DSpace Repository

ปัญหาความเป็นสัญญาของทรัสต์ : ศึกษาร่างพระราชบัญญัติทรัสต์เพื่อการจัดการทรัพย์สินส่วนบุคคล พ.ศ. ...

Show simple item record

dc.contributor.advisor สุรัชดา รีคี
dc.contributor.author ภัทรางค์ วิชุพงษ์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
dc.date.accessioned 2021-09-21T06:01:49Z
dc.date.available 2021-09-21T06:01:49Z
dc.date.issued 2563
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/75963
dc.description วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563
dc.description.abstract ในปี 2561 ร่างพระราชบัญญัติทรัสต์เพื่อการจัดการทรัพย์สินส่วนบุคคล พ.ศ. .... ได้ผ่านการอนุมัติโดยที่ประชุมคณะรัฐมนตรี และอยู่ระหว่างขั้นตอนการพิจารณาร่างกฎหมายดังกล่าว โดยเหตุผลในการตราร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวก็เพื่อนำทรัสต์มาใช้เป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการทรัพย์สินส่วนบุคคล ในวิทยานิพนธ์นี้มุ่งศึกษาปัญหาเกี่ยวกับความเป็นสัญญาของทรัสต์ โดยมีสมมติฐานว่า ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวมีความไม่ชัดเจนเกี่ยวกับความเป็นนิติกรรมสัญญา สถานะทางกฎหมายของกองทรัสต์ และลักษณะสิทธิเหนือกองทรัสต์ของทรัสตีและผู้รับประโยชน์ ดังนั้นจึงควรมีการปรับปรุงแก้ไขร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวเพื่อให้สามารถปรับใช้หลักการของทรัสต์ได้เป็นระบบและเหมาะสม และในการศึกษาวิจัยนี้ได้ใช้ระเบียบวิธีการศึกษาแบบวิธีการค้นคว้าและรวบรวมข้อมูลแบบวิจัยเอกสาร และได้ศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายทรัสต์ของอังกฤษ โรมัน และญี่ปุ่น ผลการศึกษาพบว่า ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวข้างต้น ให้คำนิยามของคำว่า “ทรัสต์” ไม่ครบถ้วนเพราะไม่ครอบคลุมถึงบ่อเกิดของทรัสต์โดยพินัยกรรม และมิได้บัญญัติในส่วนของประเด็นมูลฐานของนิติกรรมสัญญาหลายประเด็น จะต้องนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ซึ่งเป็นกฎหมายทั่วไปมาปรับใช้เพื่ออุดช่องว่างของกฎหมาย นอกจากนี้ มิได้ปรากฏชัดเจนว่ากองทรัสต์มีสถานะทางกฎหมายอย่างไร พบว่า ทรัสต์เป็นกองทรัพย์สิน แต่มิใช่กองทรัพย์สินโดยทั่วไป การพิจารณาลักษณะของกองทรัสต์ต้องพิจารณามาตรา 12 (2) ประกอบมาตรา 28 วรรคสอง และมาตรา 53 อีกประการหนึ่ง คือ ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวมีความไม่ชัดเจนเกี่ยวกับลักษณะสิทธิหนือกองทรัสต์ของทรัสตีและผู้รับประโยชน์ พบว่า ทรัสตีเป็นเจ้าของกองทรัสต์ ดังนั้นจึงมีลักษณะเป็นทรัพยสิทธิ แต่เป็นทรัพยสิทธิที่มีการจำกัดอำนาจกรรมสิทธิ์เฉพาะตามที่ร่างพระราชบัญญัติกำหนด ส่วนผู้รับประโยชน์มิใช่ผู้มีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินของกองทรัสต์ จึงมีลักษณะเป็นบุคคลสิทธิ โดยสิทธิติดตามเอาทรัพย์สินคืนจากบุคคลภายนอกตามมาตรา 47 วรรคสอง มิได้มีฐานจากกรรมสิทธิ์ แต่เป็นสิทธิที่ร่างกฎหมายกำหนดไว้เฉพาะกรณีที่ทรัสตีจัดการกองทรัสต์โดยมิชอบ ดังนั้นจึงสมควรแก้ไขถ้อยคำบางประการตามมาตรา 3 มาตรา 47 วรรคสองและมาตราอื่นที่เกี่ยวขัอง รวมทั้งเพิ่มเติมบทบัญญัติเฉพาะเกี่ยวกับทรัพยสิทธิของทรัสตี
dc.description.abstractalternative In 2018, the Draft Bill on trust for the purpose of personal asset management received the approval from the cabinet, and then was entered into the legislative process. The main objective of this Draft Bill is to allow for the creation of trusts for aforementioned purpose. This research project considers the issue of trusts and the laws of contract. The hypothesis is that there are unclear issues of trust relating to trusts under the Draft Bill in relation to the provisions of juristic act and contract, legal status of trust funds, and nature of the rights of trustees and beneficiaries. Thus, the provisions of the Draft Bill should be revised systematically and properly. In order to prove the hypothesis, the author has undertaken documentary research and adopted a comparative analysis with English law Roman law, and Japanese law. The research has found that the definition of “trust” is incomplete since it does not include trusts created by will. Moreover, the Draft Bill does not provide the general provisions applicable to contract, so that, in order to fill the gaps in the law, the provisions under the Civil Commercial Code shall be applied. In addition, the Draft Bill does not provide for the legal status of trusts. It is found that trust funds are patrimonies but not trustees’ general patrimonies. To understand the nature of trust funds, Section 12 (2), paragraph 2 of Section 28, and Section 53 have to be considered systematically. Furthermore, there is a lack of clarity regarding the nature of the rights of trustees and beneficiaries. The research has found that trustees are the owners of trust property so that rights of trustees are rights in rem, restricted by the provisions of the Draft Bill. In contrast, the rights of beneficiaries are rights in personam because beneficiaries are not the owners of trust property. With respect to paragraph 2 of Section 47 of the Draft Bill, beneficiaries’ rights to follow and recover trust property from third parties are limited to rights provided by the Draft Bill only in the case where trustees dispose of trust property in breach of trust agreement, and as such, these rights are not on the basis of ownership rights. Accordingly, the author proposes a potential solution as follows: (1) revise some wording in the Section 3, paragraph 2 of Section 47 and related provisions of the Draft Bill; (2) add the provision regarding nature of trustees’ rights.
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.relation.uri http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2020.824
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject ทรัพย์สิน
dc.subject กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ -- ทรัพย์สิน
dc.subject Property
dc.subject Civil and commercial law -- Property
dc.subject.classification Social Sciences
dc.title ปัญหาความเป็นสัญญาของทรัสต์ : ศึกษาร่างพระราชบัญญัติทรัสต์เพื่อการจัดการทรัพย์สินส่วนบุคคล พ.ศ. ...
dc.title.alternative Legal problems regarding trust as a contract: study the draft bill on trusts for the purpose of personal asset management
dc.type Thesis
dc.degree.name นิติศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline นิติศาสตร์
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.THE.2020.824


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record