Abstract:
ที่มาและเหตุผล ผู้ป่วยโรคไตวายรื้อรังเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี สูง โอกาสการเกิดเป็นพาหะหรือภาวะแทรกช้อนต่าง ๆ มากกว่าคนปกติ สาเหตุเนื่องมาจากมีการตอบสนองทางระบบภูมิคุ้มกันเสียไป จึงมีการแนะนำให้ผู้ป่วยเหล่านี้เข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคดังกล่าว โดยฉีดเข้าชั้นกล้ามเนื้อและใช้ขนาดของวัคซีนมากเป็นสองเท่าของปกติ ทำให้เพิ่มค่าใช้จ่ายมากขึ้น การฉีดวัคซีนเข้าชั้นผิวหนังด้วยขนาดวัคซีนที่ตํ่ากว่า อาจเป็นทางเลือกหนึ่งที่มีประสิทธิภาพดีและช่วยลดค่าใช้จ่ายของผู้ป่วยลงได้ วัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันระหว่างการฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบ บี เข้าชั้นผิวหนังในขนาดตํ่ากว่าและการฉีดเข้าชั้นกล้ามเนื้อในขนาดเป็นสองเท่าของปกติ ในผู้ป่วยโรคไตวายรื้อรังระยะก่อนการล้างไต วิธีการ ผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังที่มีซีรั่มครีเอตินิน 3-8 มก/ดล และยังไม่ได้รับการล้างไต จะถูกลุ่มเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่, 1 ได้รับการฉีด Engerix B 10 ไมโครกรัม เข้าชั้นผิวหนัง (ID, จำนวน 21 ราย) กลุ่มที่ 2 ฉีด 40 ไมโครกรัม เข้าชั้นกล้ามเนื้อ (IM;จำนวน 19 ราย)รวม 4 ครั้ง ในเดือนที่ 0,1,2 และ 6 ถือว่าระดับแอนติบอดี (AntiHBsAb) ตั้งแต่ 10 mIU/มล ขึ้นไปมีการตอบสนองทางภูมิคุ้มกัน ทำการเจาะเลือดส่งตรวจในเดือนที่, 1,2,6 และ7 และเปรียบเทียบผลการศึกษา ผลการศึกษา ไม่มีความแตกต่างทางสถิติในข้อมูลพื้นฐานทั่วไป ( เพศ, อายุ, นํ้าหนัก, ซีรั่มครีเอตินิน, อัลบูมีน, ฮีมาโตคริต) กลุ่มที่ 1 (ID) มีอัตราการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันใน เดือนที่ 1, 2, 6 และ 7 เท่ากับร้อยละ 14.3, 33.3, 61.9 และ 85.7 ตามลำดับ กลุ่มที 2 (IM) เท่ากับร้อยละ 15.8, 63.2, 84.2 และ 89.6 ตามลำดับ ไม่มีความแตกต่างทางสถิติระหว่าง 2 กลุ่ม P > 0.05 สรุป เป็นการศึกษาแรกที่ทำการฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบ บี เปรียบเทียบระหว่างการฉีดในขนาดตํ่าเข้าชั้นผิวหนัง และฉีดขนาดสองเท่าของปกติเข้าชั้นกล้ามเนื้อ ในผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังในระยะก่อนการล้างไต พบว่าการฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบ บี เข้าชั้นผิวหนังในขนาดตํ่า (10 ไมโครกรัม) มีการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันเท่ากับการฉีดเข้าชั้นกล้ามเนื้อในขนาดเป็นสองเท่าของปกติ (40 ไมโครกรัม) ในเดือนที่ 1,2,6 และ 7 และเป็นการฉีดที่มีความปลอดภัย, สะดวก และประหยัด ขณะนี้กำลังศึกษาติดตามผู้ป่วยเหล่านี้เพื่อดูระยะเวลาในการตอบสนองของภูมิคุ้มกันที่เกิดขึ้น