dc.contributor.advisor |
อารีย์วรรณ อ่วมตานี |
|
dc.contributor.author |
อ้อมใจ บุญยิ่ง |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2021-09-21T05:01:01Z |
|
dc.date.available |
2021-09-21T05:01:01Z |
|
dc.date.issued |
2563 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/75729 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563 |
|
dc.description.abstract |
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการศึกษาสมรรถนะตามหน้าที่ของพยาบาลออร์โธปิดิกส์ โรงพยาบาลระดับตติยภูมิ โดยใช้เทคนิคการวิจัยแบบ Ethnographic Delphi Futures Research (EDFR) ผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 20 คน ประกอบด้วย 1) ผู้เชี่ยวชาญด้านการรักษาคือแพทย์เฉพาะทางออร์โธปิดิกส์ 3 คน 2) ผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหาร คือพยาบาลออร์โธปิดิกส์ระดับหัวหน้าหอผู้ป่วย 4 คน 3) ผู้เชี่ยวชาญด้านการปฏิบัติการพยาบาลออร์โธปิดิกส์ คือพยาบาลออร์โธปิดิกส์ระดับปฏิบัติการ 6 คน 4) ผู้เชี่ยวชาญด้านวิชาการ คืออาจารย์พยาบาลด้านออร์โธปิดิกส์ทางคลินิก 3 คนและ 5) ผู้เชี่ยวชาญด้านการปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูงคือ พยาบาลผู้ปฏิบัติการขั้นสูงสาขาการพยาบาลออร์โธปิดิกส์ วิธีดำเนินการวิจัยประกอบด้วยการเก็บข้อมูล 3 รอบ คือ รอบที่ 1การสัมภาษณ์เกี่ยวกับสมรรถนะตามหน้าที่ของพยาบาลออร์โธปิดิกส์ โรงพยาบาลตติยภูมิ 4 ระดับได้แก่ พยาบาลวิชาชีพระดับปฏิบัติการ ระดับชำนาญการ ระดับชำนาญการพิเศษ และ ระดับเชี่ยวชาญ รอบที่ 2 นำข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์มาวิเคราะห์เนื้อหาแล้วนำมาสร้างแบบสอบถามให้ผู้เชี่ยวชาญประมาณค่าแนวโน้มความสำคัญของสมรรถนะตามหน้าที่ของพยาบาลออร์โธปิดิกส์ โรงพยาบาลตติยภูมิ แต่ละด้านและรอบที่ 3 นำข้อมูลที่ได้จากรอบที่ 2 มาคำนวณค่ามัธยฐานค่าพิสัยระหว่างควอไทล์จัดทำเป็นแบบสอบถามให้ผู้เชี่ยวชาญยืนยันความคิดเห็นเพื่อสรุปผลการศึกษาสมรรถนะตามหน้าที่ของพยาบาลออร์โธปิดิกส์ โรงพยาบาลระดับตติยภูมิ ผลการวิจัยพบว่าการศึกษาสมรรถนะตามหน้าที่ของพยาบาลออร์โธปิดิกส์ โรงพยาบาลระดับตติยภูมิ แต่ละระดับ ประกอบด้วยสมรรถนะ 6 ด้าน ดังนี้ 1) ด้านการปฏิบัติการพยาบาลออร์โธปิดิกส์ 2) ด้านการให้ข้อมูลและคำปรึกษาทางคลินิก 3) ด้านการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ทางออร์โธปิดิกส์ 4) ด้านการจัดการความเสี่ยงทางออร์โธปิดิกส์ 5) ด้านการสื่อสารและใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และ 6) ด้านการพัฒนาคุณภาพการพยาบาล พยาบาลปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยออร์โธปิดิกส์ทั้ง 4 ระดับ จะมีสมรรถนะเหล่านี้แตกต่างกัน โดยสรุปดังนี้ พยาบาลออร์โธปิดิกส์ระดับปฏิบัติการ สามารถให้การพยาบาลผู้ป่วยออร์โธปิดิกส์และปฏิบัติงานอื่นๆในระดับพื้นฐาน พยาบาลออร์โธปิดิกส์ระดับชำนาญการ สามารถนำความรู้เชิงลึกมาใช้ในการพยาบาลผู้ป่วยออร์โธปิดิกส์ที่มีภาวะซับซ้อนและวิกฤติและปฏิบัติงานร่วมกับทีมสหสาขาวิชาชีพได้อย่างมีประสิทธิภาพ พยาบาลออร์โธปิดิกส์ระดับชำนาญการพิเศษ สามารถแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ สามารถนิเทศทางการพยาบาล และพัฒนาคุณภาพการพยาบาลจากหลักฐานเชิงประจักษ์ได้ พยาบาลออร์โธปิดิกส์ระดับเชี่ยวชาญ สามารถเป็นที่ปรึกษาการพยาบาลผู้ป่วยออร์ปิดิกส์ ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาและเผยแพร่นวัตกรรมทางการพยาบาลออร์โธปิดิกส์ได้ |
|
dc.description.abstractalternative |
The purpose of this study was to explore a creating the functional competency of nurses working at an orthopedic unit, tertiary hospital. The Ethnographic Delphi Futures Research (EDFR) Technique was used in this study. Participants were 20 orthopedic experts, including 3 physicians, 4 nursing administrators, 4 nursing instructors, and 3 advance practice nurses in tertiary hospital. The EDFR Technique consisted of 3 steps. Step 1: Experts were interviewed about creating the functional competency of nurses working at an orthopedic unit, tertiary hospital. Step 2: Data from step 1 were analyzed using content analysis. Then, the rating scale questionnaire on sub-elements in each item were created. All items in the questionnaire were rated by all experts. Step 3: Data were analyzed using median and interquartile range. Then, the questionnaire with the median and interquartile range of each item was sent to the same experts for their confirmation. Data were analyzed again using median and interquartile range to summarize a creating the functional competency of nurses working at an orthopedic unit, tertiary hospital. The functional competency of nurses working at an orthopedic unit, tertiary hospital were classified in to 6 components: 1) Orthopedic nursing, 2) Providing information and counseling, 3) Using orthopedic equipment and appliance, 4) Risk management 5) Communication and using information technology and 6) Quality improvement. The four levels of nurses working at an orthopedic unit have same major competency but different details as follows: Practitioner Level: Nurses can provide orthopedic nursing and other basic nursing procedures. Professional Level: Nurses can apply in-depth knowledge to care for complexed signs and symptoms of critical orthopedic patients and work effectively with multidisciplinary team. Senior Professional Level: Nurses can solve any urgent problem immediately and efficiently, supervise nursing staff and improve nursing quality with empirical evidences. Expert Level: Nurses can be a consultant of orthopedic nursing care, promote and support nursing staff to develop and disseminate innovations of orthopedic nursing care. |
|
dc.language.iso |
th |
|
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.relation.uri |
http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2020.891 |
|
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.subject |
การพยาบาลออร์โทพีดิกส์ |
|
dc.subject |
พยาบาล -- การทำงาน |
|
dc.subject |
Orthopedic nursing |
|
dc.subject |
Nurses -- Work |
|
dc.subject.classification |
Nursing |
|
dc.title |
การศึกษาสมรรถนะตามหน้าที่ของพยาบาลออร์โธปิดิกส์ โรงพยาบาลระดับตติยภูมิ |
|
dc.title.alternative |
A study of the funtional competency of orthopedic nurses, a tertiary hospital |
|
dc.type |
Thesis |
|
dc.degree.name |
พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต |
|
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
|
dc.degree.discipline |
พยาบาลศาสตร์ |
|
dc.degree.grantor |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.identifier.DOI |
10.58837/CHULA.THE.2020.891 |
|