DSpace Repository

อิทธิพลของการเข้าร่วมกิจกรรมยามว่างต่อความพึงพอใจในชีวิตของผู้สูงวัย โดยมีความต้องการพื้นฐาน ด้านจิตใจเป็นตัวแปรส่งผ่าน และเหตุผลในการเข้าร่วมกิจกรรมยามว่างเป็นตัวแปรกำกับ

Show simple item record

dc.contributor.advisor หยกฟ้า อิศรานนท์
dc.contributor.author ณฐวรรณ อรรณพไกรสร
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะจิตวิทยา
dc.date.accessioned 2021-09-21T04:55:23Z
dc.date.available 2021-09-21T04:55:23Z
dc.date.issued 2563
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/75699
dc.description วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563
dc.description.abstract การวิจัยนี้มุ่งศึกษาความสัมพันธ์ของความถี่ในการเข้าร่วมกิจกรรมยามว่าง ในการทำนายความพึงพอใจในชีวิต โดยมีการเติมเต็มความต้องการพื้นฐานด้านจิตใจ (การเติมเต็มการมีอิสระในตนเอง การเติมเต็มความสัมพันธ์ และการเติมเต็มความสามารถ) เป็นตัวแปรส่งผ่าน และเหตุผลในการเข้าร่วมกิจกรรมยามว่าง (เพื่อความสนุกสนาน เพื่อการรับรู้ถึงตัวตนและบทบาท และเพื่อการเข้าร่วมทางสังคม) เป็นตัวแปรกำกับ ในงานวิจัยเป็นการวิจัยเชิงสหสัมพันธ์ ที่มีการเก็บข้อมูลโดยแบบสอบถามและเลือกเก็บกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง โดยเก็บข้อมูลจากผู้สูงวัยที่มีอายุระหว่าง 60-69 ปี สามารถดูแลและพึ่งพาตนเองในชีวิตประจำวันได้ อีกทั้ง มีการเข้าร่วมกิจกรรมยามว่างที่ตนเองชื่นชอบและไม่ได้รับรายได้จากการเข้าร่วมกิจกรรมยามว่างในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา อย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง โดยใช้เวลาอย่างต่ำ 30 นาทีเป็นต้นไป จำนวนทั้งสิ้น 232 คน จากผลการวิเคราะห์ในงานวิจัย ไม่พบอิทธิพลส่งผ่าน และอิทธิพลกำกับ (Moderated Mediation) ของโมเดลการวิจัย กล่าวคือ ไม่พบความสัมพันธ์ของความถี่ในการเข้าร่วมกิจกรรมยามว่างต่อการทำนายความพึงพอใจในชีวิต โดยมีการเติมเต็มความต้องการพื้นฐานด้านจิตใจ (การเติมเต็มการมีอิสระในตนเอง การเติมเต็มความสามารถ และ การเติมเต็มความสัมพันธ์) เป็นตัวแปรส่งผ่าน และเหตุผลในการเข้าร่วมกิจกรรมยามว่าง (เพื่อความสนุกสนาน เพื่อการรับรู้ถึงตัวตนละบทบาท และเพื่อการเข้าร่วมทางสังคม) เป็นตัวแปรกำกับ อย่างไรก็ตาม ผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่า ความถี่ในการเข้าร่วมกิจกรรมยามว่างสามารถทำนายการเติมเต็มความต้องการด้านความสัมพันธ์ โดยขึ้นอยู่กับเหตุผลในการเข้าร่วมกิจกรรมยามว่างเพื่อการเข้าร่วมทางสังคม จึงสามารถกล่าวได้ว่า นอกจากการเข้าร่วมกิจกรรมยามว่างอย่างเป็นประจำ สิ่งสำคัญคือการรับรู้ประโยชน์จากการเข้าร่วมกิจกรรมยามว่างที่สามารถตอบสนองความต้องการของตนเองได้ ดังในงานวิจัยที่ผู้สูงวัยเข้าร่วมกิจกรรมยามว่างเพื่อการเข้าร่วมทางสังคม และเข้าร่วมอย่างเป็นประจำ อาจนำไปสู่การได้รับการเติมเต็มความต้องการด้านความสัมพันธ์
dc.description.abstractalternative This research aims to study the frequency of participation in leisure activities for predicting life satisfaction with fulfillment of basic psychological needs (fulfillment of needs for autonomy, competence, and relatedness) as mediator variable whereas reasons of participation in leisure activities (for fun, for self-identity, and for social participation) were moderator variables. This research was conducted in the form of correlational research and data were collected by using questionnaires. The sample group was obtained by using purposive sampling consisted of 232 elderly persons with the age ranged from 60-69 years with ability of self-reliance in their daily life and participation in preferred leisure activities for 30 minutes and longer at least once a week without gaining any income from such participation during last 2 months. The results of analysis revealed that there was no moderated mediation of research model, i.e., there was no relationship between frequency of participation in leisure activities and prediction of life satisfaction with the fulfillment of basic psychological needs (fulfillment of needs for autonomy, competence, and relatedness) was used as mediator variable and reasons of participation in leisure activities (for fun, for self-identity, and for social participation) were used as moderator variables. However, the results of analysis also revealed that frequency of participation in leisure activities could predict fulfillment of needs for relatedness depending on reason of participation in leisure activities for socialization. As a result, it could be said that besides regular participation in leisure activities, older people were able to perceive benefits from participation in leisure activities that could respond to their demands as shown in this research which older people regularly participated in leisure activities for socialization leading to fulfillment of needs for relatedness.
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.relation.uri http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2020.678
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject ผู้สูงอายุ -- การดำเนินชีวิต
dc.subject กิจกรรมบำบัดสำหรับผู้สูงอายุ
dc.subject Older people -- Conduct of life
dc.subject Occupational therapy for older people
dc.subject.classification Psychology
dc.title อิทธิพลของการเข้าร่วมกิจกรรมยามว่างต่อความพึงพอใจในชีวิตของผู้สูงวัย โดยมีความต้องการพื้นฐาน ด้านจิตใจเป็นตัวแปรส่งผ่าน และเหตุผลในการเข้าร่วมกิจกรรมยามว่างเป็นตัวแปรกำกับ
dc.title.alternative Influence of leisure participation on life satisfaction among older people with fulfillment of basic psychological needs as mediators and participation reasons as moderators
dc.type Thesis
dc.degree.name ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline จิตวิทยา
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.THE.2020.678


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record