DSpace Repository

การทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุมของการฝึกปริชานปัญญาในผู้สูงอายุไทยในศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ

Show simple item record

dc.contributor.advisor วิฑูรย์ โล่ห์สุนทร
dc.contributor.advisor ชัยชนะ นิ่มนวล
dc.contributor.author มุทิตา พนาสถิตย์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
dc.date.accessioned 2021-09-21T06:28:37Z
dc.date.available 2021-09-21T06:28:37Z
dc.date.issued 2561
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/76281
dc.description วิทยานิพนธ์ (วท.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561
dc.description.abstract การฝึกปริชานปัญญาในผู้สูงอายุมีความสัมพันธ์กับการลดความเสี่ยงการเกิดภาวะสมองเสื่อม แต่ผลของการฝึกปริชานปัญญาโดยใช้คอมพิวเตอร์ประสมเชิงโต้ตอบนั้นยังไม่สามารถสรุปผลได้ การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการฝึกปริชานปัญญาในผู้สูงอายุในชุมชนโดยใช้เทคโนโลยีอย่างง่าย และออกแบบศึกษาเป็นการทดลองแบบกลุ่มและมีกลุ่มควบคุมชนิด 2 กลุ่มคู่ขนานแบบอำพรางทางเดียวโดยปกปิดผู้วัดผลลัพธ์ซึ่งเป็นนักจิตวิทยาคลินิกที่ใช้ชุดทดสอบประสาทจิตวิทยา จุดวัดผลลัพธ์แรก (treatment effect) วัดผลการทำงานของปริชานปัญญาแบบองค์รวมใช้แบบทดสอบสมรรถภาพสมองของไทย (Thai Mental State Examination ;TMSE) ภายหลังจบการฝึก ณ สัปดาห์ที่ 12 (T1) และจุดวัดผลลัพธ์ที่สอง (carryover effect) ภายหลังจบการฝึก ณ สัปดาห์ที่ 24 (T2) ผลการศึกษา มีอาสาสมัคร 86 รายจากศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุเทศบาลนครนนทบุรีผ่านเกณฑ์คัดเข้าที่ต้องมีอายุตั้งแต่ 55 ปีขึ้นไป กลุ่มทดลองมีอายุเฉลี่ย 66.66±5.52 ปี และกลุ่มรายชื่อรอเรียกมีอายุเฉลี่ย 67.52±6.46 ปี ณ จุดเริ่มต้น (T0) กลุ่มทดลองและกลุ่มรายชื่อรอเรียกมีค่าเฉลี่ยคะแนน TMSE ใกล้เคียงกัน (28.84±1.38 และ 28.83±1.12 ตามลำดับ) และมีคุณภาพชีวิตในระดับดีและไม่มีภาวะซึมเศร้า ในกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยการเข้ารับการฝึกเท่ากับ 14.82±7.62 ครั้ง เมื่อวิเคราะห์ผลลัพธ์ด้วย intention-to-treat analysis ณ จุดวัดผลลัพธ์แรก พบว่า ค่าเฉลี่ยการเปลี่ยนแปลงคะแนน TMSE ในกลุ่มทดลองสูงกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มรายชื่อรอเรียก (∆TMSEbetween group at T1-T0=0.57; 95%CI=0.07, 1.08) แต่ ณ จุดวัดผลลัพธ์ที่สอง ไม่พบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยการเปลี่ยนแปลงคะแนน TMSE ระหว่างสองกลุ่มนี้ (∆TMSEbetween group at T2-T0=0.33; 95%CI= -0.23, 0.88) และพบว่า ค่าเฉลี่ยการเปลี่ยนแปลงคะแนนการทำงานของปริชานปัญญารายด้านย่อย 8 ด้าน รวมทั้งคุณภาพชีวิตและภาวะซึมเศร้าของสองกลุ่มนี้ไม่แตกต่างกันทั้งจุดวัดผลลัพธ์แรกและที่สอง ซึ่งสรุปว่า การฝึกปริชานปัญญาในผู้สูงอายุไทยมีผลชนิด treatment effect อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติต่อการทำงานของปริชานปัญญาแบบองค์รวม แต่ไม่พบผลชนิด carryover effect
dc.description.abstractalternative Cognitive training intervention (CTI) in elderly associated with a risk reduction of dementia, however, the effects of interactive computerised-CTI in old-ages was inconclusive. The present study aimed to determine the effects of low-technology CTI in community-based populations. The study was a 2-arm parallel single-blinded randomized controlled intervention trial. The primary endpoint assessed the treatment effect by examination of global cognitive function, the Thai Mental State Examination (TMSE), at the 12th week (T1), while the secondary endpoint evaluated the carryover effect at the 24th week (T2). The clinical psychologists who were the neuropsychological outcome assessor were blinded. Eighty-six eligible participants were recruited from the senior society of Nonthaburi Municipal. At baseline (T0), the mean age and TMSE score among CTI and wait-list groups were broadly similar (age; 66.66±5.52 and 67.52±6.46; TMSE; 28.84±1.38 and 28.83±1.12, respectively). For the CTI group, the mean number of cognitive training sessions was 14.82±7.62. By using intention-to-treat analysis, at the primary endpoint, the mean difference score of TMSE in the CTI groups was significantly higher than the wait-list group (∆TMSEbetween group at T1-T0=0.57; 95%CI=0.07 to 1.08). At the secondary endpoint, there was no significant difference observed between the CTI and wait-list groups (∆TMSEbetween group at T2-T0=0.33; 95%CI= -0.23 to 0.88). Additionally, the mean difference in 8 cognitive function subdomains, through the quality of life and depression between the groups did not show significant differences at both endpoints. To conclude, CTI showed a significant treatment effect on the improvement in global cognitive function in healthy Thai elderly but did not demonstrate the carryover effect.
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.relation.uri http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2018.703
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject การรู้คิดในวัยสูงอายุ
dc.subject ผู้สูงอายุ -- ไทย
dc.subject Cognition in old age
dc.subject Older peopl -- Thailand
dc.subject.classification Neuroscience
dc.subject.classification Medicine
dc.subject.classification Psychology
dc.subject.classification Medicine
dc.subject.classification Medicine
dc.subject.classification Neuroscience
dc.subject.classification Neuroscience
dc.title การทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุมของการฝึกปริชานปัญญาในผู้สูงอายุไทยในศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ
dc.title.alternative Cognitive training in Thai elderly in development center of quality of life: randomized controlled trial
dc.type Thesis
dc.degree.name วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาเอก
dc.degree.discipline การวิจัยและการจัดการด้านสุขภาพ
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.THE.2018.703


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record