Abstract:
การศึกษาครั้งนี้เป็นการดำเนินโครงการศึกษาอิสระ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมการใช้ยาตามเกณฑ์การรักษาของผู้ป่วยจิตเภทในชุมชน อำเภอบ้านหมอ จังหวัดสระบุรี ก่อนและหลังเข้าร่วมโปรแกรมสุขภาพจิตศึกษาครอบครัว กลุ่มตัวอย่างคือครอบครัวผู้ป่วยจิตเภท ในชุมชนเขตอำเภอบ้านหมอ จังหวัดสระบุรี ซึ่งได้รับการคัดเลือกแบบเจาะจงตามคุณสมบัติที่กำหนดไว้ จำนวน 20 ครอบครัว เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือ โปรแกรมสุขภาพจิตศึกษาครอบครัวซึ่งได้พัฒนามาจากจิราพร รักการ (2549) ตามแนวคิดของ Anderson, Hogarty & Reiss (1980) ประกอบด้วย 5 กิจกรรม ได้แก่ 1) การสร้างความสัมพันธ์กับครอบครัว (joining) 2) การให้ความรู้ครอบครัวเกี่ยวกับการเจ็บป่วยทางจิต (family education) 3) การฝึกทักษะในการแก้ปัญหา (problem solving skills) 4) การพัฒนาทักษะการเผชิญความเครียด (coping skills) และ 5) การ ค้นหาแหล่งสนับสนุนทางสังคม (social support) เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบวัดพฤติกรรมการใช้ยาตามเกณฑ์การรักษา ซึ่งเครื่องมือทุกชุดได้รับการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 ท่าน โดยแบบวัดพฤติกรรมการใช้ยาตามเกณฑ์การรักษาของผู้ป่วยจิตเภท มีค่าความเที่ยงสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาค เท่ากับ .83 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบความแตกต่างของพฤติกรรมการใช้ยาตามเกณฑ์การรักษา ก่อนและหลังดำเนินโครงการโดยใช้สถิติทดสอบที (Dependent t-test ) ผลการศึกษาที่สำคัญ สรุปได้ดังนี้ พฤติกรรมการใช้ยาตามเกณฑ์การรักษา ของผู้ป่วยจิตเภท หลังการใช้โปรแกรมการสอน สุขภาพจิตศึกษาครอบครัวดีขึ้นกว่าก่อนใช้โปรแกรมการสอนสุขภาพจิตศึกษาครอบครัวอย่างมี นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (x̅ = 50.45, S.D. =4.77 และ x̅= 61.30, S.D. = 3.27 ตามลำดับ, t = -14.57)