Abstract:
การวิจัยครังนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบการรับรู้ความสามารถของตนระหว่างวัยรุ่น ตอนต้นและวัยรุ่นตอนปลายที่มีความเชื่ออำนาจภายในและภายนอกตน กลุ่มตัวอย่างที่ทำการศึกบา คือ วัยรุ่นตอนต้นซึ่งกำลังศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น อายุระหว่าง13-15 ปี และวัยรุ่นตอน ปลายซึ่งกำลังศึกษาในระดับอุดมศึกษา อายุระหว่าง 18-21 ปี ในเขตกรุงเทพมหานคร โดยกลุ่ม ตัวอย่างทังสองยังถูกแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่มีความเชื่ออำนาจภายในตน จำนวน 200 คน และกลุ่มที่มีความเชื่ออำนาจภายนอกตน จำนวน 200 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 2 แบบ คือ แบบประเมินความเชื่ออำนาจภายในและภายนอกตนและแบบประเมินการรับรู้ความสามารถของ ตน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือการวิเคราะห์ความแปรปรวนสองทางผลการวิจัย พบว่า ลักษณะของความเชื่อของบุคคลและระดับอายุส่งผลต่อคะแนนการรับรู้ ความสามารถของตนเองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่.001 กล่าวคือ 1. วัยรุ่นที่มีความเชื่ออำนาจภายในตน มีคะแนนการรับรู้ความสามารถของตน (M = 31.71, SD = 3.28) สูงกว่าวัยรุ่นที่มีความเชื่ออำนาจภายนอกตน (M = 25.69, SD = 3.48) อย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติ (F(1,796)= 656.291, P < .001) 2. วัยรุ่นตอนปลายมีคะแนนการรับรู้ความสามารถของตน (M = 29.77, SD = 3.34) สูงกว่า วัยรุ่นตอนต้น (M =27.71, SD = 3.22) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (F (1,796) = 69.808, P < .001)