DSpace Repository

การสื่อสารนวัตกรรมแอปพลิเคชันกับกลุ่มลูกค้าธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในประเทศไทย

Show simple item record

dc.contributor.advisor ปาริชาต สถาปิตานนท์
dc.contributor.author วรดา สมบุญตนนท์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
dc.date.accessioned 2021-09-21T06:12:03Z
dc.date.available 2021-09-21T06:12:03Z
dc.date.issued 2563
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/76082
dc.description วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563
dc.description.abstract งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบถึง การเปิดรับ การรับรู้คุณสมบัติ และพฤติกรรมในการใช้นวัตกรรมแอปพลิเคชันของกลุ่มลูกค้าอสังหาริมทรัพย์โดยจำแนกตามลักษณะทางประชากร และเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้คุณสมบัติ กับพฤติกรรมในการใช้นวัตกรรมแอปพลิเคของกลุ่มลูกค้าอสังหาริมทรัพย์ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยเก็บรวบรวมข้อมูล ด้วยวิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบตามสะดวกโดยเลือกเก็บแบบสอบถามทางออนไลน์จากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นกลุ่มประชากรชาวไทยกำหนดในรูปแบบการวัดผลครั้งเดียวจำนวน 400 ชุด ซึ่งเป็นผู้อยู่อาศัยในกลุ่มธุรกิจอสังหาริมทรัพย์โดยต้องมีอายุ 25 ปีขึ้นไป และมีการเปิดรับข้อมูลข่าวสารจากแอปพลิเคชันในกลุ่มธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในช่วงระยะเวลา 1 ปีที่ผ่านมา ซึ่งกำหนดเก็บข้อมูลในเดือนกันยายน ถึง เดือนตุลาคม 2563 ในช่วงสถานการณ์โควิด 19 โดยกลุ่มลูกค้าเป็นผู้ประกอบอสังหาริมทรัพย์ชั้นนำ และนำผลมาวิเคราะห์ใน SPSS ในการศึกษานี้ พบว่า 1) กลุ่มตัวอย่างมีการเปิดรับด้านการใช้บริการแอปพลิเคชันอสังหาริมทรัพย์ เฉลี่ยน้อยกว่า 30 นาที ต่อวัน และมีการเปิดรับข้อมูล 1-2 วัน ต่อสัปดาห์ ซึ่งผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีการติดตามหรือเปิดรับแอปพลิเคชันเกินกว่า 2 ปี 2) กลุ่มตัวอย่างมีระดับการรับรู้คุณสมบัติต่างๆ แอปพลิเคชันของกลุ่มลูกค้าอสังหาริมทรัพย์ เมื่อเฉลี่ยคะแนนแล้วโดยรวมอยู่ในระดับการรับรู้มาก ทั้ง 3 ประเด็น 3) การรับรู้คุณสมบัติและพฤติกรรมในการใช้แอปพลิเคชันของกลุ่มลูกค้าอสังหาริมทรัพย์ความสัมพันธ์เชิงบวกกับพฤติกรรมในการใช้แอปพลิเคชันของกลุ่มลูกค้าอสังหาริมทรัพย์ และมีความสัมพันธ์ในระดับสูง
dc.description.abstractalternative The purpose of this research is to study consumer exposure, product attribute perception and usage behavior of real estate application innovation by demographic characteristics as well as to explain the relationship between product attribute awareness towards usage behavior of real estate application innovation. The quantitative research was conducted via online questionnaires to collect data from 400 respondents, who were chosen by the method of convenience sampling. The respondents’ qualifications include being a real estate residence, aged over 25 years old and receiving real estate information during previous year. The questionnaires were distributed to residents of leading real estate between September and October in 2020 during the spread of COVID-19, then the result was analyzed by SPSS program. The results of this research reveal that: 1) The sampling spent less than 30 minutes per day and also 1-2 day per week. In addition, most of respondents had been following or exposing over 2 years. 2) Respondents highly perceived real estate application in 3 topics. 3) Product attribute awareness had a strong and positive correlation with usage behavior of real estate application.
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.relation.uri http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2020.771
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ -- ไทย
dc.subject โปรแกรมประยุกต์บนอุปกรณ์เคลื่อนที่
dc.subject นวัตกรรมทางธุรกิจ
dc.subject การสื่อสารทางธุรกิจ
dc.subject Real estate business -- Thailand
dc.subject Mobile apps
dc.subject Business communication
dc.subject.classification Business
dc.subject.classification Business
dc.subject.classification Business
dc.subject.classification Business
dc.title การสื่อสารนวัตกรรมแอปพลิเคชันกับกลุ่มลูกค้าธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในประเทศไทย
dc.title.alternative Communication of innovative applications for real estate business customers in Thailand
dc.type Thesis
dc.degree.name นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline นิเทศศาสตร์
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.THE.2020.771


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record