DSpace Repository

ผลกระทบของการจัดสรรน้ำต่อระบบเศรษฐกิจ โดยใช้ตารางปัจจัยการผลิตและผลผลิตระหว่างภาค

Show simple item record

dc.contributor.advisor ดนุพล อริยสัจจากร
dc.contributor.author รุจินันท์ ขุนศรี
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเศรษฐศาสตร์
dc.date.accessioned 2021-09-21T06:22:19Z
dc.date.available 2021-09-21T06:22:19Z
dc.date.issued 2563
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/76202
dc.description วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563
dc.description.abstract ทรัพยากรน้ำเป็นปัจจัยการผลิตที่สำคัญในการผลิตสินค้าและบริการให้กับภาคเศรษฐกิจต่าง ๆ การจัดสรรทรัพยากรน้ำจึงส่งผลกระทบโดยตรงต่อระบบเศรษฐกิจ การศึกษานี้ได้พัฒนาเครื่องมือที่มีความเชื่อมโยงระหว่างภาคเศรษฐกิจและความต้องการใช้น้ำเข้าด้วยกัน โดยนำตารางปัจจัยการผลิตและผลผลิตระหว่างภาค (Multi-Regional Input-Output Model: MRIO) ของประเทศไทย ปี พ.ศ. 2555 มาผนวกกับข้อมูลปริมาณการใช้น้ำของสาขาการผลิต กลายเป็นตารางปัจจัยการผลิตและผลผลิตระหว่างภาคแบบไฮบริด (Multi-Regional Hybrid Input-Output Model) 47 สาขาการผลิต แบ่งเป็น 7 ภูมิภาค (ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคตะวันตก ภาคใต้ และกรุงเทพมหานครและปริมณฑล) วัตถุประสงค์ของการศึกษาครั้งนี้ 1) วิเคราะห์ตัวชี้วัดการใช้น้ำของสาขาการผลิต ประกอบด้วย ความต้องการใช้น้ำ ผลกระทบย้อนกลับของการใช้น้ำ และความเข้มข้นในการใช้น้ำของสาขาการผลิต และ 2) ประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจจากการจัดสรรทรัพยากรน้ำในสถานการณ์ภัยแล้ง โดยใช้เครื่องมือ Multi-Regional Hybrid Input-Output Analysis ผลการศึกษา พบว่า ภาคเกษตรกรรม (สาขาการทำนา) เป็นสาขาการผลิตที่มีความต้องการใช้น้ำมากที่สุด มีค่าผลกระทบย้อนกลับของการใช้น้ำและมีความเข้มข้นในการใช้น้ำสูง ภาครัฐควรมีแนวทางการปรับปรุงเทคโนโลยีการผลิตให้สามารถใช้น้ำในการผลิตอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น และผลการจำลองสถานการณ์จัดสรรทรัพยากรน้ำ พบว่า สถานการณ์ที่ 3 การลดการใช้น้ำภาคอุตสาหกรรมทั้งประเทศ ส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงมูลค่าผลผลิต รายได้จากการจ้างงาน และมูลค่าเพิ่มของประเทศมากที่สุด (ลดลงร้อยละ 31.03 ร้อยละ 12.39 และร้อยละ 15.67 ตามลำดับ) และสถานการณ์ที่ 2 การลดการใช้น้ำภาคเกษตรกรรมทั้งประเทศ ส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงมูลค่าผลผลิต รายได้จากการจ้างงาน และมูลค่าเพิ่มของประเทศน้อยที่สุด (ลดลงร้อยละ 0.70 ร้อยละ 1.03 และร้อยละ 1.15 ตามลำดับ) โดยภาคใต้ได้ผลกระทบมากที่สุดจากการลดการใช้น้ำภาคเกษตรกรรม นำมาสู่ประเด็นการกระจายรายได้ไม่เป็นธรรม ภาครัฐควรมีแนวทางในการชดเชยรายได้ให้แก่เกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากการจัดสรรทรัพยากรน้ำที่เปลี่ยนแปลงไป เพื่อให้เกษตรเหล่านี้มีรายได้ไม่แตกต่างจากเดิมมากนัก พร้อมทั้งปรับปรุงนโยบายให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น 
dc.description.abstractalternative Water is one of the essential resources used in economic activities. It is used as the primary inputs either directly or indirectly of all goods and services, therefore water resources allocation affects the economy. This study has developed an extended Multi Regional Input–Output Model (MRIO) of Thailand in 2012 (47 economic sectors in Thailand’s 7 regions: Northern, Northeastern, Central, Eastern, Western, Southern and Bangkok Metropolitan) to account for water usage of different sectors. The objectives of this study are 1) to calculate the Water Usage, Backward Linkage for Water Usage and Water Intensity of different sectors to determine which economic sectors consume the greatest quantities of water, both directly and indirectly. 2) to find the result of change in economic by the change in water resources allocation to address water shortage problems in Thailand using Multi-Regional Hybrid Input-Output Analysis. Results indicate that the agricultural sector is the highest Water Usage, especially paddy sector. The Backward Linkage for Water Usage and Water Intensity indicate that paddy sector is the highest water intensive sector. Water saving should focus on agricultural technology improvement and manufacturing process adjustments. The simulation water resources allocation scenarios reveal that scenario 3 (reduce water usage in industrial sectors) is the most impact on Thailand’s economic output, labor income and gross value-added (decreasing by 31.03%, 12.39% and 15.67%, respectively). On the other hand, scenario 2 (reduce water usage in agricultural sectors) is the least impact on Thailand’s economic output, labor income and gross value-added (decreasing by 0.70%, 1.03% and 1.15%, respectively). The Southern region affected by the reduction in water usage in the agricultural sector contribute to income inequality. Since agricultural sector also employs many farmers and provides a primary income source for agricultural households. Therefore, the study draws policy recommendations that are relevant to providing subsidies for farmers in the agricultural sector.
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.relation.uri https://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2020.537
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject น้ำในการเกษตร
dc.subject การจัดการความต้องการน้ำ
dc.subject Water in agriculture
dc.subject Water demand management
dc.subject.classification Economics
dc.title ผลกระทบของการจัดสรรน้ำต่อระบบเศรษฐกิจ โดยใช้ตารางปัจจัยการผลิตและผลผลิตระหว่างภาค
dc.title.alternative The economic impact of water resources management based on multi-regional input-output model
dc.type Thesis
dc.degree.name เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline เศรษฐศาสตร์
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.THE.2020.537


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record