DSpace Repository

ประสบการณ์ทางจิตใจของนักจิตวิทยาการปรึกษาฝึกหัดที่ประสบกับสภาวะความเหนื่อยล้าในการเห็นอกเห็นใจ

Show simple item record

dc.contributor.advisor พนิตา เสือวรรณศรี
dc.contributor.author วงศธรณ์ ทุมกิจจ์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะจิตวิทยา
dc.date.accessioned 2021-09-21T04:55:20Z
dc.date.available 2021-09-21T04:55:20Z
dc.date.issued 2563
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/75694
dc.description วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563
dc.description.abstract การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเรียนรู้ถึงประสบการณ์ของนักจิตวิทยาการปรึกษาฝึกหัดที่เคยหรือประสบกับสภาวะความเหนื่อยล้าในการเห็นอกเห็นใจ โดยใช้ระเบียบวิจัยคุณภาพแนววิเคราะห์เชิงปรากฏการณ์วิทยาแบบตีความ เก็บข้อมูลด้วยวิธีสัมภาษณ์เชิงลึกแบบกึ่งโครงสร้าง ผู้เข้าร่วมการวิจัยเป็นนักจิตวิทยาการปรึกษาฝึกหัดที่เคยหรือกำลังประสบกับสภาวะความเหนื่อยล้าในการเห็นอกเห็นใจทั้งหมด 7 ราย ผลการวิจัยพบ 3 ประเด็นหลักที่สำคัญได้แก่ 1) ปัจจัยที่ทำให้เกิดความเหนื่อยล้าในการเห็นอกเห็นใจ ประกอบด้วย การมีส่วนร่วมของผู้รับบริการ ทักษะและประสบการณ์ และ การจัดการตนเองและการบริการโดยมีประเด็นย่อยได้แก่ การจัดการปัญหาส่วนตัว จำนวนผู้รับบริการต่อวันมากเกินไป และการควบคุมความเหนื่อยไม่ให้ถูกแสดงออกมา 2) ผลกระทบของสภาวะความเหนื่อยล้าในการเห็นอกเห็นใจ ประกอบด้วย ประสิทธิภาพในการดำเนินชีวิตประจำวันลดลง และ ความยากที่จะแสดงออกถึงความเห็นอกเห็นใจโดยมีประเด็นย่อยได้แก่ ความสามารถในการสะท้อนความรู้สึกของผู้รับบริการลดลงและ ไม่สามารถมีส่วนร่วมกับสังคมรอบข้าง 3) การจัดการกับสภาวะความเหนื่อยล้าในการเห็นอกเห็นใจ ประกอบด้วย การให้เวลาดูแลตัวเอง และ การสนับสนุนจากสังคมรอบข้างโดยมีประเด็นย่อยได้แก่ อาจารย์นิเทศก์ช่วยทำความเข้าใจภาวะที่เกิดขึ้น และความเข้าใจจากคนสำคัญรอบข้าง โดยผลการวิจัยครั้งนี้ทำเพื่อเป็นข้อมูลให้แก่นักจิตวิทยาการปรึกษาฝึกหัดที่เคยหรือประสบกับสภาวะกับความเหนื่อยล้าในการเห็นอกเห็นใจหรือผู้ที่เกี่ยวข้อง
dc.description.abstractalternative The principle aim of this qualitative research is to explore Psychological Experience of Trainee Counselors with Compassion Fatigue. The data were collected via semi-structured in-depth interviews and analyzed using Interpretative Phenomenological Analysis (IPA). The participants in this research included seven trainee counselors with compassion fatigue. The findings were grouped into three main themes below: 1) Factors that cause Compassion Fatigue. This also client participation, Skill and experience and Self-management and service with sub-issue are handling personal problems, Too many clients per day and controlling fatigue from being expressed. 2) Effect of Compassion Fatigue. This also decreased efficiency in daily life and difficulty showing empathy with sub-issue are decreased ability to reflect on client and cannot engage with the society around them. 3) Dealing with Compassion Fatigue. This also self-care and support from surrounding communities with sub-issue are Supervisor help to understand compassion fatigue and understanding from peers. The results of this research can provide information to Trainee Counselors who have or experienced compassion fatigue or those who involved.
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.relation.uri http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2020.669
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject นักจิตวิทยาการปรึกษา
dc.subject ความเห็นอกเห็นใจ
dc.subject Counseling psychologists
dc.subject Sympathy
dc.subject.classification Psychology
dc.title ประสบการณ์ทางจิตใจของนักจิตวิทยาการปรึกษาฝึกหัดที่ประสบกับสภาวะความเหนื่อยล้าในการเห็นอกเห็นใจ
dc.title.alternative Psychological experience of trainee counselorswith compassion fatigue
dc.type Thesis
dc.degree.name ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline จิตวิทยา
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.THE.2020.669


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record