Abstract:
การศึกษาครั้งนี้เป็นการดำเนินโครงการศึกษาอิสระ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบภาระ การดูแลของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทในชุมชน อำเภอไทรน้อย จังหวัดนนทบุรี ก่อนและหลังการใช้ โปรแกรมสุขภาพจิตศึกษาครอบครัว กลุ่มตัวอย่างคือ ครอบครัวผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทในชุมชนในเขต อำเภอไทรน้อย จังหวัดนนทบุรี ซึ่งได้รับการคัดเลือกแบบเจาะจงตามคุณสมบัติที่กำหนดไว้ จำนวน 20 ครอบครัว เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือ โปรแกรมสุขภาพจิตศึกษาครอบครัวซึ่งพัฒนา โดยจิราพร รักการ(2549) ตามแนวคิดของ Anderson et al.(1980) เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้ แบบ วัดภาระการดูแล เครื่องมือกำกับการศึกษา คือ แบบสอบถามความรู้สำหรับผู้ดูแลและผู้ป่วย ซึ่งเครื่องมือทุกชุดได้รับการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 ท่าน เครื่องมือ 3 ชุดหลังมีค่าความเที่ยงสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาค เท่ากับ .92 และ KR-20 เท่ากับ .86 และ .85 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบความแตกต่างของภาระการดูแลก่อนและหลัง ดำเนินโครงการโดยใช้สถิติทดสอบที (Dependent t-test) ผลการศึกษาที่สำคัญ สรุปได้ดังนี้ คะแนนภาระในการดูแลผู้ป่วยจิตเภทของผู้ดูแลทั้งโดยรวม และ รายด้าน คือ ภาระเชิง ปรนัยและเชิงอัตนัย หลังการใช้โปรแกรมสอนสุขภาพจิตศึกษาครอบครัวต่ำกว่าก่อนใช้โปรแกรม สอนสุขภาพจิตศึกษาครอบครัวอย่างมีใวัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (t= 19.47, 17.10 และ 13.11 ตามลำดับ)