DSpace Repository

การศึกษาการใช้เซลล์ไฟโบรบลาสต์จากแผลเป็นหลังการผ่าตัดคลอดในการเป็นเซลล์พี่เลี้ยงของเซลล์ต้นกำเนิดพลูริโพเทนต์ของมนุษย์

Show simple item record

dc.contributor.advisor กำธร พฤกษานานนท์
dc.contributor.advisor รัฐจักร รังสิวิวัฒน์
dc.contributor.author วิภาวี ปวราจารย์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
dc.date.accessioned 2021-09-21T06:28:36Z
dc.date.available 2021-09-21T06:28:36Z
dc.date.issued 2558
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/76279
dc.description วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558
dc.description.abstract จุดประสงค์เพื่อศึกษาการใช้เซลล์ไฟโบรบลาสต์จากแผลเป็นหลังการผ่าตัดคลอด (HSFs) ในการเป็นเซลล์พี่เลี้ยงร่วมกับเซลล์ต้นกำเนิดพลูริโพเทนต์ของมนุษย์ (hPSCs)  กลุ่มควบคุมคือเซลล์ไฟโบรบลาสต์จากผิวหนังหุ้มองคชาตของทารก (HFFs) ตรวจสอบคุณสมบัติของ HSFs ได้แก่ ลักษณะทางกายภาพ, ความสามารถในการแบ่งตัวโดย BrdU proliferation assay, การแสดงออกของ supportive feeder markers โดย q-PCR, วัดปริมาณการสร้าง bFGF โดย ELISA และทดสอบ colony forming unit assay (CFU)  ทดลองใช้ HSFs เป็นเซลล์พี่เลี้ยงของ hPSCs (Chula2.hES, PFX#12) และตรวจสอบ hPSCs หลังการเลี้ยง 10 passages ได้แก่ ลักษณะทางกายภาพ, คุณสมบัติพลูริโพเทนต์โดย q-PCR, immunocytochemistry  และ flow cytometry  ตรวจสอบ karyotyping และ in vitro differentiation  ผลพบว่า HSFs มีลักษณะทางกายภาพคล้ายกับ HFFs และมีสัดส่วนจำนวนเซลล์ที่ให้ผลบวกต่อ BrdU ต่อเซลล์ทั้งหมดสูงกว่า HFFs (P=0.006) มีการแสดงออกของยีน Activin A, bFGF, TGF-β1 ไม่แตกต่างกัน ส่วน HSFs มี BMP4, Collagen I, Fibronectin ต่ำกว่า HFFs (P<0.001)  HSFs สร้าง bFGF ได้ 0.033 ng/ml ใน 24 ชั่วโมง  ผล CFU พบว่าบน HSFs มีโคโลนีของ hPSCs น้อยกว่า HFFs (P=0.008)  HSFs เป็นเซลล์พี่เลี้ยงที่สนับสนุนการเจริญของ hPSCs อย่างน้อย 10 passages ได้ โดย hPSCs ที่เลี้ยงบน HSFs มีลักษณะทางกายภาพคล้ายคลึงกับ hPSCs ที่เลี้ยงบน HFFs  มี pluripotent และ differentiation marker ไม่แตกต่างกัน  มีโครโมโซมปกติและเกิดการเปลี่ยนแปลงไปเป็นเนื้อเยื่อ 3 ชั้นได้  จากผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า HSFs ใช้เป็นเซลล์พี่เลี้ยงของ hPSCs ได้ และ พบว่าเมื่อใช้ HSFs เป็นเซลล์พี่เลี้ยง สามารถเลี้ยง Chula2.hES ได้ โดยที่ไม่เติม bFGF ในน้ำยาเลี้ยงเซลล์ ดังนั้น HSFs สามารถใช้ในการเลี้ยง hPSCs ได้และมีแนวโน้มว่าสามารถเลี้ยง hPSCs ได้โดยที่ไม่จำเป็นต้องเติม bFGF ในน้ำยาเลี้ยงเซลล์
dc.description.abstractalternative This study was aimed to determine the characteristics of human cesarean scar-derived fibroblast (HSFs) and their feasibility for co-culturing with human pluripotent stem cells (hPSCs). Human foreskin fibroblasts (HFFs) were used as the control group. HSFs were studied for their morphology, proliferation by BrdU proliferation assay, the expression of supportive feeder marker by q-PCR, bFGF secretion by ELISA and colony forming unit assay (CFU). Then, hPSCs (Chula2.hES, PFX#12) were co-cultured with HSFs for 10 passages, their morphology were observed and hPSCs pluripotency were tested by q-PCR, immunocytochemistry, flow cytometry, karyotyping and in vitro differentiation. The results showed that HSFs morphology was similar to HFFs and the proliferation rate of HSFs was higher than the HFFs (P=0.006). Inactivated HSFs expressed Activin A, bFGF, TGF-β1 while BMP4, Collagen I, Fibronectin was lower than HFFs (P<0.001). The bFGF secreted by HSFs was 0.033 ng/ml in 24 hours. CFU of hPSCs on HSFs was lower than HFFs (P=0.008). HSFs could support the hPSCs more than 10 passages. Morphology and expression of pluripotent and differentiation markers of hPSCs co-cultured with HSFs were similar to HFFs and hPSCs have normal karyotype and could differentiated in vitro into embryonic three germ layers. In addition, HSFs could maintain the pluripotency of Chula2.hES without bFGF in the culture medium. In conclusion, HSFs can be used as feeder cell for co-culturing the hPSCs and bFGF supplementation may be unnecessary when using HSFs as the feeder cells for hPSCs.
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject เซลล์สร้างเส้นใย
dc.subject สเต็มเซลล์
dc.subject Fibroblasts
dc.subject Stem cells
dc.subject.classification Medicine
dc.subject.classification Medicine
dc.title การศึกษาการใช้เซลล์ไฟโบรบลาสต์จากแผลเป็นหลังการผ่าตัดคลอดในการเป็นเซลล์พี่เลี้ยงของเซลล์ต้นกำเนิดพลูริโพเทนต์ของมนุษย์
dc.title.alternative A study of human cesarean scar-derived fibroblasts as a potential feeder cells for culturing the human pluripotent stem cells
dc.type Thesis
dc.degree.name วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline วิทยาศาสตร์การแพทย์
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record