DSpace Repository

ความชุกของปัญหาพฤติกรรมเดินไปมาอย่างไร้จุดหมายในผู้ที่มีภาวะสมองเสื่อมที่คลินิกโรคสมองเสื่อม โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์

Show simple item record

dc.contributor.advisor สุขเจริญ ตั้งวงษ์ไชย
dc.contributor.author วราวดี เหมรัตน
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
dc.date.accessioned 2021-03-31T09:50:43Z
dc.date.available 2021-03-31T09:50:43Z
dc.date.issued 2561
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/73057
dc.description วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561 en_US
dc.description.abstract เหตุผลของการทำวิจัย: ปัญหาพฤติกรรมเดินไปมาอย่างไร้จุดหมายในผู้มีภาวะสมองเสื่อมเป็นปัญหา ที่ก่อให้เกิดผลเสียรุนแรง เช่น ทาให้เกิดการบาดเจ็บ สูญหายและอาจก่อให้เกิดอันตรายถึงชีวิต ทำให้เกิดความ ทุกข์ใจให้กับครอบครัวและผู้ดูแล โดยขณะนี้ขาดข้อมูลการศึกษาปัญหาพฤติกรรมนี้ในประเทศไทย วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมเดินไปมาอย่างไร้จุดหมายในผู้ที่มี ภาวะสมองเสื่อมที่คลินิกโรคสมองเสื่อมโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ วิธีการศึกษา: กลุ่มตัวอย่างทั้งหมดจำนวน 95 คน ที่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่ามีภาวะสมองเสื่อม ชนิดใดชนิดหนึ่งและมีอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป โดยใช้แบบสอบถามข้อมูลพื้นฐานและข้อมูลด้านการเจ็บป่วย แบบ ประเมินพฤติกรรมเดินไปมาอย่างไร้จุดหมาย (RAWS-CV) แบบประเมินอาการทางประสาทจิตเวชศาสตร์ NPI-Q แบบประเมินความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน ดัชนีบาร์เธลเอดีแอล แบบประเมินความสามารถเชิง ปฏิบัติดัชนีจุฬาเอดีแอล แบบทดสอบ TMSE และแบบประเมินภาระของผู้ดูแล (ZBI) คำนวณสถิติโดยใช้ โปรแกรม SPSS version 22 เพื่อหาสถิติเชิงพรรณนา คำนวณสถิติเชิงอนุมานโดยใช้ Logistic และ Linear regression เพื่อหาปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษา: ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างทั้งหมดที่ญาติให้ประวัติว่ามีพฤติกรรมเดินไปมาอย่าง ไร้จุดหมายหรือพลัดหลง คิดเป็นร้อยละ 23.2 และมีพฤติกรรมดังกล่าวด้วยแบบประเมิน RAWS-CV ที่มีค่า คะแนนเฉลี่ยมากกว่า 1 ถึงร้อยละ 82.1 โดยปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาพฤติกรรมเดินไปมาอย่างไร้จุดหมาย อย่างมีนัยสาคัญ ได้แก่ ระยะเวลาที่ป่วยมากกว่า 4 ปีขึ้นไป มีอาการประสาทหลอน เฉยเมยไม่สนใจสิ่งรอบตัว/ไร้ อารมณ์ ความไม่ยับยั้งชั่งใจ ส่วนปัจจัยที่พยากรณ์ค่าคะแนน RAWS-CV ได้แก่ ค่าคะแนนความรุนแรงของอาการ ทางจิตประสาทและพฤติกรรม ระดับความทุกข์ใจของผู้ดูแล มีอาการประสาทหลอน มีโรคประจำตัวอื่น ๆ มี ความอยากอาหารและการกินที่ผิดปกติ และการได้รับยา memantine สรุป: ประมาณ 1 ใน 4 ของกลุ่มตัวอย่างเคยมีประวัติปัญหาพฤติกรรมเดินไปมาอย่างไร้จุดหมายจาก การรายงานของผู้ดูแล ในขณะที่มากกว่า 4 ใน 5 ของกลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมดังกล่าวจากแบบประเมินและ สร้างความทุกข์ใจให้กับผู้ดูแล การประเมินความเสี่ยงที่จะเกิดพฤติกรรมนี้จะช่วยป้องกันให้ไม่เกิดการพลัดหลง หรือหายออกจากบ้านหรือเกิดอันตรายร้ายแรงกับผู้ป่วยได้ในภายหลัง en_US
dc.description.abstractalternative Wandering behavior in people with dementia causes the serious consequences; including physical injuries, getting lost and fatality. Currently, it is lack of evidence-based information concerning wandering behavior in people with dementia in Thailand. Objectives: To explore the prevalence and associated factors of wandering behavior in people with dementia at dementia clinic, King Chulalongkorn Memorial Hospital. Methods: The samples of 95 subjects from dementia clinic were interviewed using demographic data questionaires, Revised Algase Wandering Scale Community Version (RAWSCV), NPI-Q, Barthel ADL Index, Chula ADL Index, TMSE and Zarit Burden Interview (ZBI). The SPSS version 22 was used for descriptive and inferential statistics analyses. Univariated analysis was used to demonstrate the associated factors while logistic and linear regression analyses were used to determine the risk and predictive factors. Results: The prevalence of reported wandering behavior in people with dementia from caregivers was 23.2%, while 82.1% of subjects had the score of the RAWS-CV > 1. The risk factors for wandering behavior were duration of dementia diagnosis more than 4 years, presence of hallucination, apathy, and disinhibition. The predictive factors for RAWS-CV were the level of NPI-Q severity and caregiver’s distress, presence of hallucination, having medical comorbidities, having appetite/eating disorder and prescribed for memantine. Conclusion: One quarter of the patients at Dementia Clinic had history of wandering behavior reported from caregivers, while more than 4 in 5 of the subjects had these behaviors from RAWS-CV and caused caregivers’ distress. The Wandering Scale can be helpful in assessment of risk and prevention of serious consequences of wandering behavior en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.relation.uri http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2018.1433
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject ภาวะสมองเสื่อม
dc.subject สมอง -- โรค
dc.subject Dementia
dc.subject Brain -- Diseases
dc.title ความชุกของปัญหาพฤติกรรมเดินไปมาอย่างไร้จุดหมายในผู้ที่มีภาวะสมองเสื่อมที่คลินิกโรคสมองเสื่อม โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ en_US
dc.title.alternative The Prevalence of Wandering Behavior in People with Dementia at Dementia Clinic, King Chulalongkorn Memorial Hospital en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.discipline สุขภาพจิต en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.email.advisor Sookjaroen.T@Chula.ac.th
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.THE.2018.1433


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record