DSpace Repository

การศึกษาการให้คำปรึกษาแบบพิจารณาเหตุผลและอารมณ์ต่อภาวะซึมเศร้าของผู้ที่พยายามฆ่าตัวตาย โรงพยาบาลศรีมหาโพธิ จังหวัดปราจีนบุรี

Show simple item record

dc.contributor.advisor อรพรรณ ลือบุญธวัชชัย
dc.contributor.author รพีพร อ่อนกุล
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
dc.coverage.spatial ปราจีนบุรี
dc.date.accessioned 2021-08-06T14:53:57Z
dc.date.available 2021-08-06T14:53:57Z
dc.date.issued 2552
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/74825
dc.description สารนิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552 en_US
dc.description.abstract การศึกษาครั้งนี้เป็นการดำเนินโครงการศึกษาอิสระ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบภาวะซึมเศร้าของผู้พยายามฆ่าตัวดายก่อนและหลังการให้คำปรึกษาแบบพิจารณาเหตุผลและอารมณ์ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้พยายามฆ่าตัวตาย จำนวน 20 คน ได้จากการคัดเลือกแบบเจาะจงตามเกณฑ์คุณสมบัติจากผู้พยายามฆ่าตัวตายซึ่งมารับบริการที่ หน่วยงานสุขภาพจิต โรงพยาบาลศรีมหาโพธิ กลุ่มตัวอย่างได้รับโปรแกรมการให้คำปรึกษาแบบพิจารณาเหตุผลและอารมณ์ เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย โปรแกรมการให้คำปรึกษาแบบพิจารณาเหตุผลและอารมณ์ ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบวัดภาวะซึมเศร้าของ Beck (1991) มีค่าความเชื่อมั่นโดยใช้สัมประสิทธิ์แอลฟา ตามวิธีของคอนบราค เท่ากับ .80 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การคำนวณค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ใช้สถิติทดสอบค่าที (paired t - test)โดยกำหนดค่าระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการศึกษาที่สำคัญ สรุปได้ดังนี้ ค่าคะแนนเฉลี่ยของภาวะมเศร้าหลังการให้คำปรึกษาแบบพิจารณาเหตุผลและอารมณ์ ต่ำกว่าก่อนการให้คำปรึกษาแบบพิจารณาเหตุผลและอารมณ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
dc.description.abstractalternative The purpose of this independent study project was to study depression of suicidal attempters before and after using rational emotive counseling program. The sample of 20 suicidal attempters who met the inclusion criteria were purposively recruited from the medical wards, Srimahaphot Hospital, Prachinburi Province. The instrument used in this study was the rational emotive counseling program. emphasizing rational emotive therapy. which was validated by three professional experts. Data were collected using the modified Beck Depression Inventory. The Cronbach's Alpha coefficient reliability for the inventory was .80. The data were analyzed using percentage, mean, standard deviation and paired t -tests. Major findings were as follows : That mean depression scores of suicidal attempters after using rational emotive counseling program were significantly lower than before using this program at .05 level.
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject การให้คำปรึกษา en_US
dc.subject การแนะแนวสุขภาพจิต
dc.subject ความซึมเศร้า
dc.subject พฤติกรรมฆ่าตัวตาย
dc.subject Counseling
dc.subject Mental health counseling
dc.subject Depression, Mental
dc.subject Suicidal behavior
dc.title การศึกษาการให้คำปรึกษาแบบพิจารณาเหตุผลและอารมณ์ต่อภาวะซึมเศร้าของผู้ที่พยายามฆ่าตัวตาย โรงพยาบาลศรีมหาโพธิ จังหวัดปราจีนบุรี en_US
dc.title.alternative A study of using rational emotive counseling program on depression of suicidal attempters, Srimahaphot Hospital, Prachinburi Province en_US
dc.type Independent Study en_US
dc.degree.name พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.discipline การพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

  • Nurse - Independent Studies [132]
    โครงการการศึกษาอิสระ คณะพยาบาลศาสตร์

Show simple item record