dc.contributor.author |
อิศรา ศานติศาสน์ |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเศรษฐศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2006-07-12T13:11:06Z |
|
dc.date.available |
2006-07-12T13:11:06Z |
|
dc.date.issued |
2538 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/753 |
|
dc.description.abstract |
ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับอุปสงค์ของผู้บริโภคและการกระจายรายได้มีความสำคัญเพราะสามารถใช้เป็นเครื่องมือชี้แนะแนวทางกำหนดนโยบายที่เหมาะสมในการพัฒนาเศรษฐกิจและสวัสดิการของประชาชนกลุ่มต่าง ๆ ได้ ในอดีตที่ผ่านมาได้มีการศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมการบริโภคของครัวเรือนต่าง ๆและปัญหาการกระจายรายได้ในประเทศไทยอยู่มาก ก่อให้เกิดประโยชน์ทั้งในเชิงทฤษฎีและในการนำผลการศึกษาเหล่านั้นไปใช้ในด้านต่าง ๆ มากมาย แต่อย่างไรก็ตาม ยังมีช่องว่างที่สำคัญที่เกิดจากอิทธิพลของการเปลี่ยนแปลงทางด้านขนาดและโครงสร้างของครัวเรือนในภูมิภาคต่าง ๆ ที่มิได้รับการวิเคราะห์วิจัยอย่างพอเพียง การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวนี้ มีความสำคัญทั้งในแง่อุปสงค์และสวัสดิการทางเศรษฐกิจของครัวเรือน งานวิจัยชิ้นนี้ ได้ทำการประยุกต์ตัวแบบ Linear Expenditure System โดยการผนวกตัวแปรทางด้านขนาดและโครงสร้างของครัวเรือนเข้าไปในตัวแบบที่อธิบายการใช้จ่ายในการบริโภคสินค้าต่าง ๆ 10 ชนิด ของครัวเรือน 3 ประเภท เพื่อศึกษาอุปสงค์ของครัวเรือนผู้บริโภคเหล่านี้ ผลการประมาณค่าที่ได้นอกจากจะเป็นค่าความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่าง ๆ ซึ่งค่อนข้างจะแตกต่างไปจากค่าประมาณที่ไม่คำนึงถึงขนาดและโครงสร้างของครัวเรือนแล้ว ยังมีค่าผู้ใหญ่สมมูลย์หรือ Adult Equivalence Scale ซึ่งใช้เปรียบเทียบความจำเป็นในการบริโภคของเด็ก 1 คนกับผู้ใหญ่ 1 คน ค่าผู้ใหญ่สมมูลย์นี้มีประโยชน์ในการศึกษาปัญหาการกระจายรายได้ ผลการประมาณค่าชี้ให้เห็นว่า ขนาดและโครงสร้างของครัวเรือนมีอิทธิพลมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับค่าความยืดหยุ่นต่าง ๆที่ใช้ในการอธิบายพฤติกรรมของครัวเรือนผู้บริโภคต่าง ๆ ระดับการใช้จ่ายผูกพันของผู้ใหญ่และเด็กในครัวเรือนต่าง ๆ แสดงให้เห็นถึง ความแตกต่างในมาตรฐานการครองชีพต่ำสุดของครัวเรือนแต่ละประเภท เมื่อใช้ค่าผู้ใหญ่สมมูลย์ที่ประมาณได้มาศึกษาปัญหาการกระจายรายได้ ผลการคำนวณชี้ให้เห็นว่า ปัญหาการกระจายรายได้ อาจไม่รุนแรงเท่าที่เคยมีการประมาณไว้ อย่างไรก็ตาม หน่วยในการวัดไม่ใช่ประเด็นที่สำคัญในการศึกษาการเปลี่ยนแปลงของปัญหาการกระจายรายได้ในประเทศไทย อย่างน้อยในระหว่างปี พ.ศ. 2531, 2533, และ 2535 เพราะการเปลี่ยนหน่วยในการวัดไม่ได้ผลการศึกษาที่แตกต่างกัน แต่ทั้งหมดนี้ไม่ได้หมายความว่า การเปลี่ยนแปลงทางด้านขนาดและโครงสร้างของครัวเรือนในอนาคตจะไม่ทำให้ได้ข้อสรุปที่ไม่เหมือนกันเกี่ยวกับปัญหาการกระจายรายได้ในประเทศไทย ถ้าเลือกใช้หน่วยในการวัดที่แตกต่างกัน |
en |
dc.description.abstractalternative |
Good understandings in consumption behaviour of households and income distribution are essential and important. It is a guideline for policy analysis in the planning for economic development and the improvement of social welfare. The contributions of past studies on household consumption behaviour of households and income distribution in Thailand are well-known. Both in the academic arena and policy implementation. However, the past studies have ignored the role of two important variables, the size and composition of households, which have been changing during the past decades of economic development in Thailand. This study applies the well-known Linear Expenditure System. The two important variables, size and composition of household, are incorporated into the model to explain the expenditure on 10 consumer goods of 3 types of households in 1988. Apart from various elasticties of household demand, the model also provides estimates which can be used to calculate adult equivalent scales. The scales compare the minimum need of child to that of an adult in Bangkok, municipal areas and sanitary districts and villages. It can also be used to measure the problem of income distribution in each community, region, and the whole kingdom. The estimates indicate that the roles of the two variables in the determination of household demand are crucial. The committed level of expenditure of an adult and the committed level of expenditure of a child are significantly different. The difference also indicates that the standard of living of Thais differ from community and from region to region. Based on the adult equivalence scales, results of this study indicate that the problem of income distribution is less than those estimated by the past studies. But, the changing trend of income distribution does not differ from those on household basis and per capita basis. Thus, unit of measurement is not a major problem for the study on income distribution in Thailand, at least during 1988, 1990, and 1992. However, it should not be concluded that the future and significant change in the size and composition of household may not have some critical impacts on the measurement of a change in income distribution in Thailand. |
en |
dc.description.sponsorship |
กองทุนรัชดาภิเษกสมโภช |
en |
dc.format.extent |
9230229 bytes |
|
dc.format.mimetype |
application/pdf |
|
dc.language.iso |
th |
en |
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en |
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en |
dc.subject |
บริโภคกรรม |
en |
dc.subject |
การกระจายรายได้ |
en |
dc.subject |
อุปสงค์ |
en |
dc.title |
การประมาณค่าอุปสงค์ของผู้บริโภค ค่าผู้ใหญ่สมมูลย์ และการกระจายรายได้ในประเทศไทย พ.ศ. 2531, 2533 และ 2535 : รายงานผลการวิจัย |
en |
dc.title.alternative |
Estimation of consumer demand, adult equivalence scale, and income scale, and income distribution in Thailand : 1988, 1990, and 1992 |
en |
dc.type |
Technical Report |
en |
dc.email.author |
Isra.S@chula.ac.th |
|