Abstract:
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีจุดมุ่งหมายที่จะศึกษาการปรากฏขึ้นและการเปลี่ยนแปลงของภาพลักษณ์ของ ยามาดา นางามาซา ในเอกสารฝ่ายไทยและในเอกสารฝ่ายญี่ปุ่น และผลของภาพลักษณ์ยามาดา นางามาซาที่มีต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยกับบระเทศญี่ปุ่นในคริสต์ศตวรรษที่ 20 โดยมีสมมุติฐานว่าประเทศทั้งสอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งญี่ปุ่นพยายามใช้ยามาดาเป็นสัญลักษณ์ของความสัมพันธ์ที่ดียาวนานกับไทย ภาพลักษณ์ของยามาดา นางามาชาในเอกสารฝ่ายไทยและเอกสารฝ่ายญี่ปุ่นแตกต่างกันมาก ความสนใจของ ญี่ปุ่นต่อยามาดาเกิดขึ้นตั้งแต่สมัยโทะกุงะวะและเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ความสนใจดังกล่าวแบ่งออกเป็นสองช่วงที่สำคัญคือ ช่วง ค.ศ.1888-1893 ซึ่งเป็นช่วงที่ญี่ปุ่นมีแนวความคิดชาตินิยม แนวความคิดแบบเอเชียนิยม และแนวความคิดนันฌินรน (การรุกรานและขยายดินแดนของญี่ปุ่นลงไปทางทิศใต้เป็นสิ่งที่ถูกต้อง) ภาพลักษณ์ของยามาดาจึงถูกสร้างให้เป็นกษัตริย์สยาม ช่วงที่สองคือช่วง ค,ศ.1940-1945 ซึ่งเป็นช่วงที่ญี่ปุ่นมีนโยบายวงไพบูลย์มหาเอเชียบูรพา ในช่วงนี้ภาพลักษณ์ ยามาดาได้รับการยกย่องว่าเป็นวีรบุรุษในการเดินทางสู่ทิศใต้ ขณะที่ญี่ปุ่นให้ความสนใจกับเรื่องราวของยามาดาอย่างมาก แต่ฝ่ายไทยไม่ได้ให้ความสนใจยามาดามากนัก ภาพของยามาดาจะปรากฎในลักษณะเป็นเพียงหัวหน้าอาสาสมัครญี่ปุ่น และเป็นเครื่องมือสำคัญในการแย่งชิงอำนาจของพระมหากษัตริย์หรือขุนนางไทยเท่านั้น ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับญี่ปุ่นมีความแน่นแฟ้นมากขึ้นตั้งแต่ทศวรรษ 1930 ฝ่ายทหารเรือญี่ปุ่นถือว่า นโยบายนันฌินรนมีความสำคัญมาก เพราะดินแดนทางใต้เป็นแหล่งทรัพยากรที่สมบูรณ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเดือนสิงหาคม ค.ศ.1936 รัฐบาลญี่ปุ่นได้ยอมรับว่านันฌินรนเป็นนโยบายหลัก ในระยะเวลาดังกล่าวนี้สมาคมญี่ปุ่น-สยาม ในกรุงเทพมหานครมีส่วนสำคัญในการสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างไทยกับญี่ปุ่น โดยพยายามที่จะสร้างอนุสรณ์สถานของยามาดาที่หมู่บ้านญี่ปุ่น จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ความพยายามดังกล่าวนี้แสดงให้เห็นว่ายามาดาเป็นสัญลักษณ์ของความสัมพันธ์อันยาวนานระหว่างประเทศทั้งสองตลอดระยะเวลา 300 ปี หลังจากนั้นชื่อของยามาดาไม่ได้รับการกล่าวถึงมากนัก จนกระทั่งหลังสงครามโลกครั้งที่สอง จึงมีการรื้อฟื้นที่จะสร้างอนุสรณ์สถานยามาดาอีกครั้งหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน ค.ศ. 1987 มีโครงการศูนย์ศึกษาประวัติศาสตร์ที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และโครงการสร้าง อนุสรณ์ลทานยามาดาจังหวัดนครศรีธรรมราชซึ่งโครงการทั้งสองสะท้อนให้เห็นถึงภาพลักษณ์ของยามาดา นางามาซา ว่า เป็นวีรบุรุษในใจของคนญี่ปุ่นและเป็นสาเหตุที่คนไทยมองว่าเป็นการแทรกแซงทางวัฒนธรรมไทยของคนญี่ปุ่น