Abstract:
ทูเมอร์เนคโครชิสแฟคเตอร์-อัลฟาเป็นไซโตไคน์ที่ถูกหลั่งออกมาจากแมโครฟาจ ซึ่งเกี่ยวข้องกับกระบวนการอักเสบและการเกิดโรคที่เกี่ยวข้องกับการอักเสบ ในปัจจุบันการวิจัยเพื่อหาตัวยับยั้งการทำงานของทูเมอร์เนคโครซิสแฟคเตอร์ -อัลฟาเป็นที่สนใจอย่างมากและแอนติบอดี้ซึ่งออกฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของทูเมอร์เนคโครชิสแฟคเตอร์-อัสฟา เช่น อินฟลิชิแมบ, เอทาเนอร์เซปท์ และอตาลิมูแมบ ได้ถูกใช้เป็นยาต้านการอักเสบเพื่อรักษาโรคภูมิต้านทานต่อตนเอง (autoimmune diseases)
เคอร์คิวมินเป็นสารโมเลกุลเล็กจากธรรมชาติที่มีฤทธิ์ทางชีวภาพที่หลากหลาย ที่ผ่านมาได้มีการศึกษาการเกิดอันตรกิริยาระหว่างเคอร์คิวมินและ ทูเมอร์นคโครชิสแฟคเตอร์-อัสฟา โตยอาศัยโปรแกรมจำลองทางคอมพิวเตอร์ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความเป็นไปไต้ในการพัฒนา เคอร์คิวมินเป็นสารยับยั้งทูมอร์นคโครชิสแฟคเตอร์-อัลฟา อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีหลักฐานจากการทดลองที่แสดงการจับกันระหว่างเคอร์คิวมินและทูเมอร์เนคโครชิสแฟคเตอร์-อัสฟา ในงานวิจัยนี้จึงมีความสนใจที่จะศึกษาการเกิดอันตรกิริยาระหว่าง
เคอร์คิวมินและทูเมอร์เนคโครซิสแฟคเตอร์-อัลฟาต้วยเทคนิคสเปคโตรฟลูออโรเมทตรี โดยกำหนด excitation wavelength ที่ 280 นาโนเมตร และวัด emission spectra ความยาวคลื่นตั้งแต่ 300 ถึง 400 นาโนเมตร ของทูเมอร์เนคโครชิสแฟคเตอร์-อัลฟาที่ความเข้มข้น 1 ไมโครโมลาร์ นสภาวะที่มีเคอร์คิวมินความเข้มข้นตั้งแต่ 0.4-8.0 ไมโครโมลาร์ ผลการทดลองพบว่าเคอร์คิวมิน ลดการปลดปล่อยแสงฟลูออเรสเซนซ์ของทูเมอร์เนคโครชิสแฟคเตอร์-อัลฟา ที่ 315 นาโนเมตร ด้วย static process ค่ำคงที่ในการเกิดอันตรก็ริยาระหว่างเคอร์คิวมิน และทูเมอร์เนคโครชิสแฟคเตอร์-อัลฟา เมื่อคำนวณด้วยสมการ modified Stern-Volmer เท่ากับ 1.02 1.13 และ 138 x 105 M-1 ส่วนจำนวนของ binding sitesi
ที่คำนวณได้จากสมการ Stern-Volmer เท่ากับ 0.80, 0.89 และ 0.84 ที่อุณหภูมิ 293, 299 และ 305 เคลวิน ตามลำตับ สำหรับค่าพารามิเตอร์ทางอุณหพลศาสตร์ไต้แก่ enthalpy (ΔH), entropy (ΔS) และ Gibbs free energy (ΔG) ซึ่งคำนวณจากสมการของ van't Hoff พบว่า ΔH และ ΔS มีค่ามากกว่า 0 แสดงให้เห็นว่าเคอร์คิวมินจับกับทูเมอร์เนคโครชิสแฟคเตอร์-อัลฟาด้วยแรงไฮโตรโฟบ๊ค ส่วน ΔG ที่มีค่าน้อยกว่า แสดงให้เห็นว่าการจับกันเป็นแบบ spontaneous interaction ผลการศึกษานี้ชี้ให้เห็นว่าเคอร์คิวมินสามารถจับกับทูเมอร์เนคโครซิสแฟคเตอร์-อัลฟา และมีศักยภาพในการพัฒนาต่อไปเพื่อใช้เป็นยาต้านการอักเสบหรือใช้ในงานวิจัยทางชีวการแพทย์