Abstract:
การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวันของผู้ป่วยจิตเภท ก่อนและหลังการให้สุขภาพจิตศึกษาแก่ผู้ดูแลและผู้ป่วยจิตเภท กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยจิตเภท สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา จำนวน 20 ราย และผู้ดูแล 20 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ โปรแกรมการให้สุขภาพจิตศึกษาแก่ผู้ดูแลและผู้ป่วยจิตเภท ซึ่งผู้ศึกษาปรับมาจาก การให้สุขภาพจิตศึกษาครอบครัว ของ สุภาภรณ์ ทองดารา (2545) และผ่านการตรวจความตรงเชิงเนื้อหาโดย ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 ท่าน เก็บรวบรวมข้อมูล โดยใช้แบบประเมินความสามารถในการคำเนินชีวิตประจำวัน มีค่าความเที่ยง Cronbach’s AIpha เท่ากับ .84 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบความแตกต่างของความสามารถในการคำเนินชีวิตประจำวัน ของจิตเภทหลังดำเนิน โครงการ โดยใช้สถิติทดสอบที (paired t-test) ผลการศึกษาที่สำคัญ สรุปได้ดังนี้ ความสามารถในการคำเนินชีวิตประจำวันของผู้ป่วยจิตเภท หลังการให้สุขภาพจิตศึกษาแก่ผู้ดูแลและผู้ป่วยจิตเภท สูงกว่าก่อนได้รับการให้สุขภาพจิตศึกษาแก่ผู้ดูแลและผู้ป่วยจิตเภท อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05