DSpace Repository

ความปลอดภัยและการตอบสนองของภูมิคุ้มกันชนิด humoral  และ cellular ต่อการได้รับวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบีขนาดปกติเทียบกับขนาดสองเท่าในผู้ป่วยเด็กที่ได้รับการปลูกถ่ายตับ

Show simple item record

dc.contributor.advisor ยง ภู่วรวรรณ
dc.contributor.advisor วรนุช จงศรีสวัสดิ์
dc.contributor.author พลิตถิยา สินธุเสก
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
dc.date.accessioned 2021-09-21T06:28:48Z
dc.date.available 2021-09-21T06:28:48Z
dc.date.issued 2563
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/76307
dc.description วิทยานิพนธ์ (วท.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563
dc.description.abstract ประวัติความเป็นมา เนื่องจากผู้ป่วยได้รับการปลูกถ่ายตับมีระดับภูมิคุ้มกันต่อไวรัสตับอักเสบบีต่ำกว่าระดับที่สามารถป้องกันโรคได้ภายหลังจากปลูกถ่ายตับและมีรายงานการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีขึ้น การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพของวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบีสองขนาดในเด็กที่ได้รับการปลูกถ่ายตับและตรวจพบระดับภูมิคุ้มกันต่อไวรัสตับอักเสบบีมีค่าต่ำ  วิธีการ ผู้ป่วยเด็กที่ได้รับการปลูกถ่ายตับที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ทุกคนได้รับคัดเลือกให้เข้าร่วมในการวิจัยโดยพิจารณาเกณฑ์ต่อไปนี้คือมีประวัติเคยได้รับการฉีดวัคซีนตับอักเสบบีมาก่อนแต่ตรวจพบว่าระดับภูมิคุ้มกันต่อไวรัส ≤100 mIU/mL โดยการแบ่งชั้นตามระยะเวลานับที่ได้รับการปลูกถ่ายตับ จากนั้นทำการสุ่มชนิด block of four เป็น 2 กลุ่มคือ อาสาสมัครที่ได้รับวัคซีนขนาดมาตรฐาน (0.5 มล.) 3 ครั้งและขนาดสองเท่าของมาตรฐาน (1 มล.) 3 ครั้งเข้ากล้ามที่เวลา 0-1-6 เดือน โดยผู้ปกครองของอาสาสมัครจะไม่ทราบว่าบุตรหลานได้รับการจัดอยู่ในกลุ่มใด มีการนัดติดตามที่ช่วงระยะเวลา (time point) 0, 1, 6, 7-9 และ 9-12 เดือน แบ่งการตอบสนองต่อวัคซีนเป็น 2 กลุ่ม โดยอาสาสมัครที่มีระดับภูมิคุ้มกันมากกว่า 10 mIU/mL ภายหลังได้รับวัคซีนครบ 3 เข็มอาสาสมัครที่มีระดับภูมิคุ้มกันน้อยกว่า 10 mIU/mL ภายหลังได้รับวัคซีนครบ 3 เข็มเป็น responder และ nonresponder ทั้งนี้ระดับภูมิคุ้มกันต้อง ≤10 mIU/mL ก่อนได้รับวัคซีน สำหรับตัวอย่างเลือดจะนำไปสกัดเม็ดเลือดขาว (periphearal blood mononuclear cells หรือ PBMCs) และทำการตรวจโดยวิธี the enzyme-linked immune absorbent spot (ELISpot) assay และ flow cytometry มีการศึกษาสะกิดผิวหนังด้วยวัคซีนตับอักเสบบีในอาสาสมัครก่อนได้รับวัคซีนด้วยวิธี Mantoux และอ่านผลที่ 48 และ 72 ชั่วโมง โดยรอยนูนที่ผิวหนังที่มขนาดไม่น้อยกว่า 5 มิลลิเมตรอ่านผลเป็นบวก ผลการศึกษาหลักคือสัดส่วนของ responder และ nonresponder ภายหลังการได้รับวัคซีนและระดับภูมิคุ้มกันที่เวลา 7-9 เดือน โดยการศึกษานี้จดทะเบียนใน Thai Clinical Trials Registry with study (TCTR 20180723002) ก่อนเริ่มทำการศึกษา   ผลการวิจัย อาสาสมัครจำนวน 66 คนได้รับการคัดเลือกตามเกณฑ์และสุ่มเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 33 คน อาสาสมัครจำนวน 3 และ 4 คนจากกลุ่มที่ได้รับวัคซีนขนาดมาตรฐานและขนาดสองเท่าได้ถูกทำการคัดออกระหว่างการศึกษา จึงมีอาสาสมัครทั้งหมด 30 และ 29 คนเข้ารับการศึกษาจนถึงจุดสิ้นสุดในกลุ่มที่ได้รับวัคซีนขนาดมาตรฐานและขนาดสองเท่า ที่ time point 4 จำนวน seroconversion เท่ากับ 23 (92.0%) จาก 25 (95% CI 73.9-99.0) ในกลุ่มได้รับวัคซีนขนาดมาตรฐานและ 16 (88.9%) จาก 18 (95% CI 65.3-98.6) ในกลุ่มได้รับวัคซีนขนาดสองเท่า โดยไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติของระดับภูมิคุ้มกันของทั้งสองกลุ่มในทั้ง 5 time point อย่างไรก็ตาม ระดับภูมิคุ้มกันที่ time point 4 (1372.4 [95% CI 650.2-2896.7] ในกลุ่มได้รับวัคซีนขนาดมาตรฐานและ 730 [95% CI 262.7-2031.6] mIU/mL ในกลุ่มได้รับวัคซีนขนาดสองเท่า) มีค่าสูงกว่าที่ time point 2 (241.3 [95% CI 90.9-641.0] ในกลุ่มได้รับวัคซีนขนาดมาตรฐานและ 181 [95% CI 63.8-516.1] mIU / mL ในกลุ่มได้รับวัคซีนขนาดสองเท่า) ในทั้งสองกลุ่มอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ นอกจากนี้ ในกลุ่มที่ได้รับวัคซีนขนาดสองเท่าที่ time point 5 พบระดับภูมิคุ้มกันมีค่าสูงกว่าที่ time point 2 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (969 [95% CI 328.2-2861.4] และ 181.5 [95% CI 63.8-516.1] mIU/mL) ในด้านของความปลอดภัยของการได้รับวัคซีน ไม่พบรายงานอาการไม่พึงประสงค์ที่รุนแรงของวัคซีนตับอักเสบบีทั้งสองกลุ่ม พบ IFN- γ ที่ time point 4 สูงกว่า time point 1 (32 [4, 68] และ 14 [0, 23] spot forming cells/106 PBMCs, P<0.05) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ อย่างไรก็ตาม ไม่พบความแตกต่างในกลุ่มประชากรย่อยของ Treg, CD4 T cell , CD8 T cell, B cell และ NK cell ในกลุ่ม responder (38 คน) และ nonresponder (4 คน) ปัจจัยที่มีผลต่อการตอบสนองของระดับภูมิคุ้มกันต่อไวรัสตับอักเสบบี ได้แก่ ระยะเวลาภายหลังได้รับการปลูกถ่ายตับ (1.95 [0.66, 4.95] และ 0.58 [0.54, 0.65] ปี)และระดับยากดภูมิคุ้มกัน tacrolimus ที่ time point 1 (3.6 [2.6, 5.7] และ 6.7 [5.8, 7.8] ng/mL) ในกลุ่ม responder และ nonresponder) ผลสรุป การได้รับวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบีในขนาดมาตรฐานและขนาดสองเท่าจำนวน 3 เข็ม มีประสิทธิภาพสูงและปลอดภัยสำหรับเด็กที่ได้รับการปลูกถ่ายตับ โดยพบว่าระดับภูมิคุ้มกันต่อไวรัสตับอักเสบบีในกลุ่มที่ได้วัคซีนขนาดสองเท่ามีค่าสูงอย่างมีนัยสำคัญในการติดตามระยะสั้น โดยปัจจัยที่ทำให้การตอบสนองต่อวัคซีนไวรัสตับอักเสบบีได้ผลสำเร็จคือ ระยะการให้วัคซีนไวรัสตับอักเสบบีในผู้ป่วยเด็กหลังปลูกถ่ายตับไม่ควรเร็วกว่า 6 เดือนซึ่งเป็นช่วงที่ระดับยากดภูมิคุ้มกันมีค่าสูงอยู่                                                                                                                                                          
dc.description.abstractalternative Background: High prevalence of hepatitis B (HB)-antibody loss after liver transplantation (LT) and de novo HB infection were documented. This study aimed to compare the effectiveness of two revaccination regimens in inducing protective immunity in children with liver transplants.  Methods: Children who underwent liver transplantation at King Chulalongkorn Memorial Hospital were recruited. All received primary HB immunization but anti-HBs antibodies after LT if HBs antibodies ≤100 mU/mL. Children were stratified by age at transplantation and then allocated with block of four randomization into two groups; standard (0.5 ml) 3-dose and double (1 ml) 3-dose HB vaccine intramuscularly at 0, 1, and 6 months. The parents were blind with respect to the vaccine regimen. Anti-HBs titers were assessed at 0, 1, 6, 7-9, and 9-12 months. A participant was categorized as a responder if the participant had anti-HBs levels <10 mU/mL before revaccination but had seroconversion (anti-HBs >10 mU/mL) after the 3-dose vaccination regimen. Participants were defined as nonresponders if they had anti-HBs levels <10 mU/mL before revaccination and had no seroconversion after the 3-dose vaccination regimen. Peripheral blood mononuclear cells (PBMCs) were extracted for in vitro cellular immune study by the enzyme-linked immune absorbent spot assay (ELISpot) and flow cytometry. In vivo cellular immune study with delayed-type hypersensitivity (DTH) skin test was performed at beginning with hepatitis B vaccine by Mantoux method. Skin duration was measured by their guardians and the investigators via pictures at 48 hours and 72 hours after the test. The induration size ≥ 5 mm and larger than control was considered positive results. The primary outcome was the percentage of responders and geometric mean titer (GMT) of anti-HBs levels at 7-9 months. The trial was registered in Thai Clinical Trials Registry with study number TCTR 20180723002.       Results: Sixty-six children were recruited and randomly assigned into two groups with 33 participants in each group. At the end point, three in the standard-dose and four participants in the double-dose group dropped out. Thirty and 29 participants from standard-dose and double-dose regimens, respectively, were included per protocol analysis. At months 7-9, the percentage of seroconversion was 23 (92.0%) of 25 (95% CI: 73.9-99.0) in the standard-dose group and 16 (88.9%) of 18 (95% CI: 65.3-98.6) in the double-dose group. Regarding the GMT of anti-HBs antibodies, there was no significant difference between the two groups at all five time points. However, the GMT of anti-HBs antibodies at time point 4 (1372.4 [95% CI: 650.2-2896.7] in the standard-dose group and 730 [95% CI: 262.7-2031.6] mU/mL in the double-dose group) was significantly higher than at time point 2 (241.3 [95% CI: 90.9-641.0] in the standard-dose group and 181 [95% CI: 63.8-516.1] mU/mL in the double-dose group) in both groups (P< 0.05). No serious adverse reactions to the HB vaccine were reported. After time point 5, the GMT of anti-HBs levels in the double-dose group was significantly higher than after a booster dose (time point 1) (969 [95% CI: 328.2-2861.4] and 181.5 [95% CI: 63.8-516.1] mU/mL). IFN-γ at time point 4 was significantly higher than at time point 1 (32 [4,68] and 14 [0,23] spot-forming cells/106PBMCs, P<0.05). There was no significant difference in the subpopulations of T-reg, CD4 T cells, CD8 T cells, B cells, and NK cells. 57 (96.7%) of participants were performed DTH skin testing with hepatitis B vaccine. Comparing the result of DTH skin test with seroconversion of anti-HBs after first vaccination and third vaccination, the sensitivity, specificity, negative predictive value, positive predictive value and accuracy were 75%, 53%, 85%, 39% and 70% vs 60%, 79%, 97%, 11% and 61%, respectively. In comparing responders (n=38) and nonresponders (n=4), the time of revaccination after LT and the tacrolimus level were the significant factors in seroconversion. The time of revaccination after liver transplantation in responders and nonresponders was 1.95 (0.66, 4.95) and 0.58 (0.54, 0.65) years, respectively. The tacrolimus levels in responders and nonresponders were 3.6 (2.6, 5.7) and 6.7 (5.8, 7.8) ng/mL, respectively. Conclusion: The 3-standard-dose and 3-double-dose HB regimens were highly effective and safe for children with liver transplants, and the double-dose regimen maintained the high anti-HBs level at short-term follow up. The negative results from DTH skin test could predict slow responder and nonresponder in liver-transplanted children For successful reimmunization with a robust humoral response, anti-HBs antibodies should be monitored post-liver transplant and HB revaccination should be introduced not earlier than 6 months after LT when the immunosuppressant level is still high.
dc.language.iso th
dc.publisher Chulalongkorn University
dc.relation.uri https://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2020.532
dc.rights Chulalongkorn University
dc.subject ตับ -- การปลูกถ่าย
dc.subject ไวรัสตับอักเสบบี
dc.subject วัคซีนตับอักเสบบี
dc.subject Liver -- Transplantation
dc.subject Hepatitis B virus
dc.subject Hepatitis B vaccine
dc.subject.classification Medicine
dc.title ความปลอดภัยและการตอบสนองของภูมิคุ้มกันชนิด humoral  และ cellular ต่อการได้รับวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบีขนาดปกติเทียบกับขนาดสองเท่าในผู้ป่วยเด็กที่ได้รับการปลูกถ่ายตับ
dc.title.alternative Safty, humoral and cellular immunologic response of standard-dose compare to double-dose hepatitis b revaccination in children after liver transplantation
dc.type Thesis
dc.degree.name วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาเอก
dc.degree.discipline เวชศาสตร์คลินิก
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.THE.2020.532


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record