Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/75430
Title: อันตรกิริยาระหว่างเคอร์คิวมินกับทูเมอร์เนคโครซิสแฟคเตอร์-อัลฟา
Other Titles: Interaction of Curcumin with Tumor Necrosis Factor-Alpha (TNF-α)
Authors: นัทธพงศ์ จองจิตพิศุทธิ์
ณฐพร สุวรรณ
อารยะ จันทรสิงหาญ
Advisors: พรชัย โรจน์สิทธิศักดิ์
Advisor's Email: pornchai.r@chula.ac.th
Subjects: เคอคูมิน
Curcumin
Tumors
Issue Date: 2557
Publisher: คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ทูเมอร์เนคโครชิสแฟคเตอร์-อัลฟาเป็นไซโตไคน์ที่ถูกหลั่งออกมาจากแมโครฟาจ ซึ่งเกี่ยวข้องกับกระบวนการอักเสบและการเกิดโรคที่เกี่ยวข้องกับการอักเสบ ในปัจจุบันการวิจัยเพื่อหาตัวยับยั้งการทำงานของทูเมอร์เนคโครซิสแฟคเตอร์ -อัลฟาเป็นที่สนใจอย่างมากและแอนติบอดี้ซึ่งออกฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของทูเมอร์เนคโครชิสแฟคเตอร์-อัสฟา เช่น อินฟลิชิแมบ, เอทาเนอร์เซปท์ และอตาลิมูแมบ ได้ถูกใช้เป็นยาต้านการอักเสบเพื่อรักษาโรคภูมิต้านทานต่อตนเอง (autoimmune diseases) เคอร์คิวมินเป็นสารโมเลกุลเล็กจากธรรมชาติที่มีฤทธิ์ทางชีวภาพที่หลากหลาย ที่ผ่านมาได้มีการศึกษาการเกิดอันตรกิริยาระหว่างเคอร์คิวมินและ ทูเมอร์นคโครชิสแฟคเตอร์-อัสฟา โตยอาศัยโปรแกรมจำลองทางคอมพิวเตอร์ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความเป็นไปไต้ในการพัฒนา เคอร์คิวมินเป็นสารยับยั้งทูมอร์นคโครชิสแฟคเตอร์-อัลฟา อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีหลักฐานจากการทดลองที่แสดงการจับกันระหว่างเคอร์คิวมินและทูเมอร์เนคโครชิสแฟคเตอร์-อัสฟา ในงานวิจัยนี้จึงมีความสนใจที่จะศึกษาการเกิดอันตรกิริยาระหว่าง เคอร์คิวมินและทูเมอร์เนคโครซิสแฟคเตอร์-อัลฟาต้วยเทคนิคสเปคโตรฟลูออโรเมทตรี โดยกำหนด excitation wavelength ที่ 280 นาโนเมตร และวัด emission spectra ความยาวคลื่นตั้งแต่ 300 ถึง 400 นาโนเมตร ของทูเมอร์เนคโครชิสแฟคเตอร์-อัลฟาที่ความเข้มข้น 1 ไมโครโมลาร์ นสภาวะที่มีเคอร์คิวมินความเข้มข้นตั้งแต่ 0.4-8.0 ไมโครโมลาร์ ผลการทดลองพบว่าเคอร์คิวมิน ลดการปลดปล่อยแสงฟลูออเรสเซนซ์ของทูเมอร์เนคโครชิสแฟคเตอร์-อัลฟา ที่ 315 นาโนเมตร ด้วย static process ค่ำคงที่ในการเกิดอันตรก็ริยาระหว่างเคอร์คิวมิน และทูเมอร์เนคโครชิสแฟคเตอร์-อัลฟา เมื่อคำนวณด้วยสมการ modified Stern-Volmer เท่ากับ 1.02 1.13 และ 138 x 105 M-1 ส่วนจำนวนของ binding sitesi ที่คำนวณได้จากสมการ Stern-Volmer เท่ากับ 0.80, 0.89 และ 0.84 ที่อุณหภูมิ 293, 299 และ 305 เคลวิน ตามลำตับ สำหรับค่าพารามิเตอร์ทางอุณหพลศาสตร์ไต้แก่ enthalpy (ΔH), entropy (ΔS) และ Gibbs free energy (ΔG) ซึ่งคำนวณจากสมการของ van't Hoff พบว่า ΔH และ ΔS มีค่ามากกว่า 0 แสดงให้เห็นว่าเคอร์คิวมินจับกับทูเมอร์เนคโครชิสแฟคเตอร์-อัลฟาด้วยแรงไฮโตรโฟบ๊ค ส่วน ΔG ที่มีค่าน้อยกว่า แสดงให้เห็นว่าการจับกันเป็นแบบ spontaneous interaction ผลการศึกษานี้ชี้ให้เห็นว่าเคอร์คิวมินสามารถจับกับทูเมอร์เนคโครซิสแฟคเตอร์-อัลฟา และมีศักยภาพในการพัฒนาต่อไปเพื่อใช้เป็นยาต้านการอักเสบหรือใช้ในงานวิจัยทางชีวการแพทย์
Other Abstract: Tumor necrosis factor alpha (TNF-α) is a cytokine secreted by macrophage that can cause inflammation and mediate inflammation-related diseases. Currently, investigation of TNF-α inhibitors has been received considerable attention and a number of anti-TNF-α monoclonal antibodies e.g. infliximab, etanercept and adalimumab has been used as anti-inflammatory drugs for the treatment of autoimmune diseases. Recently, curcumin, a polyphenolic compound, has been shown to interact with TNF-α using molecular docking, which could be further developed as a TNF-α inhibitor. However, there is no experimental evidence on the interaction between curcumin and TNF-α. In this work, we therefore investigated the interaction between curcumin and TNF-α using spectrofluorometry. The excitation wavelength was set at 280 nm and the emission spectra of TNF-α were collected from 300 to 400 nm in the presence of various concentrations from 0.4-8.0 uM of curcumin. The results showed that curcumin decreased the fluorescence intensity at 315 nm of TNF-α through the static process. The binding constants, calculated by modified Stern-Volmer equation, were found to be 1.02, 1.13 and 1.38 x 10' M' and the number of binding sites, calculated by Stern-Volmer equation, was 0.80, 0.89 and 0.84 at the temperatures of 293, 299 and 305 K, respectively. The thermodynamic parameters, which are enthalpy (ΔH), entropy (Δ5) and Gibbs free energy (ΔG), were calculated from the van't Hoff equation. The values of ΔH and ΔS were greater than O, suggesting that curcumin bound to TNF-α via hydrophobic force and the value of ΔG was less than 0, indicating that the interaction occurs spontaneously. These findings suggest that curcumin has a potential to be developed as anti-TNF-α for therapeutic and biomedical research applications.
Description: โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาเภสัชศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาค้นพบและพัฒนายา คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2557
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/75430
Type: Senior Project
Appears in Collections:Pharm - Senior projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pharm_SeniorProject_2.81_2557.pdfไฟล์โครงงานทางวิชาการฉบับเต็ม(2.81-2557)1.62 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.