain possession, a person shall adhere exclusive holding to the property without respecting the rights of others. The lessee therefore has no possession. If the lessee has suffered from outsiders, the lessee shall claim against the lessor. While in German laws, the person with actual control over the thing is possessor. The lessee is therefore a possessor himself. The lessor has the right to claim both against the lessor and third party. As well, Germans also allows the lessor have possession, while in Thai law, there is no such principle. It could be seen that the use of laws of Thai lawyers to such case is still not systematic. The author therefore suggest to adopt the concepts of Roman law in order to maintain the consistency with legal concepts and theories as well the systematic of use of the law. en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.relation.uri http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2018.851
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ -- เช่าทรัพย์
dc.subject กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ -- สัญญา
dc.subject Civil and commercial law -- Hire of property
dc.subject Civil and commercial law -- Contracts
dc.title ปัญหาครอบครองโดยบุคคลหลายฝ่ายในทรัพย์รายเดียวในบริบทของสัญญาเช่าทรัพย์ en_US
dc.title.alternative Legal problem on possession of multi-possessor over one thing in the context of hire of property en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name นิติศาสตรมหาบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.discipline นิติศาสตร์ en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.email.advisor piti.e@chula.ac.th
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.THE.2018.851


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record