dc.contributor.advisor |
วงอร พัวพันสวัสดิ์ |
|
dc.contributor.author |
พรชนก พินิจปริญญา |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2021-07-13T03:21:22Z |
|
dc.date.available |
2021-07-13T03:21:22Z |
|
dc.date.issued |
2563 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/74464 |
|
dc.description |
สารนิพนธ์ (รป.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563 |
|
dc.description.abstract |
การวิจัยชิ้นนี้ต้องการตอบคำถามที่ว่ากลไกการประเมินการเป็นองค์กรคุณธรรมมีประสิทธิผลในการสร้างธรรมาภิบาลให้แก่สำนักงบประมาณมากน้อยเพียงใด และรูปแบบการสร้างธรรมาภิบาลให้แก่หน่วยงานราชการไทยควรมีลักษณะอย่างไร โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ได้แก่ การเก็บข้อมูลจากเอกสารของหน่วยงานและการสัมภาษณ์ผู้ปฏิบัติงานและผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้เกี่ยวกับกลไกการประเมินองค์กรคุณธรรมภาครัฐ และมีประสบการณ์ในการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาลของสำนักงบประมาณ จำนวนรวม 9 คน โดยมีข้อค้นพบจากงานวิจัยฉบับนี้ คือ กลไกการประเมินการเป็นองค์กรคุณธรรมมีทั้งส่วนที่ได้รับการการวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับการส่งผลต่อการมีประสิทธิผลในการสร้างธรรมาภิบาล อาทิ การประเมินเป็นการเพิ่มภาระงานโดยมิจำเป็น และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องไม่ได้ให้ความสำคัญกับการขับเคลื่อนการประเมินองค์การคุณธรรมเท่าที่ควร ในขณะที่บางส่วนสนับสนุนว่ากลไกการประเมินการเป็นองค์กรคุณธรรมมีส่วนในการเพิ่มประสิทธิผลในการสร้างธรรมาภิบาลให้แก่หน่วยงาน เนื่องจากการประเมินคุณธรรมก่อให้เกิดการขับเคลื่อนกิจกรรมใหม่ๆ นอกเหนือจากงานที่รับผิดชอบอยู่เดิม โดยที่เป็นกิจกรรมที่เป็นการสร้างคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาลในหมู่ข้าราชการ และการมีส่วนช่วยให้การจัดสรรงบประมาณของสำนักงบประมาณจำกัดการใช้ดุลพินิจลง นอกจากนี้ ยังค้นพบรูปแบบการสร้างธรรมาภิบาลที่เหมาะสมแก่หน่วยงานราชการไทย โดยมีข้อเสนอแนะ ได้แก่ 1) ควรมีการบูรณาการระหว่างหน่วยงานกลางที่เป็นผู้รับผิดชอบในแต่ละการประเมินโดยเฉพาะสำนักงาน ก.พ. ควรเป็นศูนย์กลาง (centre) ในการดำเนินการเรื่องดังกล่าวเนื่องจากเป็นผู้รับผิดชอบหลัก ในการบังคับใช้ พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535 โดยที่กฎหมายดังกล่าวกำหนดให้ส่วนราชการจะต้องไปกำหนดจรรยาบรรณของข้าราชการเพื่อเป็นประมวลความประพฤติในการสร้างคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาลภายในหน่วยงาน รวมทั้ง มีบทกำหนดโทษทางวินัยและอาญาที่ชัดเจนกรณีพบการฝ่าฝืนจรรยาบรรณดังกล่าวและ 2) ควรมีการเปิดโอกาสให้บุคลากรภายในหน่วยงานมีส่วนร่วมในการดำเนินการประเมินองค์กรคุณธรรมของหน่วยงานของตนเองให้มากที่สุด |
|
dc.description.abstractalternative |
The research aims to answer about how assessment of the morals in Organization build up the good governance in Budget Bureau and what kinds of the mobilization of Morality, Ethics and Good Governance are proper to the organizations. The research methodology is qualitative method involved documentary research and in-depth interviews with a ninth specialist of assessment of the morals organization in Budget Bureau. The study found that there are many feedback about assessment of the morals in organization. First of all, it tends to make over unnecessary workloads for public officers. Second, executive and officer are not attend to activities about that. In contrast, there are many people believe that assessment of the morals in Organization building up the good governance in Thai public organizations because it has many activities for mobilization of morality, ethics and good governance as well as controls abuse of discretion. Following are recommendations from the study: The government should integrate between departments to set indicator of assessment of the morals Organization in the same way and promote participation in process of creating assessment of the morals Organization. |
|
dc.language.iso |
th |
|
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.relation.uri |
http://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2020.357 |
|
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.subject |
ธรรมรัฐ |
|
dc.subject |
ข้าราชการพลเรือน -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ |
|
dc.subject |
Good governance |
|
dc.subject |
Public officers -- Law and legislation |
|
dc.subject.classification |
Social Sciences |
|
dc.title |
การขับเคลื่อนคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาลของหน่วยงานภาครัฐไทยผ่านกลไกการประเมินองค์กรคุณธรรม: กรณีศึกษา สำนักงบประมาณ |
|
dc.title.alternative |
Moral organization assessment as a measure to improve governancein the public sector: a case study of budget bureau |
|
dc.type |
Independent Study |
|
dc.degree.name |
รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต |
|
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
|
dc.degree.discipline |
รัฐประศาสนศาสตร์ |
|
dc.degree.grantor |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.identifier.DOI |
10.58837/CHULA.IS.2020.357 |
|