DSpace Repository

การต่อรองกับแนวคิดมนุษย์เป็นศูนย์กลาง : กรณีศึกษานวนิยายร่วมสมัยที่มีสัตว์เป็นผู้เล่าเรื่อง

Show simple item record

dc.contributor.advisor สุรเดช โชติอุดมพันธ์
dc.contributor.advisor ตรีศิลป์ บุญขจร
dc.contributor.author กิตติกานต์ หะรารักษ์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์
dc.date.accessioned 2021-09-21T05:10:15Z
dc.date.available 2021-09-21T05:10:15Z
dc.date.issued 2563
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/75799
dc.description วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563
dc.description.abstract วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์การต่อรองกับแนวคิดมนุษย์เป็นศูนย์กลางของนวนิยายที่เล่าผ่านมุมมองของสัตว์สามเรื่อง ได้แก่ อะ ด็อกส์ เพอร์โพส โดย ดับเบิลยู. บรูซ แคเมอรอน, เดลตา เดอะ แดนซิง เอลิเฟนท์ : อะ เมมมัวร์ โดย เค. เอ. มอนโร. และ เดอะ ทราเวลลิง แคต ครอนิเคิลส์ โดย ฮิโระ อะริกะวะ ผลการศึกษาพบว่านวนิยายทั้งสามเรื่องเสนอให้สัตว์ต่อรองกับแนวคิดมนุษย์เป็นศูนย์กลางในมิติเรื่อง ภาษา เหตุผล และจริยธรรม สำหรับในมิติของภาษา นวนิยายทั้งสามเรื่องเสนอให้เห็นว่าสัตว์ต่อรองกับคุณค่าที่มนุษย์กำหนดให้กับพวกมัน เช่น การเป็นสินค้าหรือการเป็นภาพแทนของสิ่งที่มนุษย์ปรารถนา โดยตัวละครสัตว์สามารถวิพากษ์วิจารณ์หรือชี้แจงต่อการถูกกำหนดนิยามดังกล่าว ต่อมาในมิติเรื่องเหตุผล นวนิยายทั้งสามเรื่องเสนอให้เห็นความสามารถในการคิดและการตระหนักรู้ของสัตว์ สิ่งที่ถูกเสนอในมิตินี้นำไปสู่การปลูกฝังให้มนุษย์เกิดความเห็นอกเห็นใจต่อสิ่งมีชีวิตอื่นเพราะมนุษย์เล็งเห็นคุณสมบัติที่สายพันธุ์มนุษย์มีร่วมกับสายพันธุ์เหล่านั้น สำหรับมิติด้านจริยธรรม นวนิยายสะท้อนให้เห็นว่าสัตว์สามารถแสดงออกในเชิงจริยธรรมได้ แม้ว่าการแสดงออกดังกล่าวจะถูกขับเคลื่อนด้วยสัญชาตญาณ นอกจากนี้ การพิจารณาสัตว์อย่างใคร่ครวญยังอาจทำให้มนุษย์ตระหนักรู้ถึงแง่มุมด้านจริยธรรมของพวกเขา อย่างไรก็ตาม ผลการศึกษาพบว่า นวนิยายทั้งสามเรื่องข้างต้นยังไม่สามารถก้าวข้ามแนวคิดมนุษย์เป็นศูนย์กลางได้อย่างสมบูรณ์ เนื่องจากตัวละครสัตว์ยังคงถูกมนุษย์ควบคุมผ่านการทำให้ตัวละครสัตว์เหล่านี้ต้องพึ่งพิงมนุษย์ หรือทำให้มนุษย์ยอมรับ  
dc.description.abstractalternative This thesis aims to study the methods that novels with animal narrators use to negotiate with anthropocentrism. Three novels investigated in this study are A Dog's Purpose by W. Bruce Cameron, Delta the Dancing Elephant: A Memoir by K.A. Monroe and The Travelling Cat Chronicles by Hiro Arikawa. These three novels negotiate with anthropocentrism in three dimensions, i.e. language, reason, and ethics. To begin with, in the dimension of language, each novel shows that animals try to negotiate with the values given by human beings by criticizing those given values. Next, in the dimension of reason, each selected novel presents animals' capabilities in thinking and reasoning, as well as their self-awareness. This study argues that the aim of presenting those animals' capabilities is to cultivate sympathy for other beings since it shows the qualities mankind shares with other species. In the dimension of ethics, the study argues that animals can perform ethical actions even if those actions are driven by instinct; it also argues that ethical self-reflexiveness may happen to those who pay attention to the relationship between themselves and other animals. However, this study also presents that these three novels cannot transcend anthropocentrism because animal narrators are controlled by human beings. They still need human assistance and acceptance.
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.relation.uri http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2020.984
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject.classification Arts and Humanities
dc.title การต่อรองกับแนวคิดมนุษย์เป็นศูนย์กลาง : กรณีศึกษานวนิยายร่วมสมัยที่มีสัตว์เป็นผู้เล่าเรื่อง
dc.title.alternative Negotiating anthropocentrism : a case study of contemporary novels with animal narrators
dc.type Thesis
dc.degree.name อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline วรรณคดีเปรียบเทียบ
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.THE.2020.984


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record