DSpace Repository

การพยากรณ์ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ของกรมชลประทาน

Show simple item record

dc.contributor.advisor มานพ วราภักดิ์
dc.contributor.author วราภรณ์ เล้ารัตนานุรักษ์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี
dc.date.accessioned 2021-08-07T05:35:22Z
dc.date.available 2021-08-07T05:35:22Z
dc.date.issued 2542
dc.identifier.isbn 9743328092
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/74827
dc.description วิทยานิพนธ์ (สต.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542 en_US
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาหาวิธีการพยากรณ์ที่เหมาะสมสำหรับการพยากรณ์ข้อมูลปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ของกรมชลประทาน และต้องการหาตัวแบบพยากรณ์ที่ให้ค่าพยากรณ์ที่มีความคลาดเคลื่อนต่ำ โดยศึกษาเปรียบเทียบวิธีการพยากรณ์ 4 วิธี โดยการพิจารณาค่าเฉลี่ยของเปอร์เซ็นต์ค่าความคลาดเคลื่อนสัมบูรณ์ วิธีการพยากรณ์ 4 วิธี ได้แก่ วิธีการพยากรณ์ด้วยวิธีการถดถอย เทคนิคการปรับให้เรียบ วิธีการแยกองค์ประกอบ และวิธีการของบ็อกซ์ -เจนกินส์ ในการวิจัยครั้งนี้ใช้ข้อมูลทุติยภูมิที่รวบรวมมาจากฝ่ายจัดสรรน้ำ สำนักอุทกวิทยาและบริหารน้ำ กรมชลประทาน เป็นข้อมูลอนุกรมเวลารายเดือน ในช่วงปี 2530 – 2540 ผลการศึกษาเปรียบเทียบข้อมูลที่วิเคราะห์ได้ว่า วิธีการถดถอยเหมาะสมกว่าวิธีอื่น ๆ ที่นำมาศึกษาเปรียบเทียบสำหรับข้อมูลปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ของกรมชลประทาน ซึ่งสามารถสรุปผลเป็นตัวแบบได้ดังนี้ Ŷt = β0 + β1 Yt-1 + β2 X1,t-1 + β3 X2,t-1 [ Symbol] โดยที่ Ŷt = ค่าพยากรณ์ของปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำ ณ ต้นเดือน t Y t-1 = ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำ ในเดือน t-1 X 1,t-1= ปริมาณน้ำไหลลงอ่างเก็บน้ำ ในเดือน t-1 X 2,t-1= ปริมาณน้ำระบายท้ายเขื่อน ในเดือน t- 1 ค่าคงที่ ( Beta ) และค่าสัมประสิทธิ์ ( Beta) จะมีค่าเปลี่ยนแปลงไปตามข้อมูลของแต่ละอ่างเก็บน้ำ และความแม่นยำของการพยากรณ์จะขึ้นอยู่กับการกำหนดค่าของตัวแปรอิสระด้วย
dc.description.abstractalternative The objective of this study is to find the appropriate forecasting methods and models for forecasting water quantity in the large tank of the Royal Irrigation Department. The Mean Absolute Percentage Error of forecasting is utilized to measure the accuracy of the forecasting method, and to find the forecasting models that appropriate for the data in each water tank. The forecasting methods under consideration are regression method, smoothing method, decomposition method and Box - Jenkins method. The data are collected from Water Coordinate Branch, Office of Hydrology & Water Management, The Royal Irrigation Department during 1987- 1997. The result of this study indicates that regression method is the most appropriate method. The finding can be concluded as follows: [ Symbol] Where Ŷt is the forecasting value of water quantity in the tank at the beginning of the month t. Yt-1 is water quantity in the tank in month t - 1. X1,t-1 is inflow water quantity in month t - 1. X2,t-1 is outflow water quantity in month t-1. The constant values [Beta] and the regression coefficients varied [Beta], depending on each water tank. However, the accuracy of the forecast also depends on the pre - determined of independent variables.
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.relation.uri http://doi.org/10.14457/CU.the.1999.162
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject สถิติพยากรณ์ en_US
dc.subject การวิเคราะห์การถดถอย en_US
dc.subject แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ en_US
dc.subject ชลประทาน -- ไทย en_US
dc.subject อ่างเก็บน้ำ -- ไทย en_US
dc.subject Regression analysis en_US
dc.subject Mathematical models en_US
dc.subject Irrigation -- Thailand en_US
dc.subject Reservoirs -- Thailand en_US
dc.title การพยากรณ์ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ของกรมชลประทาน en_US
dc.title.alternative Forecasting of water quantity in the large tank of The Royal Irrigation Department en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name สถิติศาสตรมหาบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.discipline สถิติ en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.email.advisor Manop.V@Chula.ac.th
dc.identifier.DOI 10.14457/CU.the.1999.162


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record