dc.contributor.advisor | สวภา เวชสุรักษ์ | |
dc.contributor.author | ธรรมจักร พรหมพ้วย | |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2021-04-22T02:53:50Z | |
dc.date.available | 2021-04-22T02:53:50Z | |
dc.date.issued | 2561 | |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/73155 | |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ศศ.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561 | en_US |
dc.description.abstract | การศึกษาสถานภาพของงานนาฏกรรมในรัชกาลที่ 3 เป็นการวิจัยเชิงประวัติศาสตร์ที่มุ่งศึกษาปัจจัยทางสังคมที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงงานนาฏกรรม โดยมุ่งที่จะศึกษาประวัติศาสตร์นาฏกรรมในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ระหว่าง พ.ศ. 2367 – 2394 โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยผสมผสาน ที่ได้รวบรวมและค้นคว้าเอกสารชั้นต้นและชั้นรอง และหลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี ประเภทจิตรกรรมและประติมากรรม ผลการวิจัยพบว่างานนาฏกรรมในรัชกาลที่ 3 ยังคงปรากฏอยู่ในราชสำนักและนอกราชสำนัก มีหน้าที่ตอบสนองความต้องการของสังคมในเชิงพิธีกรรมและความบันเทิง แม้ว่าพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวมิได้ใส่พระราชหฤทัยและให้ความสำคัญเรื่องงานนาฏกรรมมากนัก แต่กลับทำให้รูปแบบนาฏกรรมของหลวงเผยแพร่ไปสู่วังของเจ้านายและเรือนของขุนนาง จนทำให้มีการละเมิดธรรมเนียมราชสำนักเรื่องการมีละครหรือมโหรีผู้หญิงประดับเกียรติยศ นอกจากนี้ปัจจัยจากสภาพสังคม เช่น ระบบเศรษฐกิจ ระบบไพร่ การขยายตัวของพระนคร ความหลากหลายทางเชื้อชาติและศาสนา เป็นผลให้นาฏกรรมกระจายตัวโดยแพร่หลาย ประชากรมีรายได้เพิ่มมากขึ้นจนสามารถใช้จ่ายเพื่อความบันเทิงและการพนันได้ ปรากฏพิกัดการกระจายตัวของนาฏกรรมทั่วไปในพระนคร เมืองประเทศราชและหัวเมืองสำคัญ โดยเฉพาะวัดที่สร้างและปฏิสังขรณ์ในรัชกาลที่ 3 มากกว่า 53 วัด เป็นแหล่งที่ต้องใช้นาฏกรรมเป็นมหรสพสมโภชเมื่อเฉลิมฉลองและวันสำคัญทางศาสนา รูปแบบและวิธีแสดงนาฏกรรมที่ประกอบด้วยบริบทต่าง ๆ ยังคงแสดงตามแบบจารีตดั้งเดิม แต่ส่วนที่แปรเปลี่ยนจากเดิมคือกลุ่มนายทุน กลุ่มการจัดการ กลุ่มนักแสดง และกลุ่มผู้ชม การที่นาฏกรรมยังคงมีกลุ่มผู้จัดแสดงอย่างต่อเนื่องทำให้ งานนาฏกรรมได้รับการสืบทอดจวบจนปัจจุบัน นาฏกรรมในรัชกาลที่ 3 จึงเป็นวิถีทางหนึ่งที่ช่วยอนุรักษ์งานนาฏกรรมให้มีการต่อยอดและสร้างสรรค์งานที่หลากหลายได้เพิ่มมากขึ้นอย่างมีคุณภาพตราบจนทุกวันนี้ | en_US |
dc.description.abstractalternative | The study of the status of the theatre and dance in the reign of King Rama III was a historical research aimed at studying social factors that affect the work of dance. The purpose of research was to study the history of the dance in the reign of King Rama III during 1824-1839 AD by using the mixed research methodology which collected the primary and secondary documents, historical and archaeological evidences such as paintings and sculptures. The results of the research showed that the dance in the reign of King Rama III still appears in the royal court and outside the royal court. It served for fulfilling the needs of ritual and entertainment role. Although King Phra Nangklao would not pay attention to the dance work, but it made the dance style spreading out from royal court to the outside palaces of royal families and houses of noblemen. Until causing a violation of the royal court tradition on having a female drama or orchestra adorned with their honor. In addition, factors from social conditions such as economy, feudal system, the expansion of the capital city, ethnic and religious diversity, were results that made the dance spreading widely. When population earned more income, they can spend for entertainment or gambling. The distribution of dance in capital, Siam’s dominions and major cities also spread widely. Especially, in the reign of King Rama III, there were more than 53 temples built and renovated, which can be proved that theater and dance were used in the celebration of completion and important religious days. The performance platform still remained the same as original but what was changed were patrons, show management, artists, and audiences. Since the dances were performed continuously, the dance in the reign of King Rama III is one of the reasons why the Thai dances are preserved, continued, and prevalent recreated until these days. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2018.817 | |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | ศิลปกรรมกับประวัติศาสตร์ | |
dc.subject | ศิลปกรรมไทย -- สมัยรัตนโกสินทร์, 2325-2475 | |
dc.subject | Art and history | |
dc.title | นาฏกรรมในรัชกาลที่ 3 | en_US |
dc.title.alternative | Theatre and dance in the reign of King Rama III | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาเอก | en_US |
dc.degree.discipline | นาฏยศิลป์ไทย | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | Savapar.V@Chula.ac.th | |
dc.identifier.DOI | 10.58837/CHULA.THE.2018.817 |