dc.contributor.advisor |
คณพล จันทน์หอม |
|
dc.contributor.author |
ชุติกาญจน์ ชาญเชิงพานิช |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2021-09-21T06:01:51Z |
|
dc.date.available |
2021-09-21T06:01:51Z |
|
dc.date.issued |
2563 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/75967 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563 |
|
dc.description.abstract |
วิทยานิพนธ์เล่มนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา มาตรการทางกฎหมายในการปฏิบัติต่อผู้ต้องโทษซึ่งป่วยทางจิตภายหลังศาลพิพากษาโดยศึกษาสภาพปัญหาการบังคับตามคำพิพากษาที่ไม่สามารถคุ้มครองสิทธิของผู้ต้องโทษที่ป่วยทางจิตได้ตามกฎหมายไทยและมาตรการกฎหมายในกระบวนการชั้นราชทัณฑ์ในการปฏิบัติต่อผู้ต้องโทษจำคุกที่ป่วยทางจิต โดยศึกษาแนวคิดและแนวทางของต่างประเทศ เพื่อวิเคราะห์และแสวงหามาตรการทางกฎหมายที่เหมาะสมนำมาปรับปรุงแก้ไขอันทำให้สามารถให้ความคุ้มครองแก่ผู้ป่วยทางจิตและสังคมมากขึ้น มาตรการกฎหมายในการปฏิบัติต่อผู้ต้องโทษที่ป่วยทางจิตภายหลังศาลพิพากษา ในด้านการบังคับตามคำพิพากษากรณีผู้ต้องโทษเพิ่งปรากฏอาการป่วยทางจิตหลังมีคำพิพากษาตามกฎหมายไทยนั้น ยังมีข้อบกพร่องบางประการที่ไม่สามารถคุ้มครองสิทธิของผู้ต้องโทษที่ป่วยทางจิต เนื่องจากกฎหมายไม่ให้อำนาจแก่ศาลในการสั่งทุเลาการบังคับโทษกักขังได้ และกรณีศาลมีคำสั่งทุเลาการบังคับโทษจำคุกกรณีที่จำเลยวิกลจริตยังไม่มีการประกาศกำหนดให้สถานบำบัดทางจิตเป็นสถานที่อันควรนอกเรือนจำที่ใช้ในการทุเลาการบังคับโทษจำคุกสำหรับจำเลยที่วิกลจริต อีกทั้งมาตรการในการดำเนินการในชั้นราชทัณฑ์ ไม่มีการกำหนดกรอบระยะเวลาในการส่งตัวผู้ต้องโทษที่ป่วยทางจิตไปรักษานอกเรือนจำ และไม่มีหลักเกณฑ์ที่ชัดเจนในการรับดูแลผู้ป่วยดังกล่าวโดยบุคคลอื่น อันทำให้ไม่สามารถให้ความคุ้มครองแก่ผู้ต้องโทษที่ป่วยทางจิตได้ ด้วยเหตุที่กล่าวมาในข้างต้น จึงขอเสนอให้แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาและพระราชบัญญัติสุขภาพจิต พ.ศ. 2551 โดยกำหนดให้ศาลมีอำนาจสั่งทุเลาการบังคับโทษกักขังได้ในกรณีจำเลยวิกลจริต และกำหนดให้สถานบำบัดทางจิตเป็นสถานที่อันควรนอกเรือนจำที่ใช้ในการทุเลาการบังคับโทษจำคุกสำหรับจำเลยที่วิกลจริต และเพิ่มเติมมาตรการให้บุคคลที่ป่วยทางจิตมีผู้รับดูแลและมีการติดตามดูแลหลังจากปล่อยตัวออกจากสถานบำบัด ซึ่งมาตรการเหล่านี้จะทำให้สามารถให้การคุ้มครองผู้ต้องโทษที่ป่วยทางจิตให้ได้รับการรักษาอาการป่วยทางจิตของตนและช่วยคุ้มครองสังคมจากการกระทำความผิดของบุคคลที่ป่วยทางจิตมากขึ้น |
|
dc.description.abstractalternative |
The objectives of this research are to study about legal measures for prisoners who become mentally ill after receiving the verdicts in the aspects of the problems that legal measures are unable to protect mentally ill prisoners’ rights according to Thai Law and legal measures in the process of the Corrections, also searching for appropriate legal measures from other countries which can be applied or adopted to improve legal measures for protecting mentally ill prisoners and society. According to studies, it has been found that there are deficiencies in legal measures in terms of judgement execution for prisoners who become mentally ill after receiving the verdicts in that the legal measures are unable to protect mentally ill prisoners’ rights. The reasons that legal measures are unable to protect mental disorder prisoners’ rights are that there are no existence of laws stating that the court shall have power to give the order of respite for detention in case the accused person is insane, there is no determination that mental health infirmary is the proper place besides penitentiary in case the court have power to order of respite for imprisonment in case the accused person is insane, legal measures in the process of the Corrections has no time frame for removing mentally ill prisoners to hospital. Therefore, the deficient clarity in these legal measures cause the mentally ill prisoners will not be protected properly. For these reasons, this research recommends to amend Code of Criminal Procedure and Mental Health Act, B.E. 2551 by establishing provision that the court shall have power to give the order of respite for detention in case the accused person is insane, determining that mental health infirmary is the proper place besides penitentiary to respite for imprisonment in case the accused person is insane, and determining the measure that mentally ill person is supervised by caregiver and follow-up discharge the said patient from the infirmary. These legal measures will result in proper protection for mentally ill prisoners and society to be without of crimes committed by mentally ill persons. |
|
dc.language.iso |
th |
|
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.relation.uri |
http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2020.838 |
|
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.subject |
นักโทษป่วยทางจิต |
|
dc.subject |
นักโทษ -- สิทธิของพลเมือง |
|
dc.subject |
วิธีพิจารณาความอาญา |
|
dc.subject |
พระราชบัญญัติสุขภาพจิต พ.ศ. 2551 |
|
dc.subject |
Mentally ill prisoners |
|
dc.subject |
Prisoners -- Civil rights |
|
dc.subject |
Criminal procedure |
|
dc.subject.classification |
Multidisciplinary |
|
dc.title |
มาตรการทางกฎหมายในการปฏิบัติต่อผู้ต้องโทษที่ป่วยทางจิตภายหลังศาลพิพากษา |
|
dc.title.alternative |
Legal measures for mentally ill prisoners after judgement |
|
dc.type |
Thesis |
|
dc.degree.name |
นิติศาสตรมหาบัณฑิต |
|
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
|
dc.degree.discipline |
นิติศาสตร์ |
|
dc.degree.grantor |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.identifier.DOI |
10.58837/CHULA.THE.2020.838 |
|