DSpace Repository

การเข้าถึงการตรวจคัดกรองมะเร็ง: การศึกษาภาพรวมของการเบิกจ่ายในประเทศต่างๆ

Show simple item record

dc.contributor.advisor ภูรี อนันตโชติ
dc.contributor.author ชนสรณ์ สรรพวัฒน์
dc.contributor.author ธมลวรรณ เอื้อมลฉัตร
dc.contributor.other คณะเภสัชศาสตร์
dc.date.accessioned 2021-09-14T03:10:51Z
dc.date.available 2021-09-14T03:10:51Z
dc.date.issued 2561
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/75486
dc.description โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาเภสัชศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาเภสัชศาสตร์สังคมและบริหาร คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2561 en_US
dc.description.abstract การจัดการตรวจคัดกรองมะเร็งให้ประชาชนของแต่ละประเทศมีความแตกต่างกัน เนื่องจากแต่ละประเทศมีการจัดระบบประกันสุขภาพ รวมทั้งระดับรายได้แตกต่างกัน จึงเป็นที่น่าสนใจว่าแต่ละประเทศมีแนวทางการเบิกจ่ายการตรวจคัดกรองมะเร็งอย่างไร รวมถึงการศึกษาว่าปัจจัยใดเป็นตัวกำหนดการตัดสินใจของรัฐในการเบิกจ่ายการตรวจคัดกรองมะเร็ง ทั้งนี้การศึกษานี้ครอบคลุมการตรวจคัดกรองมะเร็งที่พบบ่อย 3 ชนิดคือมะเร็งเต้านมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง และมะเร็งปอด และทำการศึกษาใน 8 ประเทศได้แก่ ไทย มาเลเซีย สิงคโปร์ ไต้หวัน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย และสหราชอาณาจักร การศึกษานี้ใช้วิธีทบทวนวรรณกรรมจากฐานข้อมูล Pubmed, ScienceDirect Scopus เว็บไซต์ของกระทรวงสาธารณสุข และเว็บไซต์ของหน่วยงานประกันสุขภาพของแต่ละประเทศ กรอบในการสกัดข้อมูลสำหรับการศึกษานี้ประกอบด้วย วิธีการตรวจคัดกรอง สถานภาพการเบิกจ่าย เงื่อนไขการเบิกจ่ายประสิทธิภาพของการตรวจคัดกรองในแง่ความไว และความจำเพาะ แนวทางการตรวจคัดกรองมะเร็งระดับประเทศความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ การเข้าถึงการรักษาหากได้รับการวินิจฉัยเป็นมะเร็งดังกล่าว จากการศึกษาพบว่าวิธีตรวจและสถานภาพการเบิกจ่ายเงินสำหรับการคัดกรองมะเร็งแต่ละชนิดมีความแตกต่างกันระหว่างประเทศ สำหรับการคัดกรองมะเร็งเต้านมมี 2 แบบได้แก่ การตรวจโดยการคลำเต้านมโดยผู้เชี่ยวชาญ (ไทย-สิทธิประกันสังคม และมาเลเซี่ย) และการตรวจเต้านมด้วยเครื่องถ่ายภาพรังสีเต้านม (สิงค์โปร์ ไต้หวัน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย และสหราชอาณาจักร) การคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรงมี 4 วิธี โดยประเทศไทย มาเลเซีย สิงคโปร์ ไต้หวัน และออสเตรเลียให้ตรวจด้วยวิธี Fecal immunochemical test ในขณะที่ไทย(สิทธิประกันสังคม) เกาหลีใต้ และญี่ปุ่นให้ตรวจด้วยวิธี Fecal occult blood test และสหราชอาณาจักรให้ตรวจด้วยวิธี Fecal occult blood test ร่วมกับ Colonoscopy ส่วนการคัดกรองมะเร็งปอดมีวิธีเดียวที่จำเพาะคือ Low-dose CT scan แต่ไม่ พบว่ามีประเทศใดบรรจุไว้ในชุดสิทธิประโยชน์เลย เป็นที่น่าสังเกตว่าประเทศที่มีระดับรายได้สูงจะให้สิทธิประโยชน์ในการตรวจคัดกรองที่ครอบคลุมและมีประสิทธิภาพมากกว่า นอกจากนี้ยังพบว่าการบรรจุการตรวจคัดกรองมะเร็งในชุดสิทธิประโยชน์ของแต่ละประเทศมีการกำหนดเงื่อนไขแตกต่างกันไป เช่น อายุ ความถี่ในการตรวจคัดกรอง นอกจากนี้ปัจจัยที่น่าจะส่งผลต่อการคัดเลือกบรรจุการตรวจคัดกรองลงในชุดสิทธิประโยชน์คือ ประสิทธิภาพของวิธีการตรวจ(ความไวและความจำเพา: แนวทางการตรวจคัดกรองมะเร็งระดับประเทศ ความคุ้มค่าของการตรวจคัดกรอง และการมียารักษาโรคมะเร็งที่เบิกจ่ายได้ en_US
dc.description.abstractalternative Each country has different benefit packages for cancer screening programs. Different decisions providing these benefits may come from factors such as countries' economy, efficacy, and value for money. This study aims to discover coverage decisions of cancer screening and explore factors that impact the reimbursement decision. The study includes 3 types of most common cancers; breast, colorectal, and lung cancer. Eight countries; Thailand, Malaysia, Singapore, Taiwan, South Korea, Japan, Australia and the United Kingdom were selected. Literature review was conducted using Pubmed, ScienceDirect, and Scopus databases together with official Ministry of Public Health and National health insurance websites of each country. The framework of data extraction for this study consists of methods of screening, reimbursement status, reimbursement condition, screening efficacy (sensitivity, specificity), and national cancer screening guidelines, cost-effectiveness, and access to treatments. The results showed that methods of cancer screening and reimbursement status differ markedly between countries. For breast cancer, cancer screening ranges from clinical breast examination (Thailand, Malaysia), to mammography (Singapore, Taiwan, South Korea, Japan, Australia and the United Kingdom). For colorectal cancer, there are four screening methods. Thailand, Malaysia, Singapore, Taiwan and Australia provide fecal immunochemical test, while South Korea and Japan provide fecal occult blood test, and the UK provides fecal occult blood test combined with colonoscopy. For lung cancer, Low-dose CT is the only specific screening method, but apparently no country included it as a population-based screening for lung cancer in the benefit package. It was noted that high income countries provide more comprehensive and effective population-based cancer screening. Although the same cancer screening was listed in the health insurance benefit package, different reimbursement conditions were required e.g. age range and high risk condition. In addition, factors that might impact cancer screening reimbursement decisions were screening efficacy (sensitivity, specificity), national cancer screening guidelines, cost-effectiveness of the screening method, and reimbursable anti-cancer drugs. en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject การตรวจคัดโรค en_US
dc.subject Medical screening en_US
dc.subject มะเร็ง en_US
dc.subject Cancer en_US
dc.subject สิทธิการรักษาพยาบาล en_US
dc.subject Right to health en_US
dc.title การเข้าถึงการตรวจคัดกรองมะเร็ง: การศึกษาภาพรวมของการเบิกจ่ายในประเทศต่างๆ en_US
dc.title.alternative Access to cancer screening: A Landscape study en_US
dc.type Senior Project en_US
dc.subject.keyword การตรวจคัดกรอง en_US
dc.subject.keyword มะเร็ง en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

  • Pharm - Senior projects [100]
    โครงการปริญญานิพนธ์ คณะเภสัชศาสตร์

Show simple item record