dc.contributor.advisor |
เขมรัฐ เถลิงศรี |
|
dc.contributor.author |
ปุณศยา รอดเจริญ |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเศรษฐศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2021-09-21T06:22:20Z |
|
dc.date.available |
2021-09-21T06:22:20Z |
|
dc.date.issued |
2563 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/76204 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563 |
|
dc.description.abstract |
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาทัศนคติโดยรวมของเกษตรกรผู้ปลูกปาล์มน้ำมันที่มีต่อมาตรฐาน RSPO ศึกษาเปรียบเทียบโครงสร้างต้นทุนในการผลิตปาล์มน้ำมันระหว่างเกษตรกรที่เข้าร่วมมาตรฐาน RSPO และเกษตรกรที่ไม่เข้าร่วมมาตรฐาน RSPO และเพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเข้าร่วมมาตรฐาน RSPO ของเกษตรกรผู้ปลูกปาล์มน้ำมัน รวมทั้ง ศึกษาถึงสาเหตุและข้อจำกัดที่เกษตรกรตัดสินใจไม่เข้าร่วมมาตรฐาน RSPO โดยการศึกษาในครั้งนี้ได้ลงพื้นที่เก็บข้อมูลเกษตรกรผู้ปลูกปาล์มน้ำมันที่เข้าร่วมมาตรฐาน RSPO (กลุ่มวิสาหกิจชุมชนผลิตปาล์มน้ำมันอย่างยั่งยืนยูนิวานิช–ปลายพระยา) จำนวน 65 ราย และเกษตรกรผู้ปลูกปาล์มน้ำมันที่ไม่เข้าร่วมมาตรฐาน RSPO จำนวน 65 ราย ในอำเภอปลายพระยา จังหวัดกระบี่ โดยใช้แบบสอบถามแล้วนำมาวิเคราะห์สถิติเชิงพรรณนาและเชิงอนุมาน
ผลการศึกษาพบว่า (1) เกษตรกรที่เข้าร่วมมาตรฐาน RSPO และเกษตรกรที่ไม่เข้าร่วมมาตรฐาน RSPO มีทัศนคติต่อมาตรฐาน RSPO ที่แตกต่างกัน โดยเกษตรกรที่เข้าร่วมมาตรฐาน RSPO ค่อนข้างมีทัศนคติเชิงบวกต่อมาตรฐาน RSPO แต่เกษตรกรที่ไม่เข้าร่วมมาตรฐาน RSPO มีทัศนคติเป็นกลางต่อมาตรฐาน RSPO ไปจนถึงค่อนข้างมีทัศนคติเชิงลบต่อมาตรฐาน RSPO (2) การเปรียบเทียบโครงสร้างต้นทุนในการผลิตปาล์มน้ำมัน พบว่า ต้นทุนรวมในการทำผลิตปาล์มน้ำมันของครัวเรือนที่เข้าร่วมมาตรฐาน RSPO ต่ำกว่าครัวเรือนที่ไม่เข้าร่วมมาตรฐาน RSPO อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยเฉพาะ ครัวเรือนที่เข้าร่วมมาตรฐาน RSPO มีสัดส่วนต้นทุนค่าปุ๋ยและต้นทุนค่ายาฆ่าหญ้าและยาฆ่าแมลงต่ำกว่าครัวเรือนที่ไม่เข้าร่วมมาตรฐาน RSPO แต่ในส่วนของต้นทุนค่าดูแลรักษาสวนปาล์มน้ำมันกลับพบว่าครัวเรือนที่เข้าร่วมมาตรฐาน RSPO มีสัดส่วนต้นทุนค่าดูแลรักษาสวนปาล์มน้ำมันสูงกว่าครัวเรือนที่ไม่เข้าร่วมมาตรฐาน RSPO (3) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเข้าร่วมมาตรฐาน RSPO ของเกษตรกรผู้ปลูกปาล์มน้ำมัน ได้แก่ เพศของหัวหน้าครัวเรือน ระดับการศึกษาของหัวหน้าครัวเรือน ทัศนคติเชิงบวกต่อมาตรฐาน RSPO และทัศนคติเชิงลบต่อมาตรฐาน RSPO และ(4) สาเหตุที่เกษตรกรผู้ปลูกปาล์มน้ำมันตัดสินใจไม่เข้าร่วมมาตรฐาน RSPO คือ เกษตรกรบางส่วนไม่รู้จักมาตรฐาน RSPO และสำหรับเกษตรกรที่รู้จักมาตรฐาน RSPO แต่ยังคงตัดสินใจไม่เข้าร่วมเนื่องมาจากหลายสาเหตุ เช่น เกษตรกรคิดว่ามาตรฐาน RSPO มีขั้นตอนยุ่งยากและซับซ้อน เกษตรกรมีความเข้าใจผิดเกี่ยวกับมาตรฐาน RSPO ในหลายประเด็น และเกษตรกรขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรฐาน RSPO เป็นต้น
ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่า เกษตรกรทั้งสองกลุ่มมีทัศคติต่อมาตรฐาน RSPO ที่แตกต่างกัน โดยปัจจัยที่ทำให้เกษตรกรมีการตัดสินใจเข้าร่วมมาตรฐาน RSPO ที่แตกต่างกันเป็นผลมาจากปัจจัยด้านเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือนและปัจจัยด้านทัศนคติของเกษตรกร ดังนั้นภาครัฐและหน่วยงานที่กำกับดูแลมาตรฐาน RSPO ควรเน้นการประชาสัมพันธ์และให้ข้อมูลที่ถูกต้องเกี่ยวกับมาตรฐาน RSPO แก่เกษตรกรผู้ปลูกปาล์มน้ำมัน เนื่องจากเกษตรกรกำลังเผชิญปัญหาความไม่สมมาตรของข้อมูลและมีการรับรู้ข่าวสารที่แตกต่างกัน นอกจากนี้ ควรเร่งผลักดันให้เกิดความร่วมมือที่เข้มแข็งระหว่างโรงสกัดน้ำมันปาล์มและผู้ประกอบลานเทในพื้นที่เพื่อเป็นตัวกลางให้รับซื้อผลผลิตที่ผ่านมาตรฐาน RSPO |
|
dc.description.abstractalternative |
The main purpose of the thesis is to investigate factors affecting oil palm growers’ decision to join the RSPO (Standard for Sustainable Oil Palm Production) using primary data obtained from 130 randomly selected oil palm growers in Plai Phraya District, Krabi Province, Thailand. Comparisons of growers’ attitude towards RSPO, including cost and net revenue obtained by growers who joined the standard and did not join were conducted.
The main findings are as follows. Firstly, both groups of oil palm growers had different attitudes towards the RSPO standard. Growers who joined RSPO standard had a relatively positive attitude towards the RSPO standard, while those who did not join had either neutral attitude or a rather negative attitude towards the RSPO standard. Secondly, households that joined RSPO standard experienced lower total cost of oil palm plantation than those that did not join, especially on items such as fertilizer costs and herbicide and pesticide costs. On the other hand, households that joined RSPO standard had a higher proportion of maintenance costs than those that did not join. Thirdly, results from probit regressions revealed that positive attitude toward RSPO standard and education of head of the household, had significant positive effects on the decision to join RSPO standard. However, gender of head of the household and negative attitude toward RSPO standard exerted significant negative effects on the decision to join RSPO standard. Finally, there were several reasons why the growers who knew about the RSPO standard but still decided not to join, for examples, growers perceived the RSPO standard as a complicated process, some had misperceptions and lacked understanding of the RSPO standard.
To conclude, the results suggested that both groups of oil palm growers had different attitudes towards the RSPO standard. The socio-economic factors of the households and the attitude of the growers significantly affected the growers’ decision whether to join or not to join the standard. Therefore, to increase the number of participants in RSPO, the government and RSPO institution ought to promote and provide correct information about the RSPO standard to oil palm growers as many of whom were facing problems of information asymmetry. In addition, strengthening cooperation between palm oil mills and local middleman who had strong ties with local growers could help address logistic problem and increase the number of RSPO growers. |
|
dc.language.iso |
th |
|
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.relation.uri |
https://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2020.535 |
|
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.subject |
อุตสาหกรรมปาล์มน้ำมัน -- ไทย -- กระบี่ |
|
dc.subject |
Oil palm -- Thailand -- Krabi |
|
dc.subject.classification |
Economics |
|
dc.title |
ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเข้าร่วมมาตรฐาน RSPO ของเกษตรกรผู้ปลูกปาล์มน้ำมัน
ในจังหวัดกระบี่ ประเทศไทย |
|
dc.title.alternative |
Factors affecting the decision to join RSPO standard of oil palm growers
In Krabi province, Thailand |
|
dc.type |
Thesis |
|
dc.degree.name |
เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต |
|
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
|
dc.degree.discipline |
เศรษฐศาสตร์ |
|
dc.degree.grantor |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.subject.keyword |
ปาล์มน้ำมัน |
|
dc.identifier.DOI |
10.58837/CHULA.THE.2020.535 |
|