DSpace Repository

ความเป็นตลาดในละครรำ

Show simple item record

dc.contributor.advisor สวภา เวชสุรักษ์
dc.contributor.author เฉลิมศักดิ์ เย็นสำราญ
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์
dc.date.accessioned 2021-04-22T02:46:32Z
dc.date.available 2021-04-22T02:46:32Z
dc.date.issued 2561
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/73154
dc.description วิทยานิพนธ์ (ศศ.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561 en_US
dc.description.abstract วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบของตัวละครที่แสดงความเป็นตลาดในการแสดงละครรำ และกลวิธีการแสดงความเป็นตลาดในการแสดงละครรำ ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงผสมผสาน (Mixed Method Research) (มุ่งเน้นการวิเคราะห์ข้อมูลเอกสารทางวิชาการ ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ ภาพถ่ายและสื่ออิเล็กทรอนิกส์ การสังเกตการณ์ การฝึกปฏิบัติ การสนทนากลุ่มย่อย ประกอบประสบการของผู้วิจัย) สรุปผลการวิจัยด้วยรูปแบบพรรณนาวิเคราะห์ โดยศึกษาเฉพาะตัวละครที่มีบทบาทความเป็นตลาดในการแสดงละครรำในรายการศรีสุขนาฎกรรมของกรมศิลปากร ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2518-พ.ศ. 2559 (30 กันยายน 2559) ผลการวิจัย พบว่า ความเป็นตลาดเป็นการแสดงพฤติกรรมไม่สำรวมด้วยอารมณ์ความรู้สึกนึกคิด คำพูดและกิริยาท่าทางของตัวละครที่เป็นตัวแทนมนุษย์ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่มีอยู่ในทุกตัวละคร องค์ประกอบของตัวละครที่แสดงความเป็นตลาดประกอบด้วย 4 ปัจจัยได้แก่ 1) ความขัดแย้งของตัวละคร 2) พื้นฐานของตัวละคร 3) สถานการณ์ของตัวละคร และ 4) เพลงที่แสดงความเป็นตลาดของตัวละคร กลวิธีการแสดงความเป็นตลาด มี 2 กลวิธีได้แก่ 1) การสวมวิญญาณความเป็นตลาดในการแสดงละครรำ 2 ขั้นตอน คือ ขั้นตีความบทบาทและอารมณ์ของตัวละคร และขั้นตีบทประกอบลีลาท่ารำและอารมณ์ความรู้สึกของตัวละคร 2) กลวิธีการแสดงความเป็นตลาดในการแสดงละครรำ มี 2 กลวิธีได้แก่ กลวิธีได้แก่ กลวิธีการแสดงความเป็นตลาดตามขนบละครรำของกรมศิลปากร (จารีตละครหลวง) 2 รูปแบบ คือ รูปแบบละครจารีตและรูปแบบละครตลาด และกลวิธีการแสดงความเป็นตลาดนอกขนบละครรำของกรมศิลปากร (นอกจารีตละครหลวง) ที่ปรากฎเฉพาะในการแสดงละครนอก 2 ประเภท คือ การเพิ่มเติมและการเปลี่ยนแปลงกระบวนการแสดงความเป็นตลาด ความเป็นตลาดเป็นสิ่งที่มีอยู่ในอุปนิสัยของมนุษย์ทุกระดับชั้น โดยมีกรอบมารยาททางสังคมเป็นแบบแผนให้ยึดถือปฏิบัติหรือเป็นเครื่องกลั่นกรอง หากมีสถานการณ์มากดดันอารมณ์ให้เกิดความรู้สึกรัก โลภ โกรธ หลง ก็จะส่งผลให้มนุษย์มีปฏิกิริยาทางอารมณ์และแสดงพฤติกรรมโต้ตอบอย่างหนึ่งอย่างใด แต่เมื่อความเป็นตลาดปรากฏเป็นบุคลิกลักษณะ อารมณ์และความรู้สึกนึกคิดของตัวละคร ตัวละครก็ย่อมแสดงพฤติกรรมเช่นเดียวกับมนุษย์ หากแต่แสดงให้เป็นไปตามระเบียบแบบแผนทางการแสดงละครแต่ละประเภทอย่างเคร่งครัด ความเป็นตลาดในละครรำเป็นงานวิจัยที่ค้นพบองค์ความรู้ใหม่หรืองานวิจัยเริ่มแรก (Original research) ที่ยังไม่มีผู้ใดได้ทำการศึกษาไว้ก่อนแล้ว (Knowledge gaps) ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อวงวิชาการและวิชาชีพนาฏยศิลป์ไทย โดยเฉพาะการ แสดงละครรำและประยุกต์ใช้กับละครประเภทอื่น ๆ ด้วย en_US
dc.description.abstractalternative This thesis aimed to study elements and presentation strategies of Talad characters in Thai dance drama. It is a mixed method research (focused on the analysis of academic documentation, information from interview, photos and electronic media, observation, practice, focus group discussion, and the experience of the researcher). Summary was done with descriptive analysis studying only the role of Talad characters in Srisukh natakam variety show by the Fine Arts Department from 1975-2016 (30 September 2016). The results showed that Talad is an unrestrained behavior expressed through emotional, verbal, and non-verbal expression, which can be found in every character. The elements of Talad characteristics consisted of 4 factors: 1) Character’s conflicts, 2) Character’s basis, 3) Character’s situation, and 4) Song that represents the Talad character. Talad characteristics were presented using 2 strategies as follows. 1) Impersonation of the Talad character in 2 steps: the interpretation of the role and emotion and the application of the interpretation into dance. 2) The performing techniques of Talad character can be divided into 2 styles. The first one is the conservative dance tradition of the fine Arts Department (royal dance drama tradition), which can categorized into traditional dance drama and Talad dance drama. The second style is the non-conservative tradition other than that of the fine Arts Department (non-royal dance drama tradition), found only in Lakhon Nok performance in 2 methods, namely, the addition and the alteration of the presentation of Talad characteristics. Talad characteristics exist in human being in all classes, confined by social etiquettes that moderate social behaviors. If a circumstance incites the emotion, namely, passion, greed, anger, and delusion, it will result in emotional reactions and behavioral responses of the individuals. Therefore, when Talad characteristics is integrated into the personality, emotion, and feeling of the character, it will certainly make that character behave like human being, although they need to follow the performing tradition of each type of drama strictly. Characteristics of Talad in Thai Dance Drama is an innovative research or an original research that no similar research can be found (knowledge gaps) which might be useful for academic and professional dimensions of Thai traditional dance field, especially the dance drama as well as other types of drama. en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.relation.uri http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2018.814
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject ละครรำ
dc.subject ละคร -- ไทย
dc.subject ศิลปะการแสดง
dc.subject Theater -- Thailand
dc.subject Performing arts
dc.title ความเป็นตลาดในละครรำ en_US
dc.title.alternative Characteristics of talad in Thai dance drama en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาเอก en_US
dc.degree.discipline นาฏยศิลป์ไทย en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.email.advisor Savapar.V@Chula.ac.th
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.THE.2018.814


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

  • Fine Arts - Theses [876]
    วิทยานิพนธ์ คณะศิลปกรรมศาสตร์

Show simple item record