Abstract:
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ในการนำระบบสารสนเทศมาประยุกต์ใช้ประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม โดยเลือกพื้นที่โครงการสะพานพระราม 8 เป็นกรณีศึกษา ในการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมได้เลือกศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม 3 ด้าน คือ ผลกระทบด้านเสียง การใช้ที่ดินและทัศนียภาพ ซึ่งเป็นผลกระทบจากสิ่งแวดล้อมที่สำคัญจากการจราจรที่หนาแน่นในกรุงเทพฯ และมักไม่ได้รับการแก้ไข ประชาชนในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบต้องอยู่ในสภาวะจำยอมการประเมินผลกระทบเพื่อป้องกันปัญหาตั้งแต่ก่อนดำเนินโครงการใช้จึงเป็นสิ่งสำคัญ ในการศึกษาผลกระทบด้านเสียงใช้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ของ FHWA พบว่า เดิมก่อนมีโครงการค่าระดับเสียง คือ 79 เดซิเบส(เอ) และจากการคาดการณ์ระดับเสียงของโครงการสะพานพระราม 8 เมื่อเปิดให้มีการจราจรแล้ว จะมีระดับเสียงสูงสุดบริเวณรีมขอบเส้นทางของโครงการประมาณ 88 เดซิเบส(เอ) ซึ่งสูงขึ้น 9 เดซิเบส(เอ) ในการประเมินผลกระทบการใช้ที่ดินโดยใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ พบว่า การใช้ที่ดินบริเวณพื้นที่โครงการฯ จะได้รับผลกระทบจากเสียงเมื่อโครงการฯ เปิดใช้ จากการวางซ้อนของแผ่นข้อมูลแผนที่พบว่า พื้นที่ 2 ข้างทางโครงการฯในระยะ 75 เมตรจะได้รับผลกระทบจากเสียง ส่วนใหญ่มีกิจกรรมที่ไวต่อการรับผลกระทบจากเสียง เช่น ที่อยู่อาศัย สถาบันศาสนา สถานพยาบาล และโรงเรียน ส่วนการประเมินผลกระทบด้านทัศนียภาพจากโครงการฯ พบว่าการออกแบบโครงสร้างสะพานให้เป็นแบบอสมาตร เพื่อลดการบดบังทัศนีย ภาพและรูปแบบที่สวยงามของสะพานทำให้ไม่เกิดผลกระทบด้านลบต่อมุมมอง สรุปคือ ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์สามารถนำมาเป็นเครื่องมือที่เพิ่มประสิทธิภาพในการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมด้านเสียง การใช้ที่ดินและทัศนียภาพได้ และสามารถใช้เป็นพื้นฐานในการพัฒนากับการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมด้านอื่นๆ ต่อไป