dc.contributor.advisor |
ธีรดา จงกลรัตนาภรณ์ |
|
dc.contributor.author |
สิราวรรณ พรรณสวัสดิ์ |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2021-09-21T06:12:18Z |
|
dc.date.available |
2021-09-21T06:12:18Z |
|
dc.date.issued |
2563 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/76109 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563 |
|
dc.description.abstract |
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเปิดรับข้อมูลข่าวสาร ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด ปัจจัยคุณภาพการให้บริการและความภักดีด้านพฤติกรรมและด้านทัศนคติของผู้บริโภคที่มีต่อแอปพลิเคชันการให้บริการจุดเดียวเบ็ดเสร็จแบบตอบสนองความต้องการ ตลอดจนปัจจัยการเปิดรับข้อมูลข่าวสาร ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด และปัจจัยคุณภาพการให้บริการที่สามารถพยากรณ์ความภักดีต่อบริการแอปพลิเคชันการให้บริการจุดเดียวเบ็ดเสร็จแบบตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่างที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป ที่ใช้บริการผ่านแอปพลิเคชันการให้บริการจุดเดียวเบ็ดเสร็จแบบตอบสนองความต้องการอย่างน้อย 3 ครั้ง ภายในระยะเวลา 3 เดือนที่ผ่านมา จำนวน 400 คน
ผลการวิจัยพบว่า ผู้บริโภคมีการเปิดรับข้อมูลข่าวสารอยู่ในระดับปานกลาง โดยส่วนใหญ่จะเปิดรับผ่านทางสื่อออนไลน์ และมีทัศนคติในเชิงบวกต่อการใช้งานที่ง่ายและหลากหลาย รวมถึงการระบุราคาที่ชัดเจนในการใช้บริการ และมีความพึงพอใจอยู่ในระดับสูงต่อการใช้บริการแอปพลิเคชันการให้บริการจุดเดียวเบ็ดเสร็จแบบตอบสนองความต้องการที่มีความน่าเชื่อและไว้วางใจ รวมไปถึงผู้บริโภคมีความภักดีอยู่ในระดับที่สูงมากในด้านพฤติกรรมการใช้บริการซ้ำและการแนะนำบอกต่อ เมื่อวิเคราะห์ปัจจัยพยากรณ์พบว่า ปัจจัยคุณภาพการให้บริการสามารถพยากรณ์ความภักดีในการใช้บริการแอปพลิเคชันการให้บริการจุดเดียวเบ็ดเสร็จแบบตอบสนองความต้องการได้สูงสุด รองลงมาคือ ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด ส่วนการเปิดรับข้อมูลข่าวสารไม่สามารถพยากรณ์ความภักดีในการใช้บริการแอปพลิเคชันการให้บริการจุดเดียวเบ็ดเสร็จแบบตอบสนองความต้องการได้ |
|
dc.description.abstractalternative |
The purpose of this research was to study the media and information exposure, marketing mix (4C’s), service quality and brand loyalty in terms of attitude and behavior of consumers towards one stop service on-demand applications. The factors of the media and information exposure, marketing mix, and service quality on consumer's loyalty of using one stop service on-demand applications were also predicted. This research was quantitative research conducting questionnaire for data collection from 400 respondents who aged 18 years old and above and who have used one stop service on-demand applications at least three times per month during the past 3 months.
The study showed that most consumers have exposed to media at the average level particularly via online media. They rated high attitude on easy and multiple services especially being able to view cost before using. Moreover, the respondents have high satisfaction towards using one stop service on-demand applications with trust and credibility. In the same vein, consumers have brand loyalty at a very high level in terms of behaviors such as repeatedly using and recommending one stop service on-demand applications to others. It is also found that service quality is the best factor for predicting consumer’s loyalty toward using one-stop service on-demand applications followed by marketing mix (4C’s). However, the media and information exposure cannot predict consumer’s loyalty toward using one stop service on-demand applications. |
|
dc.language.iso |
th |
|
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.relation.uri |
http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2020.791 |
|
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.subject |
ความภักดีของลูกค้า |
|
dc.subject |
Customer loyalty |
|
dc.subject.classification |
Business |
|
dc.title |
ปัจจัยพยากรณ์ความภักดีของผู้บริโภคที่มีต่อแอปพลิเคชันการให้บริการจุดเดียวเบ็ดเสร็จแบบตอบสนองความต้องการ |
|
dc.title.alternative |
Factors predicting consumer's loyalty to one stop serviceon-demand application |
|
dc.type |
Thesis |
|
dc.degree.name |
นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต |
|
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
|
dc.degree.discipline |
นิเทศศาสตร์ |
|
dc.degree.grantor |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.identifier.DOI |
10.58837/CHULA.THE.2020.791 |
|