DSpace Repository

การศึกษาการใช้พฤติกรรมบำบัดต่อพฤติกรรมก้าวร้าวของเด็กสมาธิสั้น โรงพยาบาลยุวประสาทไวทโยปถัมภ์

Show simple item record

dc.contributor.advisor จินตนา ยูนิพันธุ์
dc.contributor.author เสาวลักษณ์ ทรัพย์ประเสริฐ
dc.date.accessioned 2021-07-11T11:26:41Z
dc.date.available 2021-07-11T11:26:41Z
dc.date.issued 2549
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/74418
dc.description สารนิพนธ์ (พย.ม.) -- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549 en_US
dc.description.abstract การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมก้าวร้าวของเด็กสมาธิสั้น ก่อนและหลังการใช้พฤติกรรมบำบัด กลุ่มตัวอย่างคือ เด็กสมาธิสั้นที่มีพฤติกรรมก้าวร้าวที่เข้ารับการรักษาแบบผู้ป่วยนอก ของโรงพยาบาลยุวประสาทไวทโยปถัมภ์ จังหวัดสมุทรปราการ จำนวน 22 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ แนวปฏิบัติทางคลินิกเรื่องพฤติกรรมบำบัดในเด็กสมาธิสั้นสำหรับพยาบาล คู่มือการดำเนินการใช้พฤติกรรมบำบัดในเด็กสมาธิสั้น และคู่มือการสอนบิดา มารดา / ผู้ดูแล เรื่องพฤติกรรมบำบัด ในเด็กสมาธิสั้นและแบบสังเกตพฤติกรรมก้าวร้าว เครื่องมือทุกฉบับได้รับการตรวจสอบความตรงตาม เนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน ค่าความเที่ยงของแบบสังเกตพฤติกรรมก้าวร้าวของเด็กสมาธิสั้น เท่ากับ .80 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยายและสถิติ ANOVA ผลการศึกษาที่สำคัญ สรุปได้ดังนี้ พฤติกรรมก้าวร้าวของเด็กสมาธิสั้น หลังการใช้พฤติกรรมบำบัดสัปดาห์แรกน้อยกว่าก่อนการใช้พฤติกรรมบำบัด และพฤติกรรมก้าวร้าวของเด็กสมาธิสั้นหลังการทดสอบ 2 สัปดาห์น้อยกว่าหลังการทดลองสัปดาห์แรกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
dc.description.abstractalternative The purpose of this study was to compare aggressive behavior of children with attention deficit/ hyperactivity disorder (ADHD) before and after using the behavior therapy. Study sample was twenty - two aggressive children with Attention-deficit/ hyperactivity disorder, which were treated as out-patients of Yuwaprasartwaithayopatum in Samutprakan province. The instruments used in this study were; a clinical nursing practice guideline a manual on the use of behavior therapy in children with ADHD for nurse, a nurses teaching manual for parents on behavior therapy. And an aggressive behavior assessment scale. All instruments were content validated by a panel of 5 experts. The reliability of the scale was .80. Descriptive statistics and ANOVA was used in data analysis. The major finding were as follows: The aggressive behavior of children with ADHD 1 week after using the behavior therapy program was significantly less than before using the program, at the .05 level. The aggressive behavior of children with ADHD 2 weeks was also less than 1 week after using the program, at the .05 level.
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.relation.uri http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.2137
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject ความก้าวร้าวในเด็ก -- ไทย en_US
dc.subject เด็กสมาธิสั้น -- การปรับพฤติกรรม en_US
dc.subject Aggressiveness in children -- Thailand en_US
dc.subject Attention-deficit-disordered children -- Behavior modification en_US
dc.title การศึกษาการใช้พฤติกรรมบำบัดต่อพฤติกรรมก้าวร้าวของเด็กสมาธิสั้น โรงพยาบาลยุวประสาทไวทโยปถัมภ์ en_US
dc.title.alternative A study of using behavior therapy aggressive behaviors of children with attention-deficit/hyperactivity disorder, Yuwaprasartwaithayopathum Hospital en_US
dc.type Independent Study en_US
dc.degree.name พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.discipline การพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.email.advisor Jintana.Y@Chula.ac.th
dc.identifier.DOI 10.14457/CU.the.2006.2137


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

  • Nurse - Independent Studies [132]
    โครงการการศึกษาอิสระ คณะพยาบาลศาสตร์

Show simple item record