DSpace Repository

การปรับปรุงคุณภาพเชิงทัศน์ศาลากลางจังหวัดนนทบุรี (หลังเก่า)

Show simple item record

dc.contributor.advisor วิลาสินี สุขสว่าง
dc.contributor.author ชาลิสา บุญมณี
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
dc.date.accessioned 2021-05-14T07:18:14Z
dc.date.available 2021-05-14T07:18:14Z
dc.date.issued 2561
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/73391
dc.description วิทยานิพนธ์ (สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561 en_US
dc.description.abstract ศาลากลางจังหวัดนนทบุรี (หลังเก่า) ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานโดยกรมศิลปากร ในปี พ.ศ. 2524 จากการขยายตัวของเมืองส่งผลให้ทัศนียภาพโดยรอบโบราณสถานแห่งนี้สูญเสียคุณค่าด้านความงามทางภูมิทัศน์ไปอย่างรวดเร็ว วิทยานิพนธ์นี้จึงมีจุดมุ่งหมายเพื่อนำเสนอแนวทางการปรับปรุงคุณภาพเชิงทัศน์ของศาลากลางแห่งนี้ โดยจากการวิเคราะห์และประเมินคุณภาพเชิงทัศน์พบว่าจุดมองสำคัญของโบราณสถานแห่งนี้มีจำนวน 5 จุด และได้นำเสนอแนวทางการออกแบบปรับปรุงคุณภาพเชิงทัศน์ของจุดมองดังกล่าวออกเป็น 3 รูปแบบ ได้แก่ รูปแบบการจัดระเบียบ รูปแบบเรขาคณิต และรูปแบบสวนสาธารณะ จากนั้นจึงได้สร้างภาพจำลองแสดงการปรับปรุงคุณภาพเชิงทัศน์ของแต่ละจุดมองตามแนวทางดังกล่าว ทั้งนี้เพื่อนำไปใช้เป็นภาพตัวแทนภูมิทัศน์สำหรับการประเมินคุณภาพเชิงทัศน์ของจุดมองภายหลังการปรับปรุงในแบบสอบถาม โดยผู้ตอบแบบสอบถามแบ่งออกเป็นกลุ่มคนทั่วไป คนในพื้นที่ และผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบภูมิทัศน์ จำนวนกลุ่มละ 40 คน รวมทั้งสิ้น 120 คน ผลการศึกษาพบว่า รูปแบบสวนสาธารณะเป็นแนวทางที่ได้รับการประเมินว่ามีความสวยงามสูงที่สุด รองลงมาคือรูปแบบเรขาคณิตและรูปแบบการจัดระเบียบตามลำดับ โดยกลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบภูมิทัศน์มักประเมินความสวยงามของภาพตัวแทนภูมิทัศน์ต่ำกว่ากลุ่มคนทั่วไปและคนในพื้นที่ ดังนั้นจึงนำเสนอว่าการปรับปรุงคุณภาพเชิงทัศน์ศาลากลางจังหวัดนนทบุรี (หลังเก่า) ด้วยการออกแบบภูมิทัศน์ในรูปแบบสวนสาธารณะ ประกอบกับการลดพื้นที่ดาดแข็งและเพิ่มพื้นที่ปลูกต้นไม้เพื่อเพิ่มความร่มรื่น การจัดแบ่งพื้นที่เพื่อส่งเสริมกิจกรรมการพักผ่อนหย่อนใจหรือการออกกำลังกายสำหรับคนทุกเพศ ทุกวัย จะสามารถช่วยส่งเสริมความงามของภูมิทัศน์เมืองและเพิ่มคุณค่าของโบราณสถานแห่งนี้อีกด้วย en_US
dc.description.abstractalternative The Old Nonthaburi City Hall was registered as a historic site by the Fine Arts Department of Thailand in 1981. The rapid expansion of urban area has posed a significant effect on the visual quality of the site, specifically reducing its landscape beauty. This research aimed to propose plausible approaches for improving the visual quality of the site. Based on the analysis and assessment of the present visual quality of the site, five key viewpoints were declared. Three approaches for improving the visual quality of the site—1) orderly landscape, 2) formal landscape, and 3) park-like landscape—were proposed. The photomontages were created for using as the representative pictures in the questionnaire in order that the respondents can rate the visual quality of each viewpoint after the improvement by using each of the proposed approach. The respondents included forty non-local people, forty local people, and forty experts in the field of landscape design. The results showed that park-like landscape was the approach most of the respondents preferred, followed by formal landscape and then orderly landscape. Remarkably, the ratings given by experts in the field of landscape design were significantly lower than those of the other two groups of respondents. The research findings suggest the improvement of visual quality of the Old Nonthaburi City Hall by conforming to the park-like landscape appearance. In addition, deceasing hardscape surfaces, increasing softscape areas, planting more trees, and providing spaces for recreational activities are also recommended. These could enhance aesthetic quality of the urban landscape as well as the value of the historic site. en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.relation.uri http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2018.1059
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject การเขียนแบบภูมิทัศน์
dc.subject การออกแบบภูมิทัศน์
dc.subject ภูมิสถาปัตยกรรม
dc.subject Landscape architectural drawing
dc.subject Landscape design
dc.subject Landscape architecture
dc.title การปรับปรุงคุณภาพเชิงทัศน์ศาลากลางจังหวัดนนทบุรี (หลังเก่า) en_US
dc.title.alternative Visual quality improvement of the old Nonthaburi city hall en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name ภูมิสถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.discipline ภูมิสถาปัตยกรรม en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.email.advisor ไม่มีข้อมูล
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.THE.2018.1059


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record