Abstract:
การวิจัยในครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์เนื้อหาในสื่อของโครงการ See Amazing in All Children 2) วิเคราะห์การออกแบบสาร 3) ศึกษาการรับรู้สื่อของโครงการ และ 4) ศึกษาทัศนคติของผู้ชม การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหาและการสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้ให้ข้อมูลหลักได้แก่ นักวิชาชีพและผู้ปกครองของบุคคลที่มีภาวะออทิซึม
ผลการวิจัยพบว่า 1) เนื้อหาทั่วไปเกี่ยวกับบุคคลที่มีภาวะออทิซึม ได้แก่ ลักษณะพฤติกรรม ครอบครัว และการเตรียมความพร้อม 2) ความหลากหลายทางระบบประสาท และ 3) ความครอบคลุมทางสังคม ได้แก่ การสร้างพลังและการมีส่วนร่วมในสังคม 4) การวางโครงสร้างสารแบบอุปนัย นิรนัย และนิรนัยผสมอุปนัย 5) การลำดับสารแบบไปสู่จุดสูงสุด ย้อนจุดสูงสุด และแบบพีระมิด 6) จุดจูงใจด้วยรางวัล ด้วยแรงจูงใจ ทางอารมณ์ ได้แก่ อบอุ่น ตลกขบขัน สนุกสนาน กลัว และผสมผสาน 7) การวางกรอบทางบวกและการวางกรอบทางบวกและลบ
ผลการสัมภาษณ์ 1) ผู้ให้ข้อมูลหลักสามารถรับรู้เนื้อหา การออกแบบ และยังกล่าวถึงการนำสื่อไปใช้ประโยชน์ 2) สามารถเข้าใจสื่อของโครงการ จดจำได้ รับรู้อารมณ์จากสื่อ และเห็นประโยชน์ของพฤติกรรม 3) พ่อแม่ผ่านกระบวนการในการยอมรับลูก 4) บุคคลในสังคมมีทั้งหลายกลุ่มที่ยังไม่เข้าใจ ให้การยอมรับ และมีทัศนคติทางลบ 5) รายงานว่าสื่อของโครงการมีส่วนช่วยในการเปลี่ยนแปลงทัศนคติ 6) กลยุทธ์การรณรงค์ด้วยการสร้างความตระหนักและการทำให้เป็นเรื่องปกติ