DSpace Repository

การเปรียบเทียบผลการทดสอบการทำงานของต่อมหมวกไต โดยการกระตุ้นด้วยฮอร์โมนอะดรีโนคอร์ติโคโทรปิน และการทดสอบความทนต่ออินสุลินในภาวะต่อมหมวกไตบกพร่องทุติยภูมิ

Show simple item record

dc.contributor.advisor สมพงษ์ สุวรรณวลัยกร
dc.contributor.advisor สุรชัย เคารพธรรม
dc.contributor.author ณรงค์ วณิชย์นิรมล
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
dc.date.accessioned 2021-08-26T14:35:23Z
dc.date.available 2021-08-26T14:35:23Z
dc.date.issued 2543
dc.identifier.isbn 9741308698
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/75265
dc.description วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543 en_US
dc.description.abstract ที่มาของการศึกษา : ในปัจจุบันการทดสอบความทนต่ออินสุลิน ถือเป็นวิธีการที่เป็นมาตรฐานในการตรวจสอบการทำงานของต่อมหมวกไต แต่วิธีการดังกล่าวมีข้อจำกัดในการใช้ ทางเลือกอื่นคือการใช้การทดสอบด้วยฮอร์โมน อะดรีโนคอร์ติโคโทรปินขนาด 250 ไมโครกรัม แต่ในรายงานต่อมาพบว่าอาจเกิดผลผิดพลาดได้จากขนาดที่ใช้สูงเกินไป การใช้ในขนาดที่ตํ่ากว่าน่าจะมีความเหมาะสมกว่า แต่ยังไม่มีข้อสรุป วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบการใช้ฮอร์โมนอะดรีโนคอร์ติโคโทรปินในขนาด 1 ไมโครกรัมกับขนาด 250 ไมโครกรัม โดยเทียบกับการทดสอบความทนต่ออินสุลินเป็นมาตรฐาน ประชากรและวิธีการ : ผู้ปวยที่เป็นโรคเนื้องอกต่อมใต้สมองหรือบริเวณใกล้เคียง จำนวน 16 รายได้เข้ารับการศึกษาเป็นหญิง 10 ราย, ชาย 6 ราย เก็บข้อมูลได้ 14 ราย ได้รับการทดสอบด้วยการให้ฮอร์โมนอะดรีโนคอร์ติโคโทรปิน 1 ไมโครกรัม และวัดระดับ คอร์ติซอล ที่ 0,20,30 และ60 นาที และขนาด 250 ไมโครกรัม และวัดระดับ คอร์ติซอล ที่ 0,30,และ60 นาที เปรียบเทียบกับการทดสอบความทนต่อ อินสุลินโดยวัดระดับ คอร์ติซอล ที่ 0 นาที,จุดมีนํ้าตาลในเลือดตํ่า และหลังจากนั้น 60 นาที การวัด : การวัดระดับคอร์ติชอล ใช้วิธี RIA โดยใช้ค่าที่สูงสุดเป็นจุดวินิจฉัยที่ 20 ไมโครกรัมเปอร์เซ็นต์ผลการศึกษา จากระดับคอร์ติซอลที่สูงสุดเป็นตัวเปรียบเทียบพบว่า เมื่อใช้การทดสอบความทนต่อ อินสุลินเป็นมาตรฐานพบว่าในกรณีที่ใช้ ฮอร์โมน 1 ไมโครกรัม จะมีความไว 80%,ความจำเพาะ 75% ในขณะที่การใช้ฮอร์โมน 250 ไมโครกรัม มีความไว 60% มีความจำเพาะ 75% สรุป จากข้อมูลที่ทำการศึกษาพบว่าการใช้ฮอร์โมน อะดรีโนคอร์ติโคโทรปิน 1 ไมโครกรัมทำการทดสอบการทำงานของต่อมหมวกไต จะมีความไวมากกว่าขนาด 250 ไมโครกรัมที่ใช้กันเป็นสากลในปัจจุบัน ซึ่งเหมาะสมที่จะนำมาใช้แทนที่ในการทดสอบการทำงานของต่อมหมวกไตต่อไป en_US
dc.description.abstractalternative Background: The insulin tolerance test (ITT) is widely accepted as the gold standard dynamic stimulation test of adrenal function, but it may be hazardous. The standard synthetic ACTH test has been advocated as a substitute but the accuracy remains controversy because of supraphysiologic stimulation. Objective: To compare the diagnostic value of the ITT with a low dose ACTH stimulation test (1µg.) and the standard ACTH stimulation test (250 µg.) Subject and method: Six men and ten women post operative for pituitary surgery were studied. ITT, low dose (1 µg.) and standard (250 µg.) ACTH tests were performed in all patients. Blood samples for serum cortisol were collected at 0,30,60 minutes for standard ACTH test and 0,20,30,60 minuted for 1 µg.test. Data were completely collected in fourteen patients. Measurement: Serum cortisol was determined by RIA method. The peak cortisol values during insulin tolerance were compared to the cortisol levels from both ACTH tests. Result : The 1 µg. (low dose) ACTH stimulation test had higher sensitivity (80%) than standard ACTH stimulation test (sensitivity = 70%). Both tests had equivalent specificity for assessment of secondary adrenal insufficiency. Conclusion : The 1 µg. ACTH test was more sensitive test than standard ACTH and it canbe an alternative test for the evaluation of adrenal function in subjects that cannot tolerance hypoglycemia during the insulin tolerance test. en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.relation.uri http://doi.org/10.14457/CU.the.2000.375
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject ต่อมหมวกไต -- โรค
dc.subject เอซีทีเอชฮอร์โมน
dc.subject อินซูลิน
dc.title การเปรียบเทียบผลการทดสอบการทำงานของต่อมหมวกไต โดยการกระตุ้นด้วยฮอร์โมนอะดรีโนคอร์ติโคโทรปิน และการทดสอบความทนต่ออินสุลินในภาวะต่อมหมวกไตบกพร่องทุติยภูมิ en_US
dc.title.alternative Comparison of adrenal function test with adrenocorticotropic hormone stimulation test and insulin tolerance test in secondary adrenal insufficiency en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.discipline อายุรศาสตร์ en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.identifier.DOI 10.14457/CU.the.2000.375


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record