Abstract:
กล้วยไม้สกุล Dendrobium ถูกนำมาใช้ประโยชน์ทางยาอย่างแพร่หลายในหวีปเอเชีย อีกทั้งในปัจจุบันมีงานวิจัยมากมายที่ศึกษาเกี่ยวกับฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระในกล้วยไม้สกุลนี้ และจากการทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระเบื้องตันของสารสกัดหยาบเมทานอลของเอื้องครั่ง พบว่ามีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระสูงถึงร้อยละ 80 ที่ความเข้มข้น 100ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อสกัดแยกสารที่เป็นองค์ประกอบทางเคมีจาก Dendrobium parishii หรือเอื้องครั่ง และพิสูจน์โครงสร้างของสารบริสุทธิ์ที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งจะใช้วิธี Bioassay guided fractionation ในการคัดกรองฤทธิ์ในแต่ละขั้นของการแยกสกัด ส่วนการสกัดแยกสารบริสุทธิ์จะใช้วิธีทาง column chromatography ผ่าน silica gel column และ Sephadex LH-20 column อีกทั้งยังใช้วิธี thin layer chromatography มาช่วยในการหา solvent system ที่เหมาะสมในการสกัดและช่วยทำนายแนวโน้มการสกัดได้ จากนั้นนำสารที่ได้ไปพิสูจน์โครงสร้างทางเคมีด้วยเทคนิA NMR spectroscopy และนำไปทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธี DPPH radical scavenging assay และ NBT superoxide scavenging assay โดยผลการวิจัยพบว่า
สามารถสกัดแยกสารบริสุทธิ์ได้ 2 ชนิด และเมื่อนำสารดังกล่าวไปวิเคราะห์โครงสร้างทางเคมี พบว่าเป็นสารmoscatilin (1) และ 4,5,4'- trihydroxy-3,3' -dimethoxybibenzy( (2) ซึ่งจากการทดสอบด้วยวิธี DPPH radical scavenging assay พบว่าสาร moscatilin มีค่า IC5o เท่ากับ 6.3 ไมโครโมลาร์ และสาร 4,5,9'-trihydroxy-3,3' dimethoxybibenzy มีค่า ICso เท่ากับ 13.7 ไมโครโมลาร์ ส่วนจากการทดสอบด้วยวิธี NBT superoxide scavenging assay พบว่าสาร moscatin มีค่า ICs, เท่ากับ 88.5 ไมโครโมลาร์ และสาร 4,5,9'-trihydroxy-3,3 ' dimethoxybibenzyl มีค่า (Cs เท่ากับ 231.0 ไมโครโมลาร์ จากผลงานวิจัยที่กล่าวมาข้างต้นทั้งหมดสามารถสรุปได้ว่า moscatlin และ 4,5,4'-trihydroxy-3,3'-dimethoxybibenzy! เป็นสารสำคัญที่พบในเอื้องครั่งที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ