dc.contributor.advisor |
ชฎิล โรจนานนท์ |
|
dc.contributor.author |
จิรเมธ แสงไกร |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2021-07-13T03:21:05Z |
|
dc.date.available |
2021-07-13T03:21:05Z |
|
dc.date.issued |
2563 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/74436 |
|
dc.description |
สารนิพนธ์ (รป.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563 |
|
dc.description.abstract |
การศึกษาผลกระทบของการปฏิรูปโครงสร้างภาษีทางอ้อมของอินเดีย ที่เป็นโอกาสต่อนักลงทุนไทยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบโครงสร้างภาษีทางอ้อมเดิมของอินเดียกับภาษีสินค้าและบริการ ศึกษาว่าการจัดเก็บภาษีสินค้าและบริการ (Goods and Services Tax : GST) สามารถส่งเสริมการลงทุนด้านการผลิตภายในอินเดียอย่างไร และเป็นข้อมูลสำหรับการตัดสินใจของผู้ประกอบการไทยถึงความคุ้มค่าในการลงทุนดำเนินกิจการที่ไทยมีความเชี่ยวชาญในประเทศอินเดีย โดยการศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงผสมระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงปริมาณ (Qualitative Research) ที่ทำการศึกษาเอกสารทางวิชาการ ประกาศของรัฐบาลอินเดีย รวมถึงข้อมูลข่าวสารจากอินเทอร์เน็ต ควบคู่กับการสัมภาษณ์เชิงลึกจากบุคคลเป้าหมาย เพื่อสร้างตัวแบบคำนวณภาระทางภาษีของภาษีทางอ้อม โดยเปรียบเทียบระหว่างก่อนและหลังการจัดเก็บภาษีสินค้าและบริการของอินเดีย พบว่า การจัดเก็บภาษีสินค้าและบริการ เป็นไปตามหลักการจัดเก็บภาษีที่ดี ซึ่งเป็นภาษีที่มีความเรียบง่าย (Simple) ฐานภาษีกว้าง (Tax base) และอัตราภาษีต่ำ (Low Rate) มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเปรียบเทียบกับระบบการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีทางอ้อมอื่น ๆ เดิม รวมทั้งมีการนำระบบเครดิตภาษี (Input Tax Credit : ITC) มาใช้ ส่งผลให้ราคาสินค้าและบริการในอินเดียมีแนวโน้มถูกลง การประกาศใช้ภาษีดังกล่าวเป็นหนึ่งในมาตรการภายใต้การดำเนินนโยบาย Make in India ที่จะดึงดูดให้นักลงทุนมาลงทุนในอินเดียมากขึ้น และจะเป็นโอกาสสำคัญให้ผู้ประกอบการ
ชาวไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มอุตสาหกรรมการเกษตร การแปรรูปอาหาร การบริการด้านการท่องเที่ยว รวมถึงกลุ่มอุตสาหกรรมด้านการแพทย์ ให้สามารถขยายการลงทุนไปยังอินเดีย เพื่อสร้างรายได้ให้กับประเทศไทยมากขึ้น |
|
dc.description.abstractalternative |
The Study of Indian indirect tax reformation which create opportunities for Thai entrepreneur aim to compare Indian indirect tax structure before and after implementing Goods and Services Tax (GST). The research mainly focusses on how GST boost investment in India. So, it can be one of knowledge for Thai to investor to invest in India. The research used mix methodology approach, both Quantitative and Qualitative method, to create indirect tax calculation model. The paper found that GST complied to a good collective tax theory which consisted of simple tax system, wide tax base and low-rate tax. Moreover, it uses Input tax credit (ITC) system that can bring price of goods and services in India cheaper. The GST is part of Make in India initiatives to attract more investment into India. And it will be opportunities for Thai investor to invest in field of agriculture, food process, services, and hospitality. So that can bring more income to Thai economy. |
|
dc.language.iso |
th |
|
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.relation.uri |
http://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2020.387 |
|
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.subject |
การลงทุน -- ภาษี |
|
dc.subject |
ภาษีทางอ้อม |
|
dc.subject |
ภาษีมูลค่าเพิ่ม |
|
dc.subject |
การลงทุนของไทย -- อินเดีย |
|
dc.subject |
อินเดีย -- นโยบายเศรษฐกิจ |
|
dc.subject |
Investments -- Taxation |
|
dc.subject |
Indirect taxation |
|
dc.subject |
Value-added tax |
|
dc.subject |
Investments, Thai -- India |
|
dc.subject |
India -- Economic policy |
|
dc.subject.classification |
Social Sciences |
|
dc.title |
การศึกษาผลกระทบของการปฏิรูปโครงสร้างภาษีทางอ้อมของอินเดีย ที่เป็นโอกาสต่อนักลงทุนไทย |
|
dc.title.alternative |
The study of Indian indirect tax reformation which create opportunities for Thai entrepreneur |
|
dc.type |
Independent Study |
|
dc.degree.name |
รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต |
|
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
|
dc.degree.discipline |
รัฐประศาสนศาสตร์ |
|
dc.degree.grantor |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.identifier.DOI |
10.58837/CHULA.IS.2020.387 |
|