DSpace Repository

การเข้าสู่วาระและการกำหนดนโยบายสาธารณะ : ศึกษากรณีนโยบายมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารในประเทศไทย

Show simple item record

dc.contributor.advisor ศุภชัย ยาวะประภาษ
dc.contributor.author นพดล อุดมวิศวกุล
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์
dc.date.accessioned 2008-07-11T08:26:24Z
dc.date.available 2008-07-11T08:26:24Z
dc.date.issued 2548
dc.identifier.isbn 9741421133
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7526
dc.description วิทยานิพนธ์ (ร.ด.) -- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548 en
dc.description.abstract วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเข้าสู่วาระนโยบาย กระบวนการก่อตัวของนโยบาย และผลกระทบที่เกิดจากรูปแบบการกำหนดนโยบายมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารในประเทศไทย โดยประยุกต์ใช้แนวคิดการเข้าสู่วาระนโยบายของคิงดอน แนวคิดการกำหนดนโยบายของ ไดร์ แวมสเล่ย์ และซาล และการวิเคราะห์ผลกระทบจากรูปแบบการกำหนดนโยบาย เป็นกรอบในการศึกษา นโยบาย มาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารที่ศึกษาในครั้งนี้กำหนดขอบข่ายไว้ที่ การเข้าสู่วาระนโยบาย การกำหนด นโยบาย และผลกระทบจากกระบวนการกำหนดนโยบายที่มีต่อสาระของนโยบาย โดยใช้ช่วงเวลาในช่วง การจัดตั้งองค์การการค้าโลกในปี พ.ศ. 2538 จนกระทั่งปี พ.ศ. 2547 ซึ่งเป็นปีที่รัฐบาลกำหนดให้เป็นปีแห่ง ความปลอดภัยด้านอาหาร การวิเคราะห์ข้อมูลจากเอกสารราชการ สื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ และการสัมภาษณ์ ผู้มีบทบาทเกี่ยวข้องและมีส่วนได้ส่วนเสียในนโยบาย พบว่า กระแสปัญหา กระแสนโยบาย และกระแส การเมืองมีอิทธิพลสำคัญต่อการเข้าสู่วาระนโยบายมาตรฐานสินค้าเกษตร และอาหารในประเทศไทย ภายใต้การปฏิสัมพันธ์กันระหว่างการเมืองกับการบริหาร และอิทธิพลขององค์การระหว่างประเทศที่มี ต่อกระบวนการกำหนดนโยบาย โดยส่วนราชการหรือฝ่ายบริหารเป็นตัวกลางระหว่างภาคเอกชนซึ่งรับ แนวทางด้านมาตรฐานจากประเทศคู่ค้าและเป็นตัวกลางระหว่างองค์การระหว่างประเทศกับฝ่ายการเมือง หรือคณะรัฐมนตรีในการกำหนดนโยบายมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหาร โดยองค์การระหว่างประเทศ จะมีบทบาทสำคัญเพราะมาตรฐานขององค์การระหว่างประเทศเป็นมาตรฐานขั้นต่ำในการเจรจาการค้า ระหว่างประเทศ ส่วนราชการจึงใช้อิทธิพลขององค์การระหว่างประเทศในการผลักดันความต้องการของ ตนต่อฝ่ายการเมือง และองค์การระหว่างประเทศก็ใช้ส่วนราชการในการผลักดันให้ฝ่ายการเมืองยอมรับ มาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารตามความตกลงระหว่างประเทศจนกระทั่งมีการกำหนดนโยบายออกมา ซึ่งลักษณะเช่นนี้ ทำให้กระบวนการกำหนดนโยบายมาตรฐานสินค้าเกษตร และอาหารในประเทศไทย กลายเป็นเวทีในการเจรจาต่อรองของส่วนราชการเกี่ยวกับขอบเขตอำนาจหน้าที่ โดยบทบาทของส่วน ราชการจะโดดเด่นได้มากนอกจากการที่ส่วนราชการจะมีลักษณะเฉพาะทางวิชาการแล้ว ยังเกิดจาก ความไม่จริงจังของฝ่ายการเมืองเนื่องจากได้รับประโยชน์จากการประชาสัมพันธ์ต่อสาธารณะไปแล้ว และยังเกิดจากการที่องค์การระหว่างประเทศได้รับประโยชน์ไปแล้วจากการที่รัฐบาลยอมรับในมาตรฐานตามความตกลงระหว่างประเทศ การศึกษานโยบานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารในประเทศไทยนี้ นำมาสู่ข้อค้นพบใน 3 ประการสำคัญคือ 1) ประเด็นเรื่องมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารเป็นปัญหาที่ได้รับความสำคัญอย่างมากในประเทศที่พัฒนาแล้ว ประเด็นดังกล่าวถูกองค์การระหว่างประเทศส่งผ่านและถ่ายทอดแนวคิดนโยบายมายังประเทศที่กำลังพัฒนา ผ่านการประชุมสัมมนาขององค์การระหว่างประเทศ จนพัฒนากลายเป็นประเด็นสำคัญในประเทศกำลังพัฒนา ทำให้ประเด็นเรื่องมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารเข้าสู่วาระนโยบายของรัฐบาลในประเทศที่กำลังพัฒนาได้ 2) การก่อตัวของนโยบายมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารในประเทศไทยเป็นไปตามตัวแบบผู้นำที่ส่วนราชการเป็นตัวแทนในการแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ดับองค์การระหว่างประเทศ และเป็นตัวกลางระหว่างองค์การระหว่างประเทศกับฝ่ายการเมืองในการกำหนดนโยบายมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหาร เนื่องจากส่วนราชการใช้อิทธิพลขององค์การระหว่างประเทศในการผลักดันความต้องการของตนต่อฝ่ายการเมือง และองค์การระหว่างประเทศก็ใช้ส่วนราชการในการผลักดันให้ฝ่ายการเมืองยอมรับมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารตามความตกลงระหว่างประเทศจนกระทั่งมีการกำหนดนโยบายออกมา ซึ่งสามารถอธิบายได้โดย "ตัวแบบส่วนราชการในฐานะตัวกลางในการเข้าสู่วาระและการกำหนดนโยบาย" ที่การศึกษานี้ได้พัฒนาขึ้น 3) ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากรูปแบบการก่อตัวของนโยบายตามตัวแบบที่ส่วนราชการเป็นตัวกลางในการแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ ทำให้กระบวนการกำหนดนโยบายกลายเป็นเวทีในการเจรจาต่อรองของส่วนราชการเกี่ยวกับของเขตอำนาจหน้าที่อันเกิดจากการที่ส่วนราชการมีลักษณะเฉพาะทางวิชาการ รวมทั้งฝ่ายการเมืองไม่จริงจังเนื่องจากได้รับประโยชน์จากการประชาสัมพันธ์ต่อสาธารณะไปแล้ว และองค์การระหว่างประเทศก็ได้รับประโยชน์ไปแล้วจากการที่รัฐบาลยอมรับในมาตรฐานตามความตกลงระหว่างประเทศ ซึ่งท้ายที่สุดก็ไม่สามารถที่จะรับรองได้ว่ากระบวนการดังกล่าวจะสะท้อนผลประโยชน์สาธารณะได้ en
dc.description.abstractalternative This study is aimed to investigate Thai government policy on agricultural commodities and food standards especially on how the agenda was set and formulated to become policy statements and actions as well as their impacts from their style. The literature on agenda setting proposed by Kingdon, on policy formulation asserted by Dye and by Wamsley & Zald was used as a framework for this investigation. The study put its emphasis on these particular policy actions namely, The Agricultural Commodities and Food Standards Bill, and The Food Safety Year 2004 Policy. Analysis of the official policy documents and the findings from the interview of the policy stakeholders led to the conclusion that the problem stream, the policy stream and the political stream including policy entrepreneurs significantly affected the agenda setting of the policy on agricultural commodities and food standards under the interaction between the politics sector (cabinet) and the administration sector (bureaucratic agent) and the international organization influent. The administration sector roles as an agent between the private sector that accept the standard of imported countries and between the international organization and the politics sector for making the policy. The international organization has more roles because the international organization standard is the minimum standard in the international trade negotiation. Therefore, the bureaucratic agent used the international organization information for pushing their authority requirement to the politics sector. The international organization used the bureaucratic agent for pushing their standard to the politics sector and making the policy. The administration sector has more roles because the agricultural commodities and food standards policy is the technicality policy. Moreover, the politics sector has had inform the food safety policy to the public and the international organization has had accept their standard from the politics sector. Specifically, findings from this study indicate the followings: (1)The agricultural commodities and food standards issue is more important in the developed countries. The developing countries imported that issue from the international organization and let it to the agenda setting and policy formulation process. (2)The agenda setting and policy formulation of agricultural commodities and food standards policy has been explained by "the bureaucratic agent model" which this study has been developed from the elite model. (3)This study concludes that any public policy is still formulated through the hands of the bureaucratic agents and public interest is thus not really represented by this process. en
dc.format.extent 2414855 bytes
dc.format.mimetype application/pdf
dc.language.iso th es
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.subject นโยบายสาธารณะ -- ไทย en
dc.subject สินค้าเกษตร -- ไทย -- มาตรฐาน en
dc.subject อาหาร -- ไทย -- มาตรฐาน en
dc.title การเข้าสู่วาระและการกำหนดนโยบายสาธารณะ : ศึกษากรณีนโยบายมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารในประเทศไทย en
dc.title.alternative The agenda setting and public policy formulation : a case study of agricultural commodities and food standards policy in Thailand en
dc.type Thesis es
dc.degree.name รัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิต es
dc.degree.level ปริญญาเอก es
dc.degree.discipline รัฐศาสตร์ es
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.email.advisor supachai.yava@gmail.com, supachai_yava@hotmail.com


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record