DSpace Repository

การกำหนดโทษทางอาญาในกฎหมายควบคุมมลพิษของไทย

Show simple item record

dc.contributor.advisor ปารีณา ศรีวนิชย์
dc.contributor.author ฐิติพร เจริญสุข
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
dc.date.accessioned 2021-09-21T06:01:54Z
dc.date.available 2021-09-21T06:01:54Z
dc.date.issued 2563
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/75973
dc.description วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563
dc.description.abstract วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาถึงการกำหนดโทษทางอาญาในกฎหมายควบคุมมลพิษของประเทศไทย โดยโรงงานอุตสาหกรรมก่อให้เกิดทั้งมลพิษทางอากาศ มลพิษทางน้ำและมลพิษที่เกี่ยวกับของเสียอันตราย อันก่อให้เกิดผลกระทบและความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อมและมนุษย์ในวงกว้าง ซึ่งถือได้ว่าการที่โรงงานอุตสาหกรรมก่อให้เกิดมลพิษดังกล่าวเป็นการก่ออาชญากรรมสิ่งแวดล้อมขึ้นแล้ว จึงสมควรแก่การนำโทษทางอาญามาบังคับใช้ในการป้องกันและปราบปรามกรณีที่โรงงานอุตสาหกรรมได้ก่อให้เกิดมลพิษขึ้น  จากการศึกษาเป็นที่ประจักษ์ว่า ลักษณะการกระทำความผิดทางอาญาที่ปรากฏในกฎหมายควบคุมมลพิษของทั้งประเทศไทย ประเทศสาธารณรัฐฝรั่งเศส ประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีและประเทศสหรัฐอเมริกาประกอบด้วย 3 ประการ โดยการกำหนดโทษทางอาญาสำหรับความผิดเนื่องจากการก่อให้เกิดมลพิษและความผิดฐานละเว้นไม่ปฏิบัติตามมาตรการเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมมีบทบาทสำคัญในการป้องกันและปราบปรามการก่อมลพิษของโรงงานอุตสาหกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ในขณะเดียวกันการกำหนดโทษทางอาญาสำหรับความผิดฐานไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขหรือคำสั่งที่เจ้าหน้าที่รัฐกำหนดนั้นไม่เหมาะสมต่อความรุนแรงของการกระทำความผิดและไม่เป็นไปตามแนวคิดอาชญากรรมสิ่งแวดล้อมแต่อย่างใด ด้วยเหตุตามที่กล่าวข้างต้น ผู้เขียนจึงขอเสนอแนะให้ประเทศไทยสมควรกำหนดโทษทางปกครองหรือกำหนดค่าปรับเป็นพินัยสำหรับความผิดฐานไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขหรือคำสั่งที่เจ้าหน้าที่รัฐกำหนดแทนโทษทางอาญาที่ปรากฏอยู่ในกฎหมายควบคุมมลพิษในปัจจุบัน เพื่อให้สอดคล้องกับความร้ายแรงของการกระทำและตามแนวทางของกฎหมายควบคุมมลพิษของต่างประเทศ        
dc.description.abstractalternative This thesis purposely studies about criminal punishment of environmental pollution crime in Thailand. Industrial pollution such as air pollution, water pollution and hazardous waste pollution causes huge effect on environment and people’s health. It can be concluded that industries commit an environmental crime, therefore the effective and appropriate measure to prevent such action is criminal punishment. From all studied environmental pollution laws, they classified environmental criminal offences as 3 types. Criminalizing to the offence that directly harms to environment and the offence that not follows the environmental standards is suitable, and it can protect environment and people’s health from industrial pollution efficiently. Nevertheless, the offence that not follows general regulations or directives of government agents should not be criminalized because it is not harmful to environment and people. Consequently, Thailand should apply other measures such as administrative sanction or administrative fine to the last offence above instead of criminal punishment for more effectiveness, appropriation of action’s severity and according to concept of all studied foreign environmental pollution laws.
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.relation.uri http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2020.805
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject กระบวนการกำหนดโทษคดีอาญา -- ไทย
dc.subject มลพิษ -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ -- ไทย
dc.subject Sentences ‪(Criminal procedure)‬ -- Thailand
dc.subject Pollution -- Law and legislation -- Thailand
dc.subject.classification Social Sciences
dc.title การกำหนดโทษทางอาญาในกฎหมายควบคุมมลพิษของไทย
dc.title.alternative Criminal punishment of environmental pollution crime in Thailand
dc.type Thesis
dc.degree.name นิติศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline นิติศาสตร์
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.THE.2020.805


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record