Abstract:
เหตุผลของการทำวิจัย: ปัญหาพฤติกรรมเดินไปมาอย่างไร้จุดหมายในผู้มีภาวะสมองเสื่อมเป็นปัญหา ที่ก่อให้เกิดผลเสียรุนแรง เช่น ทาให้เกิดการบาดเจ็บ สูญหายและอาจก่อให้เกิดอันตรายถึงชีวิต ทำให้เกิดความ ทุกข์ใจให้กับครอบครัวและผู้ดูแล โดยขณะนี้ขาดข้อมูลการศึกษาปัญหาพฤติกรรมนี้ในประเทศไทย วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมเดินไปมาอย่างไร้จุดหมายในผู้ที่มี ภาวะสมองเสื่อมที่คลินิกโรคสมองเสื่อมโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ วิธีการศึกษา: กลุ่มตัวอย่างทั้งหมดจำนวน 95 คน ที่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่ามีภาวะสมองเสื่อม ชนิดใดชนิดหนึ่งและมีอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป โดยใช้แบบสอบถามข้อมูลพื้นฐานและข้อมูลด้านการเจ็บป่วย แบบ ประเมินพฤติกรรมเดินไปมาอย่างไร้จุดหมาย (RAWS-CV) แบบประเมินอาการทางประสาทจิตเวชศาสตร์ NPI-Q แบบประเมินความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน ดัชนีบาร์เธลเอดีแอล แบบประเมินความสามารถเชิง ปฏิบัติดัชนีจุฬาเอดีแอล แบบทดสอบ TMSE และแบบประเมินภาระของผู้ดูแล (ZBI) คำนวณสถิติโดยใช้ โปรแกรม SPSS version 22 เพื่อหาสถิติเชิงพรรณนา คำนวณสถิติเชิงอนุมานโดยใช้ Logistic และ Linear regression เพื่อหาปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษา: ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างทั้งหมดที่ญาติให้ประวัติว่ามีพฤติกรรมเดินไปมาอย่าง ไร้จุดหมายหรือพลัดหลง คิดเป็นร้อยละ 23.2 และมีพฤติกรรมดังกล่าวด้วยแบบประเมิน RAWS-CV ที่มีค่า คะแนนเฉลี่ยมากกว่า 1 ถึงร้อยละ 82.1 โดยปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาพฤติกรรมเดินไปมาอย่างไร้จุดหมาย อย่างมีนัยสาคัญ ได้แก่ ระยะเวลาที่ป่วยมากกว่า 4 ปีขึ้นไป มีอาการประสาทหลอน เฉยเมยไม่สนใจสิ่งรอบตัว/ไร้ อารมณ์ ความไม่ยับยั้งชั่งใจ ส่วนปัจจัยที่พยากรณ์ค่าคะแนน RAWS-CV ได้แก่ ค่าคะแนนความรุนแรงของอาการ ทางจิตประสาทและพฤติกรรม ระดับความทุกข์ใจของผู้ดูแล มีอาการประสาทหลอน มีโรคประจำตัวอื่น ๆ มี ความอยากอาหารและการกินที่ผิดปกติ และการได้รับยา memantine สรุป: ประมาณ 1 ใน 4 ของกลุ่มตัวอย่างเคยมีประวัติปัญหาพฤติกรรมเดินไปมาอย่างไร้จุดหมายจาก การรายงานของผู้ดูแล ในขณะที่มากกว่า 4 ใน 5 ของกลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมดังกล่าวจากแบบประเมินและ สร้างความทุกข์ใจให้กับผู้ดูแล การประเมินความเสี่ยงที่จะเกิดพฤติกรรมนี้จะช่วยป้องกันให้ไม่เกิดการพลัดหลง หรือหายออกจากบ้านหรือเกิดอันตรายร้ายแรงกับผู้ป่วยได้ในภายหลัง