DSpace Repository

การศึกษาการใช้โปรแกรมสุขภาพจิตศึกษาครอบครัวต่อพฤติกรรมการใช้ยา ตามเกณฑ์การรักษาของผู้ป่วยจิตเภทในชุมชน อำเภอบ้านหมอ จังหวัดสระบุรี

Show simple item record

dc.contributor.advisor เพ็ญพักตร์ อุทิศ
dc.contributor.author กนกวรรณ กันยาสาย
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
dc.coverage.spatial จังหวัดสระบุรี
dc.date.accessioned 2021-08-06T05:37:06Z
dc.date.available 2021-08-06T05:37:06Z
dc.date.issued 2552
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/74796
dc.description วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552 en_US
dc.description.abstract การศึกษาครั้งนี้เป็นการดำเนินโครงการศึกษาอิสระ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมการใช้ยาตามเกณฑ์การรักษาของผู้ป่วยจิตเภทในชุมชน อำเภอบ้านหมอ จังหวัดสระบุรี ก่อนและหลังเข้าร่วมโปรแกรมสุขภาพจิตศึกษาครอบครัว กลุ่มตัวอย่างคือครอบครัวผู้ป่วยจิตเภท ในชุมชนเขตอำเภอบ้านหมอ จังหวัดสระบุรี ซึ่งได้รับการคัดเลือกแบบเจาะจงตามคุณสมบัติที่กำหนดไว้ จำนวน 20 ครอบครัว เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือ โปรแกรมสุขภาพจิตศึกษาครอบครัวซึ่งได้พัฒนามาจากจิราพร รักการ (2549) ตามแนวคิดของ Anderson, Hogarty & Reiss (1980) ประกอบด้วย 5 กิจกรรม ได้แก่ 1) การสร้างความสัมพันธ์กับครอบครัว (joining) 2) การให้ความรู้ครอบครัวเกี่ยวกับการเจ็บป่วยทางจิต (family education) 3) การฝึกทักษะในการแก้ปัญหา (problem solving skills) 4) การพัฒนาทักษะการเผชิญความเครียด (coping skills) และ 5) การ ค้นหาแหล่งสนับสนุนทางสังคม (social support) เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบวัดพฤติกรรมการใช้ยาตามเกณฑ์การรักษา ซึ่งเครื่องมือทุกชุดได้รับการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 ท่าน โดยแบบวัดพฤติกรรมการใช้ยาตามเกณฑ์การรักษาของผู้ป่วยจิตเภท มีค่าความเที่ยงสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาค เท่ากับ .83 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบความแตกต่างของพฤติกรรมการใช้ยาตามเกณฑ์การรักษา ก่อนและหลังดำเนินโครงการโดยใช้สถิติทดสอบที (Dependent t-test ) ผลการศึกษาที่สำคัญ สรุปได้ดังนี้ พฤติกรรมการใช้ยาตามเกณฑ์การรักษา ของผู้ป่วยจิตเภท หลังการใช้โปรแกรมการสอน สุขภาพจิตศึกษาครอบครัวดีขึ้นกว่าก่อนใช้โปรแกรมการสอนสุขภาพจิตศึกษาครอบครัวอย่างมี นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (x̅ = 50.45, S.D. =4.77 และ x̅= 61.30, S.D. = 3.27 ตามลำดับ, t = -14.57)
dc.description.abstractalternative The purpose of this study was to compare medication adherence behaviors of schizophrenic patients in community, Banmoh district, Saraburi province, before and after the utilization of family psychoeducation program. A purposive sample of 20 family of schizophrenic patients from the responsible area Banmoh district, Sarabun province, of who met the inclusion criteria were recruited. The instrument utilized in this study was a family psychoeducation program which was developed by Jirapom Rakkam (2549) based on Anderson’s psychoeducation concept (1980). The program consisted of 5 activities: 1) joining; 2) family education; 3) problem solving skills; 4) coping skills; and 5) social support. Data collection instruments was the medication adherence scale. All instruments were examined for content validity by 3 experts. The Chronbach Alpha coefficient reliability of the medication adherence scale was 0.83. Paired t- test was used in data analysis. Major findings were as follows : Medication adherence behaviors of patients with schizophrenia in community after using the family psychoeducation program was significantly higher than that before using such program, at the p .05 level (x̅ = 50.45, S.D.= 4.77 and x̅ = 61.30, S.D.= 3.27 respectively, t=-14.57).
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject ผู้ป่วยจิตเภท -- การรักษา en_US
dc.subject ความวิตกกังวล en_US
dc.subject ครอบครัว -- สุขภาพจิต en_US
dc.subject การรักษาด้วยยา
dc.subject Schizophrenics -- Treatment
dc.subject Anxiety
dc.subject Families -- Mental health
dc.title การศึกษาการใช้โปรแกรมสุขภาพจิตศึกษาครอบครัวต่อพฤติกรรมการใช้ยา ตามเกณฑ์การรักษาของผู้ป่วยจิตเภทในชุมชน อำเภอบ้านหมอ จังหวัดสระบุรี en_US
dc.title.alternative A study of using family psychoeducation program on medication adherence behaviors of schizophrenic patient in community, Banmoh district, Saraburi Province en_US
dc.type Independent Study en_US
dc.degree.name พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.discipline การพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

  • Nurse - Independent Studies [132]
    โครงการการศึกษาอิสระ คณะพยาบาลศาสตร์

Show simple item record