DSpace Repository

ความสัมพันธ์ระหว่างภาระงานกับความเหนื่อยหน่ายในงาน โดยมีกลยุทธ์การเผชิญปัญหาแบบมุ่งเน้นการแก้ไขปัญหาและการสนับสนุนทางสังคมภายในองค์การเป็นตัวแปรกำกับ

Show simple item record

dc.contributor.advisor เจนนิเฟอร์ ชวโนวานิช
dc.contributor.author สุดาทิพย์ วรเนติโพธิ์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะจิตวิทยา
dc.date.accessioned 2021-09-21T04:55:30Z
dc.date.available 2021-09-21T04:55:30Z
dc.date.issued 2563
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/75711
dc.description วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563
dc.description.abstract ความเหนื่อยหน่ายในงานเป็นอาการจากการทำงานที่เป็นที่รู้จักมากขึ้น เนื่องจากความเหนื่อยหน่ายในงานส่งผลกระทบต่อสุขภาพกายและจิตใจ รวมถึงประสิทธิภาพในการทำงาน ในอดีตพบว่าข้อเรียกร้องในงานเป็นสาเหตุหนึ่งในการเกิดความเหนื่อยหน่ายในงาน โดยสิ่งที่สามารถยับยั้งการเกิดความเหนื่อยหน่ายในงานได้คือทรัพยากรที่เอื้อต่องาน ตามทฤษฎีโมเดลข้อเรียกร้องในงานและแหล่งทรัพยากรที่เอื้อต่องาน การศึกษาครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและยืนยันทฤษฎีโมเดลข้อเรียกร้องในงานและแหล่งทรัพยากรที่เอื้อต่องาน โดยเน้นถึงความสัมพันธ์ระหว่างข้อเรียกร้องในงาน คือ ภาระงานและความเหนื่อยหน่ายในการทำงาน ที่มีตัวแปรกำกับเป็นทรัพยากรที่เอื้อต่องาน คือ การสนับสนุนทางสังคมในองค์การ และในการศึกษาครั้งนี้ได้เสริมทรัพยากรบุคคล คือ กลยุทธ์การเผชิญปัญหาแบบมุ่งเน้นการแก้ไขปัญหา เข้ามาช่วยลดความสัมพันธ์ระหว่างภาระงานกับความเหนื่อยหน่ายในงาน กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาในครั้งนี้คือข้าราชการกระทรวงการต่างประเทศ ที่มีอายุงานราชการไม่ต่ำกว่า 1 ปี จำนวน 260 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ 1) มาตรวัดความเหนื่อยหน่ายในงาน 2) มาตรวัดภาระงาน 3) มาตรวัดการสนับสนุนทางสังคมในองค์การ และ 4) มาตรวัดกลยุทธ์การเผชิญปัญหาแบบมุ่งเน้นการแก้ไขปัญหา ผลการวิเคราะห์ทางสถิติพบว่าการปฏิสัมพันธ์สามทางระหว่างภาระงาน การสนับสนุนทางสังคมในองค์การ และกลยุทธ์การเผชิญปัญหาแบบมุ่งเน้นการแก้ไขปัญหาสามารถทำนายผลของความเหนื่อยหน่ายในงาน โดยความสัมพันธ์ทางบวกระหว่างภาระงานและความเหนื่อยหน่ายในงานจะลดลง เมื่อกลยุทธ์การเผชิญปัญหาแบบมุ่งเน้นการแก้ไขปัญหามีระดับสูงร่วมกับการสนับสนุนทางสังคมในองค์การมีระดับสูง   (β = -1.55, p < 0.05) กล่าวคือ ข้าราชการที่มีการสนับสนุนทางสังคมในองค์การร่วมกับกลยุทธ์การเผชิญปัญหาแบบมุ่งเน้นการแก้ไขปัญหาในระดับสูง มีแนวโน้มที่จะมีความเหนื่อยหน่ายในงานต่ำกว่าข้าราชการที่มีการสนับสนุนทางสังคมในองค์การและกลยุทธ์การเผชิญปัญหาแบบมุ่งเน้นการแก้ไขปัญหาในระดับต่ำ ข้อค้นพบนี้ยืนยันได้ว่าโมเดลข้อเรียกร้องในงานและแหล่งทรัพยากรที่เอื้อต่องานที่เสริมกลยุทธ์การเผชิญปัญหาแบบมุ่งเน้นการแก้ไขปัญหาในฐานะทรัพยากรบุคคลสามารถยับยั้งอิทธิพลทางบวกระหว่างภาระงานต่อความเหนื่อยหน่ายในงาน
dc.description.abstractalternative Job burnout has become more common symtoms which can have a great impact on physical and mental health and work efficiency. In the past, researchers have found that job demands were a cause of job burnout but it can eliminated by accommodate job resources. According to the Job Demands-Resources Model (JD-R model), this study aim to examined and verified the Job Demands-Resources Model which (a) workload as a job demand and (b) social support in the workplace as a job resource. Moreover, this study was added problem-focused coping strategy represents as a personal resource which expected that problem-focused coping strategy would decrease the relation between workload and job burnout. As the purpose of this study was to test the buffering effect of social support in workplace and problem-focused coping strategy on the relationship between workload and job burnout data were collected by an online survey from 260 civil servants in a government sector in Thailand. The results showed a significant three-way interaction (β = -1.55 p < 0.05) where a positive effect of workload on job burnout is diminished when civil servants have high social support and problem-focused coping strategy. The findings provided a theoretical implication by examining an interaction of job and personal resources as a buffering effect on a positive relationship between workload and job burnout.
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.relation.uri http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2020.1368
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject ความเหนื่อยหน่าย (จิตวิทยา)
dc.subject ลูกจ้าง -- ภาระงาน
dc.subject Burn out (Psychology)
dc.subject Employees -- Workload
dc.subject.classification Psychology
dc.title ความสัมพันธ์ระหว่างภาระงานกับความเหนื่อยหน่ายในงาน โดยมีกลยุทธ์การเผชิญปัญหาแบบมุ่งเน้นการแก้ไขปัญหาและการสนับสนุนทางสังคมภายในองค์การเป็นตัวแปรกำกับ
dc.title.alternative Relationships between workload and job burnout: the moderating roles of social support in workplace and problem focused coping strategy
dc.type Thesis
dc.degree.name ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline จิตวิทยา
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.THE.2020.1368


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record