Abstract:
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยทางการสื่อสาร ได้แก่ การเปิดรับข่าว สารทางการเมือง ความรู้ทางด้านการเมือง และทัศนคติที่มีต่อการเมืองที่มีผลต่อการตัดสินใจ เลือกผู้นำทางการเมืองของประชาชนในภาวะวิกฤต 2) เพื่อศึกษาถึงความสัมพันธ์ระหว่าง ลักษณะทางประชากรกับปัจจัยทางการสื่อสารทางการเมือง และ 3) เพื่อศึกษาถึงความสัมพันธ์ ระหว่างลักษณะทางประชากรกับเกณฑ์การตัดสินใจในการเลือกผู้นำทางการเมืองของประชาชนในภาวะวิกฤต ในการวิจัยครั้งนี้ใช้แบบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นประชาชนที่มีสิทธิเลือกตั้งในกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย t-test One-Way ANOVA และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และมีการประมวลผลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ปัจจัยทางการสื่อสาร ได้แก่ การเปิดรับข่าวสารทางการเมือง ความรู้ทางด้านการเมือง และทัศนคติที่มีต่อการเมือง มีความสัมพันธ์กับเกณฑ์การตัดสินใจในการเลือกผู้นำทางการเมือง 2. ความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะทางประชากรของกลุ่มตัวอย่างกับตัวแปรต่างๆ พบว่า 2.1 เพศ อายุ การศึกษา อาชีพ และรายได้ มีความสัมพันธ์กับการเปิดรับข่าวสารทางการเมืองจากสื่อมวลชน 2.2 อาชีพ มีความสัมพันธ์กับการเปิดรับข่าวสารทางการเมืองจากสื่อบุคคล 2.3 เพศ มีความสัมพันธ์กับการเปิดรับข่าวสารทางการเมืองจากสื่อเฉพาะกิจ 2.4 เพศ และการลีกษา มีความสัมพันธ์กับความรู้ทางด้านการเมือง และ 2.5 เพศ และอาชีพ มีความสัมพันธ์กับทัศนคติที่มีต่อการเมือง