DSpace Repository

ผลของบุคลิกภาพแบบหลงตนเอง การเปรียบเทียบทางสังคมและผลป้อนกลับ ต่อการเพิ่มคุณค่าให้ตนเอง

Show simple item record

dc.contributor.advisor คัดนางค์ มณีศรี
dc.contributor.author วันวิสาข์ ฤกษ์ทวี
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะจิตวิทยา
dc.date.accessioned 2021-08-26T12:13:02Z
dc.date.available 2021-08-26T12:13:02Z
dc.date.issued 2549
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/75228
dc.description วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549 en_US
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบอิทธิพลของบุคลิกภาพแบบหลงตนเอง การเปรียบเทียบทางสังคมและผลป้อนกลับว่าประสบความสำเร็จหรือล้มเหลว ต่อการเพิ่มคุณค่าให้ตนเอง ศึกษาในนิสิตนักศึกษาปริญญาตรีจำนวน 578 คน ทำแบบทดสอบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ จำนวนครึ่งหนึ่งทำงานเป็นคู่ (เงื่อนไขเปรียบเทียบ) และอีกครึ่งหนึ่งทำงานเดี่ยว (เงื่อนไขไม่เปรียบเทียบ) จากนั้นให้ทำมาตรวัดความหลงตนเอง อีก 1-2 สัปดาห์ต่อมาผู้ร่วมการทดลองได้รับผลป้อนกลับลวงว่างานที่ทำประสบความสำเร็จหรือล้มเหลวโดยการสุ่ม และให้ประเมินระดับการเพิ่มคุณค่าให้ตนเอง ผลการวิจัย พบว่า 1. บุคคลที่มีบุคลิกภาพแบบหลงตนเองไม่มีปฏิสัมพันธ์กับการเปรียบเทียบ 2. บุคคลที่มีบุคลิกภาพแบบหลงตนเองต่ำมีการเพิ่มคุณค่าให้ตนเองทั้งในสถานการณ์ที่ไม่เกิดการเปรียบเทียบและไม่เกิดการเปรียบเทียบไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 3. บุคคลที่มีบุคลิกภาพแบบหลงตนเองสูงมีการเพิ่มคุณค่าให้ตนเองทั้งในสถานการณ์ที่ไม่เกิดการเปรียบเทียบและสถานการณ์ที่เกิดการเปรียบเทียบไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 4. บุคคลิกภาพแบบหลงตนเองมีปฎิสัมพันธ์กับผลป้อนกลับอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 5. บุคคลที่มีบุคลิกภาพแบบหลงตนเองต่ำเมื่อได้รับผลป้อนกลับทางบวกมีการเพิ่มคุณค่าให้ตนเองสูงกว่าเมื่อได้รับผลป้อนกลับทางลบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และบุคคลที่มีบุคลิกภาพแบบหลงตนเองสูง มีการเพิ่มคุณค่าให้ตนเองเมื่อได้รับผลป้อนกลับทางลบสูงกว่าผลป้อนกลับทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 6. บุคคลที่มีบุคลิกภาพแบบหลงตนเองสูงมีการเพิ่มคุณค่าให้ตนเองสูงกว่าบุคคลที่มีบุคลิกภาพแบบหลงตนเองต่ำอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 en_US
dc.description.abstractalternative The purpose of this study was to examine the influence of narcissistic personality, social comparison, and success or failure feedback on self-enhancement. Five hundred and seventy-eight undergraduate students were asked to work on the analytical ability test, half in pairs (comparative condition) and the other half individually (noncomparative condition). They then complete the measure of narcissism. One to two weeks later, participants received bogus test result in which success or failure feedback was randomly given and their self-enhancement was assessed. Results show that: 1. There is no interaction between narcissism and comparative situation. There is no significant difference in self-enhancement of low narcissists between comparative and noncomparative situations. 3. There is no significant difference in self-enhancement of high narcissists between comparative and noncomparative situations. 4. There is a significant interaction between narcissism and feedback (p.<001). 5. Low narcissists self-enhance after receiving positive feedback more than receiving negative feedback (p.<01), whereas high narcissists self-enhance more after receiving negative feedback (p.<05). 6. High narcissists self-enhance to a greater extent than do low narcissists (p.<001) en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.title ผลของบุคลิกภาพแบบหลงตนเอง การเปรียบเทียบทางสังคมและผลป้อนกลับ ต่อการเพิ่มคุณค่าให้ตนเอง en_US
dc.title.alternative Effects of narcissism, social comparison, and feedback on self-enhancement en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.discipline จิตวิทยาสังคม en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record